ขยะกินได้ : นวัตกรรมการจัดการขยะกับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน บ้านโนนขุมคำ ตำบลพังเคน อำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี
บทคัดย่อ/Abstract
งานวิจัยเรื่องขยะกินได้: นวัตกรรมการจัดการขยะกับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน บ้านโนนขุมคำ ตำบลพังเคน อำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี เป็นการวิจัยเพื่อศึกษานวัตกรรมการจัดการขยะชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลพังเคน อำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี การจัดการขยะชุมชนของชุมชนบ้านโนนขุมคำ อำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี และศึกษาขยะกับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนของบ้านโนนขุมคำ โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Method) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่มจากผู้นำและบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลพังเคน ผู้ใหญ่บ้าน อสม. ชาวบ้านโนนขุมคำ และผู้ประกอบการรับซื้อของเก่า จำนวน 30 คน
ผลการวิจัย พบว่า 1) นวัตกรรมการจัดการขยะชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลพังเคน แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะสร้างความตระหนัก สู้ปัญหาขยะล้นเมือง พ.ศ.2552-2556 ระยะผสานพลังชุมชน จัดการขยะอย่างมีส่วนร่วม พ.ศ. 2557-2561 และระยะพัฒนานวัตกรรม เพื่อพัฒนาสู่พังเคนสะอาดอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2562-ปัจจุบัน (2564) 2) การจัดการขยะชุมชนบ้านโนนขุมคำ มีการบริหารจัดการขยะที่เป็นระบบ คือ (1) บันทึกข้อมูลปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในชุมชน (2) กำหนดผู้รับผิดชอบหลักและหน้าที่ในการจัดการขยะของหมู่บ้าน (3) จัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้าน (4) เดินหน้าสู่หมู่บ้านปลอดขยะ และ 3) ขยะกับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนบ้านโนนขุมคำ มีพัฒนาการแบ่งเป็น 3 ยุค คือ ยุคบุกเบิกเก็บ/รับแลกเปลี่ยนขยะ พ.ศ. 2519 ยุคสร้างอาชีพรับซื้อของเก่า พ.ศ. 2521-2539 และยุควิสาหกิจชุมชน-หมู่บ้านรับซื้อของเก่า พ.ศ. 2540-ปัจจุบัน (2564)
Edible Waste Research: Innovation of Waste Management and Community Economic Development, Ban Non Khum Kham, Pang Ken Sub-district, Natal District, Ubon Ratchathani Province. This research was to study the innovation of community waste management of Pang Ken Sub-District Administrative Organization, Natal District, Ubon Ratchathani Province. Community waste management of Ban Non Khum Kham Community, Natal District, Ubon Ratchathani Province And study waste and the community economic development of Ban Non Khum Kham By using a qualitative research process (Qualitative Method).
The results of the research were as follows: 1) The innovation of community waste management of Pang Ken Subdistrict Administrative Organization was divided into 3 phases: awareness raising. Fight the problem of overflowing garbage 2009-2013 Community synergies phase With participation in waste management 2014-2018 and the innovation development phase For sustainable development to collapse and cleanliness 2019-present (2021) 2) Ban Non Khum Kham community waste management. There is a systematic waste management: (1) record the amount of solid waste that occurs in the community (2) determine the main responsible person and the duties of the village waste management (3) make a village development plan (4) go ahead To a waste-free village and 3) waste with the economic development of Ban Non Khom Kham community It has developed into 3 eras: the pioneer of waste collection / exchange, 1976, the era of creating a career for buying waste, 1977-1996, and the era of community enterprise-village to buy waste, 1997-present (2021 )