อุปกรณ์ระบายความร้อนของเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนด้วยน้ำทิ้งจากชุดคอยล์เย็น

บทคัดย่อ/Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของอุปกรณ์ระบายความร้อนของเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนด้วยน้ำทิ้งจากชุดคอยล์เย็นสำหรับเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนขนาด 9,000 btu จำนวน 2 เครื่องที่ใช้งานในห้องขนาดกว้าง 4.50 เมตร ยาว 5.70 เมตร และสูง 3 เมตร  โดยใช้น้ำทิ้งจากคอยล์เย็นมาหล่อเย็นท่อดิสชาร์จเพื่อลดอุณหภูมิของสารทำความเย็นก่อนที่จะที่ไหลสู่เครื่องควบแน่น  ซึ่งได้ออกแบบการทดลองเป็น 4 การทดลองเพื่อเปรียบเทียบการใช้พลังงานไฟฟ้า คือ การทดลองที่ 1 เป็นการทดลองเครื่องปรับอากาศที่ยังไม่ได้ติดตั้งอุปกรณ์ระบายความร้อนของเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนด้วยน้ำทิ้งจากชุดคอยล์เย็น  การทดลองที่ 2 เป็นการทดลองเครื่องปรับอากาศที่ติดตั้งอุปกรณ์ระบายความร้อนของเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนด้วยน้ำทิ้งจากชุดคอยล์เย็นแบบที่ 1 ภายในท่อดิสชาร์จจะติดตั้งขดลวดชะลอการไหลของน้ำ การทดลองที่ 3 เป็นการทดลองเครื่องปรับอากาศที่ติดตั้งอุปกรณ์ระบายความร้อนของเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนด้วยน้ำทิ้งจากชุดคอยล์เย็นแบบที่ 2 ภายในท่อดิสชาร์จจะติดตั้งฟองน้ำชะลอการไหลของน้ำ และการทดลองที่ 4 เป็นการทดลองเครื่องปรับอากาศที่ติดตั้งอุปกรณ์ระบายความร้อนของเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนด้วยน้ำทิ้งจากชุดคอยล์เย็นแบบที่ 3 ภายในท่อดิสชาร์จจะไม่มีวัสดุที่ใช้ชะลอการไหลของน้ำ  การแลกเปลี่ยนความร้อนของอุปกรณ์ตัวนี้น้ำจะท่วมท่อดิสชาร์จ  และจะล้นนำความร้อนออกมา 

จากการทดลองทำให้เห็นว่าการเปรียบเทียบผลการทดลองของเครื่องปรับอากาศทั้ง 4 การทดลองขณะที่เครื่องปรับอากาศทำงานเต็มที่ การทดลองที่ 1 ใช้ไฟฟ้าที่ 64.3 หน่วย คิดเป็นเงิน 208.87 บาท การทดลองที่ 2 ใช้ไฟฟ้าที่  61.6 หน่วย คิดเป็นเงิน 200.10 บาท  สามารถประหยัดพลังงานได้ 4.19 เปอร์เซ็นต์  การทดลองที่ 3 ใช้ไฟฟ้าที่  59.1 หน่วย คิดเป็นเงิน 191.98 บาท สามารถประหยัดพลังงานได้ 8.08 เปอร์เซ็นต์ และการทดลองที่ 4 ใช้ไฟฟ้าที่  57.9 หน่วย คิดเป็นเงิน 188.08 บาท สามารถประหยัดพลังงานได้ดีที่สุด 9.95 เปอร์เซ็นต์

The objective of this research is study about analysis and design the efficiency of heat ventilation equipment for split-type air-conditioner using drained water of cooling coil.  In experimental, 2 air conditioner 9,000 btu are using in a room 4.5 m width 5.7 m long and 3 m high. Heat ventilation system using drained water of cooling coil flow through discharge tube for reduce refrigerant temperature before the condenser unit. In this study has been divided into 4 part are experiment 1 is normal operation of  air-conditioner,  experiment 2  is installed heat ventilation for split-type air-conditioner type 1 in discharge tube using coil pipe heat exchanger for slow down cool water as flow through discharge tube , experiment 3  is installed heat ventilation for split-type air-conditioner type 2 in discharge tube using sponge pipe heat exchanger for slow down cool water as flow through discharge tube,  experiment 4  is installed heat ventilation for split-type air-conditioner type 3 in discharge tube using overflow pipe heat exchanger for slow down cool water as flow through discharge tube.

      The comparison of 4 experiments as full load operation could conclude that in experimental 1, 2 ,3 and 4 used electric energy 64.3 unit (208.87 baht), 61.6 unit (200.10 baht), 59.1 unit (191.98 baht) and 57.9 unit (188.08 baht), respectively. In term of percentage, Experimental 2 ,3 and 4 can save energy   4.19%, 8.08% and 9.95% as compared to experimental 1, respectively,