ผลของการออกกำลังกายโดยใช้ท่ารำประกอบดนตรีพื้นเมืองอีสานในผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง
บทคัดย่อ/Abstract
การออกกำลังกายเป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้เพิ่มความสามารถทางร่างกายและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุการศึกษาเป็นแบบกึ่งทดลอง กลุ่มเดียวเปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการออกกำลังกายโดยใช้ท่ารำประกอบดนตรีพื้นเมืองอีสานในผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง ประชากร คือ ผู้ป่วยอายุโรคเรื้อรังในหน่วยบริการปฐมภูมิ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 74 คน คัดเลือกโดยการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ ใช้ท่ารำประกอบดนตรีพื้นเมืองอีสาน 12 ท่า ระยะเวลา 6 เดือน ประเมินผลใช้ผลลัพธ์ทางคลินิกได้แก่ ดัชนีมวลกาย เส้นรอบเอว ระดับความดันโลหิตและแบบวัดคุณภาพชีวิตฉบับย่อชุดภาษาไทยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ใช้สถิติทีไม่เป็นอิสระต่อกัน
ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการออกกำลังกายโดยใช้ท่ารำประกอบดนตรีพื้นเมืองอีสาน กลุ่มตัวอย่างมีระดับความดันโลหิต ดัชนีมวลกาย และเส้นรอบเอว ลดลงกว่าก่อนเข้าร่วมมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) คุณภาพชีวิตพบว่า ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสัมพันธภาพทางสังคมด้านสิ่งแวดล้อมและโดยรวมหลังการเข้าการออกกำลังกายโดยใช้ท่ารำประกอบดนตรีพื้นเมืองอีสานเพิ่มกว่าก่อนเข้าร่วมมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.05)
สรุป:การออกกำลังกายโดยใช้ท่ารำประกอบดนตรีพื้นเมืองอีสานส่งผลต่อผลลัพธ์ทางคลินิกและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง
Exercise is a method used to increase physical ability and quality of life of the elderly. The study was semi-experimental. One group compared before and after the experiment. The purpose of study the effects of exercise using Isan folk dance postures in elderly with chronic diseases. The population is the elderly with chronic diseases in the primary care unit, Northeast. A total of 74 subjects were randomly selected. The instrument used for the experiment was 12 traditional Isan folk dance for 6 months. The results were evaluated using clinical results: body mass index, waist circumference, blood pressure level and a quick quality of life (WHOQOL – BREF – THAI). Data were analyzed using descriptive and inferential statistics using paired t test.
The results of the research were as follows: After exercising by using traditional Isan folk dance. The sample consisted of blood pressure, body mass index and waist circumference decreased than before participation was statistically significant (p <0.05) Quality of life found that physical, psychological, social environment and overall, after the exercise by using traditional Isan folk dance more than before the participation was statistically significant. (p <0.05)
Conclusion: Exercises using traditional Isan folk dance affect clinical outcomes and quality of life of the elderly with chronic diseases.