การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดสรรทรัพยากรท้องถิ่นเพื่อการผลิต อย่างยั่งยืนและการดำรงชีพของสมาชิกชุมชนที่อยู่ในชนบทริมฝั่งแม่น้ำโขงให้ เข้มแข็ง กรณีศึกษา กองทุนปลาบ้านผาชัน อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี
บทคัดย่อ/Abstract
การศึกษาเรื่อง การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดสรรทรัพยากรท้องถิ่นเพื่อการผลิตอย่าง ยั่งยืนและการด ารงชีพของสมาชิกชุมชนที่อยู่ในชนบทริมฝั่งแม่น้ำโขงให้เข้มแข็ง กรณีศึกษา กองทุน ปลาบ้านผาชัน อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในท้องถิ่นในการอนุรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่นเพื่อให้เป็นแหล่งหล่อเลี้ยงชีวิตของคนในชุมชนได้ อย่างยั่งยืน และ 2) เพื่อพัฒนารากฐานเชิงเศรษฐกิจชุมชนให้เข้มแข็งอัน ทำให้ชุมชนมีรายได้อย่าง เหมาะสม โครงการวิจัยนี้ ใช้แนวคิดการวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและข้อจำกัด การมีส่วนร่วม ของชุมชน รวมทั้งการสังเกตการณ์และการสัมภาษณ์เชิงลึก จากการดำเนินการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดสรรทรัพยากรท้องถิ่นมี 4 ด้านได้แก่ ด้านอายุ ด้าน ขั้นตอนการบริหารจัดการทรัพยากรท้องถิ่นที่มีความซับซ้อน ด้านรายได้ที่เป็นแรงจูงใจในการใช้ ทรัพยากรท้องถิ่น ด้านค่านิยมในการประกอบอาชีพและค่านิยมในวิธีการใช้ทรัพยากร และปัจจัยที่ ส่งผลต่อการพัฒนารากฐานเชิงเศรษฐกิจชุมชนให้เข้มแข็ง ได้แก่ ปัจจัยภายนอก ด้านนโยบายรัฐบาล ด้านสภาวะเศรษฐกิจ ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน และปัจจัยภายใน ด้านศักยภาพวิสาหกิจชุมชน ด้านความรู้ความสามารถของบุคลากร ด้านเทคโนโลยี โครงการวิจัยนี้ได้ส่งเสริมให้ชุมแก้ไขปัญหาจาก ปัจจัยดังกล่าว ทำให้ชุมชนเข้าใจแนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่นของทางภาครัฐมากขึ้น ชุมได้ วางแผนการอนุรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่นโดยคนในชุมชนมีส่วนร่วม ได้แนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ มี ความรู้ในเชิงวิสาหกิจชุมชน เกิดแรงจูงใจในการประกอบอาชีพและมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีมาในการประกอบอาชีพทำให้เศรษฐกิจรากฐานเข้มแข็งขึ้น
This research project aims 1) to build communities’ participation in resource conservation to maintain their food resources and 2) to strengthen the foundation of the local community economy to gain suitable incomes. This research project deploys the idea of strength, weakness, opportunity, and threat concepts, including observations and in-depth interviews. This research found that four factors are affecting participation in local resource management. They are age, resource management process, income, and motivation. The factors that affect the foundation of the local community economy are external factors: the government policy, economic situation, participation, and internal factors: enterprise, people, and technology. This research supports the community to handle problems caused by the mentioned factors. As a result, the community achieves a deep understanding of local resources management planed by the government. They engaged in the planning of the management of the local resources with local community participation. The community got ideas for product design and enterprise management. The locals gain higher motivation on living and basic knowledge about applying technology for jobs. Consequently, it strengthens the foundation of the local community economy.