โครงการวิจัยนาฏยศิลป์สร้างสรรค์ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีบ้านทรายมูลเพื่อการอนุรักษ์หัตถกรรมท้องถิ่น
บทคัดย่อ/Abstract
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากรรมวิธีขั้นตอนของการทำฆ้องของชุมชนบ้าน ทรายมูล ต.ทรายมูล อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี และสร้างสรรค์การแสดงนาฏศิลป์เพื่ออนุรักษ์ หัตถกรรมท้องถิ่น คณะผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาวรรณกรรมและเอกสารงานวิจัยที่ เกี่ยวข้อง การสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์ การสังเกต แล้วน าข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ และออกแบบ สร้างสรรค์ผลงานนาฏศิลป์ น ามาซึ่งรูปแบบการแสดงนาฏศิลป์พื้นบ้านจากเอกลักษณ์ของชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีบ้านทรายมูล ชุด “เบิ่งฟ้อนฆ้องทรายมูล” จากการศึกษากระบวนการผลิตฆ้องบ้านทราย มูล พบว่า ขั้นตอนหลักในการทำฆ้องบ้านทรายมูล เริ่มจากการออกแบบฆ้อง การเชื่อมแผ่นเหล็กหรือ ทองเหลือง การตีจูม การแต่งเสียง และ การเขียนลวดลาย โดยเอกลักษณ์ของฆ้องทรายมูลคือ ฆ้อง 9 จูม สำหรับ การออกแบบนาฏศิลป์สร้างสรรค์ชุดนี้ออกแบบตามหลักแนวคิดการสร้างสรรค์งานนาฏศิลป์ 5 ประการ คือ 1) รูปแบบการแสดงนาฏศิลป์ไทย แบ่งช่วงการแสดงออกเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 เป็นการ เกริ่นประกอบการเป่าแคนชาวบ้านผู้ชายและผู้หญิงชวนกันมาร่วมงาน ช่วงที่ 2 นักแสดงหญิงร าเป็น ขบวนมีการแปรแถวตีบทตามเนื้อร้องโดยผสมผสานท่าร าที่เป็นเอกลักษณ์ที่กล่าวถึงวิถีชีวิตของชุมชนใน การท าฆ้องและเชิญชวนมาท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของบ้านทรายมูล และ ช่วงที่ 3 เป็นการน าเสนอการ ตีฆ้องโดยผสมผสานท่าร าเซิ้งที่เป็นเอกลักษณ์กลองยาวชาวบ้านทรายมูลรวมถึงการนำฆ้องไปตีในงาน มงคลทางพุทธศาสนา 2) กระบวนท่าร าและการแปรแถว การออกแบบท่าร าสร้างสรรค์จากท่ารำกลอง ยาวผสมกับท่าฟ้อนพื้นเมืองและท่าร านาฏศิลป์ไทย 3) ดนตรีและเพลงประกอบการแสดง ใช้ดนตรี พื้นบ้านมีการเกริ่นลำทำนองหมอลำอุบล มีจังเพลงทำนองลำเซิ้ง ลำเพลินและกลองยาว โดยประพันธ์ เนื้อร้องจากคำขวัญและเอกลักษณ์ของชุมชน 4) เครื่องแต่งกายและอุปกรณ์การแสดงเครื่องแต่งกาย เป็นผ้าพื้นเมืองและผ้าถุงมัดหมี่พร้อมทั้งเครื่องประดับที่สื่อถึงเอกลักษณ์ของชุมชน 5) โอกาสที่แสดงใช้ แสดงในการต้อนรับนักท่องเที่ยว แขกที่มาเยือนตลอดจนงานบุญรื่นเริงในหมู่บ้าน การถ่ายทอดการ แสดงนาฏศิลป์สร้างสรรค์ให้เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีบ้านทรายมูล โดยการจัด อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อถ่ายทอดความรู้และถอดบทเรียนจากการท าวิจัย พบว่า ผู้เข้าร่วมอบรมมีความ ภาคภูมิใจที่มีการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของชุมชนและสามารถสื่อสารถึงภูมิปัญญาในการผลิต ฆ้อง ทั้งนี้อาจมีข้อจ ากัดในด้านการสืบทอดการแสดงชุดนี้ไปยังเยาวชนในท้องถิ่นที่ยังให้ความสนใจน้อย
This research aims to study the process of making a gong of Ban Sai Moon Community, Sai Mun Subdistrict, Phibun Mangsahan District, Ubon Ratchathani Province and creating a dance performance to conserve local handicraft. Data were collected from the study of literature and related research papers, group discussions, interviews and observations. The data then were analyzed and creatively designed a folk-dance performance from the identity of the OTOP inno-life tourism-based community of Ban Sai Moon, "Berng Forn Kong Sai Moon." Based on the study of the production process of the gong of Ban Sai Moon, it was found that the main steps to make a gong started from designing gong, welding steel or brass plates, forging the joom (rounded conical middle of gong), sounding and drawing patterns, which the uniqueness of the gong of Ban Sai Moon is nine-joom gong. This creative dance was designed according to the five concepts of the creation of dance performance as follows. 1) Thai dance performance was divided into three phases. The first phase was the prologue with the music from Isan reed mouth organ to invite the villagers to participate in the activity. In the second phase, the female dancers danced in a procession and variated the row according to the lyrics by blending unique dance poses representing the way of life of the community to make gong and inviting the tourists to visit the cultural tourism of Ban Sai Moon. The third phase was the presentation of striking gong by blending the unique dance postures of Ban Sai Moon, including striking the gong in Buddhist auspicious ceremony. 2) For the dance postures and the deployment, the creative dance postures were designed from the tom-tom dance mixed with folk and Thai dance postures. 3) For the music, folk music with the prologue of Ubon Mor Lam was used including Lam Serng, Lam Plern and Klong Yao (tom-tom). The lyrics were composed from the motto and identity of the community. 4)For the costume and accessories, the costume was a native fabric and Mudmee sarong with jewelry representing the identity of the community. 5) For the occasion of the performance, it was performed to welcome tourists and visitors including performed in the festive in the village. The creative dance performance was passed on to be the identity of the OTOP inno-life tourism-based community of Ban Sai Moon by organizing workshops to pass on knowledge and conducting lesson learned from the research. It was found that participants were proud to have a unique performance of the community, which can represent the wisdom of gong production. However, there was a limitation in the passing on this performance to local youth that paid less attention to it.