การพัฒนาแอปพลิเคชั่นเสริมทักษะการคัดลายมือและการเขียนรูปทรงเรขาคณิตสำหรับเด็กปฐมวัยบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เพื่อใช้เป็นสื่อในการส่งเสริมการเรียนการสอน
บทคัดย่อ/Abstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแอปพลิเคชั่นเสริมทักษะการคัดลายมือและการเขียนรูปทรงเรขาคณิตสำหรับเด็กปฐมวัยบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เพื่อใช้เป็นสื่อในการส่งเสริมการเรียนการสอน 2) ศึกษาประสิทธิภาพของแอปพลิเคชั่น และ 3) ประเมินความพึงพอใจในการพัฒนาแอปพลิเคชัน การวิจัย แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 พัฒนาแอปพลิเคชันเสริมทักษะการคัดลายมือและการเขียนรูปทรงเรขาคณิตสำหรับเด็กปฐมวัยบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ เพื่อใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอน ระยะที่ 2 เพื่อวัดประสิทธิภาพทักษะการเขียน คือ เด็กปฐมวัยอายุ 3 - 6 ปี อยู่ชั้นอนุบาล 1 และชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนบ้านนาส่วง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี ในปีการศึกษา 2562 จำนวน 30 คน และระยะที่ 3 คือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวัดความพึงพอใจในการใช้งานแอปพลิเคชัน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ผู้เชี่ยวชาญการศึกษาปฐมวัยและผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเขียนโปรแกรมและพัฒนาแอปพลิเคชัน จำนวน 5 คน กลุ่มที่ 2 ครูผู้สอนระดับปฐมวัยและผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 20 คน และกลุ่มที่ 3 นักเรียนปฐมวัย จำนวน 10 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง ผลการวิจัยพบว่า
1. ครูผู้สอนเป็นผู้ประเมินนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 1 และอนุบาล 2 จำนวน 30 คน หลังจากใช้งานแอปพลิเคชันทั้ง 4 กิจกรรม เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ผลค่าเฉลี่ยรวมของการวัดประสิทธิภาพทักษะการเขียนของเด็กปฐมวัยหลังจากใช้งานแอปพลิเคชัน พบว่า อยู่ในระดับดีมาก (ค่าเฉลี่ย = 2.47)
2. ผลการวัดความพึงพอใจของผู้เชี่ยวชาญต่อการใช้งานแอปพลิเคชัน จำนวน 5 คน อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยรวม = 4.37, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.68) ความพึงพอใจของครูและผู้ปกครอง จำนวน 20 คน อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยรวม = 4.34, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.55) และความพึงพอใจของนักเรียนปฐมวัย จำนวน 10 คน ด้วยแบบประเมินโดยใช้สัญลักษณ์ ผลที่ได้อยู่ในระดับดีมาก คือ ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ เท่ากับ 2.70 และนักเรียนส่วนใหญ่สนใจและสนุกสนานในการในงานแอปพลิเคชัน
The purposes of this research were to 1) develop an application hand writing and geometry for children on the android operating system to use as a medium for promoting learning and teaching. 2) study the effectiveness of the application and 3) assess satisfaction with application development. The research is divided into 3 phases: Phase 1 Developing applications. The second phase was to measure the writing skills, consisting of 30 early childhoods aged 3 - 6 years in Ban Na Suang School, Det Udom District, Ubon Ratchathani Province in year 2562. And third phase is a sample group that is used to measure application satisfaction, divided into 3 groups, which are Group 1, 5 expert in early childhood education and programming and application development, group 2, 20 early childhood teachers and parents of students, and group 3, 10 preschool students by using the random sampling method.
The results of the research showed that
1. The teacher evaluated 30 kindergarten 1 and kindergarten 2 students after using all 4 activities for 8 weeks. The total average result of measuring the writing skills of preschool children after use. The application job found to be at a very good level (mean = 2.47).
2. The result of measuring the satisfaction of experts in the application usage of 5 people in the high level. (Total mean = 4.37, standard deviation = 0.68) The satisfaction of 20 teachers and parents was at a high level. (Total mean = 4.34, standard deviation = 0.55) and the satisfaction of 10 preschool students by using the symbol rating form. The result was very good, with a mean satisfaction of 2.70 and most students were interested and happy about the application.