การพัฒนารูปแบบการเรียนแบบร่วมมือบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ วิชา การศึกษาแบบเรียนรวม ที่ส่งเสริมการคิดแบบมีวิจารณญาณ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
บทคัดย่อ/Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือบนแครือข่ายคอมพิวเตอร์วิชา การศึกษาแบบเรียนรวม ที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 2) ศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือบนแครือข่ายคอมพิวเตอร์ วิชาการศึกษาแบบเรียนรวม ที่ส่ง เสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี และ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือบนแครือข่ายคอมพิวเตอร์ วิชาการศึกษาแบบเรียนรวม ที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษา ชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2561 โดยวิธีการสุ่ม ตัวอย่างแบบกลุ่มซึ่งจะได้กลุ่มตัวอย่าง 4 กลุ่มเรียน จำนวน 120 คน ผู้วิจัยได้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 60 คน คือกลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มที่ใช้ในการทดสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และกลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่ใช้ทดสอบประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ 1) การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ 2) การทดสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนรู้ 3) การศึกษา ผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการทดสอบค่าทีกรณีกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่ม ไม่เป็นอิสระจากกัน
ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1.1) ทฤษฎี หลักการหรือแนวคิดที่เป็นพื้นฐานของการเรียนการสอน 1.2) การกำหนดจุดประสงค์ 1.3) แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ 1.4) กิจกรรมการเรียนการสอน และ 1.5) การประเมินการเรียนการสอน 2) รูปแบบ การเรียนรู้แบบร่วมมือบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีประสิทธิภาพ 80.03/80.22 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 3) ผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นพบว่าทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
The purposes of this study were to: 1) develop a computer networks cooperative learning model for subject Inclusion Education influence critical Thinking for bacherlor degree faculty of education Ubonratchatani Rajabhat University 2) to study the effectiveness the model for learning activities and, 3) to study using the model at affect the critical thinking skills and education achievement of bacherlor degree faculty of education Ubonratchatani Rajabhat University. The sample is third year bacherlor degree faculty of education , Ubonratchatani Rajabhat University, the 2018 academic year, by cluster sampling which will get 4 group samples study, 120 persons amounts. The researcher were randomly assigned into 2 groups. Group one use in efficiency test of the learning model. Group two use to test the effect of learning model, each the group 60 persons amounts. The study was conducted in three phases, the first phase develop the learning model, the second phase was efficiency test of learning model and the third was study the results using the learning model. T-test dependent used for data analysis.
The results of this research were as follows: 1) The computer networks cooperative learning model for Inclusion Education subject to encourage critical thinking skills for bacherlor degree faculty of education Ubonratchatani Rajabhat University includes 5 steps as follows: 1.1) theory, the principle or the idea basically the base of instruction education, 1.2) purpose education instruction specification, 1.3) learning resource, 1.4) education instruction activity, 1.5) education instruction assessment. 2) The computer networks cooperative learning model for Inclusion Education subject to encourage critical thinking skills has an efficiency of 80.03/80.22, which is corresponding with 80/80 provided criteria. 3) The effect using the computer networks cooperative learning model was found that the posttest average scores in critical thinking skills of student were statistically significantly higher than pretest scores at 0.05 level. It was also found that the posttest average scores in achievement of student were statistically significantly higher than pretest scores at 0.05 level.