นวัตกรรมการผลิตแคบหมูเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันอย่างยั่งยืน ของวิสาหกิจชุมชน: กรณีศึกษา กลุ่มสตรีทำแคบหมูพงสว่าง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี

บทคัดย่อ/Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างนวัตกรรมการผลิตแคบหมูเพื่อเพิ่มผลผลิตแคบหมู วิสาหกิจ ชุมชนกรณีศึกษา กลุ่มสตรีทำแคบหมูพงสว่าง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี การผลิตแคบหมู ประกอบด้วยกิจกรรมหลัก 11 กิจกรรม จากการศึกษาสภาพปัญหาเบื้องต้น โดยการศึกษาเวลาการ ทำงานแต่ละกิจกรรมเทียบกับแทคไทม์ พบว่า กิจกรรมตากแดด ใช้เวลา 16 ชั่วโมง/แบช ซึ่งสูงกว่าค่า แทคไทม์ และสามารถตากแดดได้เฉพาะในช่วงเวลากลางวัน รวมระยะเวลาในการตากแดดทั้งหมด 32 ชั่วโมง หรือ 2 วัน ทำให้ผลิตได้ไม่ทันตามยอดสั่งซื้อ ซึ่งถ้าหากเป็นฤดูฝน สภาพอากาศแปรปรวน ก็จะใช้ เวลาตากแดด มากกว่า 2 วัน ดังนั้นวิเคราะห์ได้ว่า กิจกรรมตากแดด คือ คอขวดของสายการผลิต ทำให้ เกิดความล่าช้าต้องใช้เวลาในการผลิตนาน การออกแบบแนวทางในการแก้ไขปัญหาโดยการประยุกต์ใช้ เทคนิคการกระจายหน้าที่เชิงคุณภาพ และการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการแก้ปัญหาเชิงประดิษฐ์คิดค้นมาใช้ใน การออกแบบเครื่องอบแคบหมู สรุปผล คือ 1) ผลผลิตเพิ่มขึ้นจาก 210 กิโลกรัม เป็น 588 กิโลกรัมต่อ เดือน คิดเป็นร้อยละ 64.29 ของผลผลิต 2) อัตราผลิตภาพเพิ่มขึ้นจาก 3.13 กิโลกรัม/ชั่วโมง-เครื่อง เป็น 4.38 กิโลกรัม/ชั่วโมง-เครื่อง คิดเป็นร้อยละ 39.94 ของอัตราผลิตภาพ และ 3) รายได้ต่อเดือนเพิ่มขึ้น จาก 58,800 บาท เป็น 164,640 บาทต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 64.29 ของรายได้ต่อเดือน ซึ่งเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจของวิสาหกิจชุมชนให้มีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืน

This research aims to create an innovation of pork cracking processing in Baan Pong Sawang - Pork Cracking Female Group, Ubon Ratchathani province. The pork cracking consist of 11 production main-processes. The problem is studied by takt time. In the primary study, the production rate is 16 hours per batch, which is more than the takt time. And it can be sun-dried only during the day. The total sun-exposure duration time is 32 hours, or 2 days, which is too slow to meet the customers’ demand. In an unforecastable rainy season, it takes more than 2 days to dry. Therefore, it can be seen that sun-drying activity is the bottleneck in the production line because its causes delays and take longer time in production process. Based on the mentioned problems, the researcher has designed a new method where QFD and TRIZ tools are used as a pock snack dryer. The result are as follows: 1) productivity has increased from 210 to 588 kg per month, increasing to 64.29%, 2) productivity has increased from 3.13 to 4.38 kg/hour-mc, decreasing to 39.94%, and 3) the income has increased from 58,800 to 164,640 baht per month. As a result, this innovation helps develop the economy of small and micro community enterprise in sustainably raising the local people’s income.