ผลของโปรแกรมกลุ่มช่วยเหลือตนเองต่อการจัดการพฤติกรรมก้าวร้าวในเด็กวัยเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้

บทคัดย่อ/Abstract

การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมกลุ่มช่วยเหลือตนเองต่อการจัดการพฤติกรรมก้าวร้าวในเด็กวัยเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ โรงเรียนอุบลวิทยาคม จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เป็นผู้ดูแลหลักของเด็กวัยเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ที่กำลังศึกษาในระดับประถมศึกษาที่ 1-6 ของโรงเรียนอุบลวิทยาคม จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมกลุ่มช่วยเหลือตนเอง ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบวัดความสามารถในการจัดการพฤติกรรมก้าวร้าวในเด็กวัยเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ โดยดำเนินกิจกรรมโปรแกรมกลุ่มช่วยเหลือตนเองระหว่างเดือนกันยายน-ธันวาคม 2562 เดือนละ 1-2 ครั้ง จำนวน 5 ครั้ง ในแต่ละครั้งใช้เวลาห่างกัน 1-2 สัปดาห์ รวมระยะเวลา 4 เดือนติดต่อกัน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา และ paired t-test ผลการวิจัย พบว่า ผู้ดูแลหลักของเด็กวัยเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ที่ได้รับการทำกลุ่มช่วยเหลือตนเอง มีค่าคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการจัดการพฤติกรรมก้าวร้าวในเด็กวัยเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม (p<.001) นอกจากนี้ ยังพบว่า ผู้ดูแลหลักของเด็กวัยเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ มีความรู้เกี่ยวกับการจัดการพฤติกรรมก้าวร้าวในเด็กวัยเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้เพิ่มขึ้น

The purpose of this quasi-experimental research is to study the effect of a self - help group program on aggressive behavioral management in school-aged children with learning disabilities at Ubonwittayakhom School, Ubonratchathani Province. A specific sample was selected which was the primary caregiver of school-aged children with learning disabilities that are 25 students who were

Corresponding Author: *E-mail: Uraiwan.tieng@gmail.com studying in primary 1 to 6 at Ubonwittayakom School at Ubonratchathani Province. self-help group program tools were used in this experiment and The tools used for data collection were personal data questionnaires and questionnaires for managing aggressive behavior in school-aged children with learning disabilities. The research was carrying out self-help group program activities between September-December 2019, 5 times 1-2 times a month, each time taking 1-2 weeks apart for a total of 4 consecutive months. The statistics used for data analysis were descriptive statistics and paired t-test. The results showed that the primary caregivers of school-aged children with learning disabilities and a self-help group has the higher mean score of ability to manage aggressive behavior of school-aged children with learning disabilities than before joining the program (p<.001). In addition, it was found that the primary caregivers of school-aged children with learning disabilities had their knowledge increased and aggressive behavior management in school-age children with learning disabilities.