การป้องกันภาวะสมองเสื่อมกับการมีคุณค่าของผู้สูงอายุในพื้นที่ทางวัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
บทคัดย่อ/Abstract
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เพื่อ สร้างองค์ความรู้และพัฒนาแนวทางใน การป้องกันภาวะสมองเสื่อมที่เหมาะสมกับพื้นที่ทางวัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พื้นที่ศึกษาคือ ตำบล หัวดอน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี มีขั้นตอนการวิจัย คือ 1) การเตรียมการ ซึ่งรวมถึงการเตรียมกลุ่ม แกนนำ จำนวน 13 คน 2) พัฒนาแนวทางการป้องกันภาวะสมองเสื่อม และ 3) สรุป วิเคราะห์และประเมินผลเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบทดสอบสภาพสมองของไทย (TMSE) แบบสอบถามพฤติกรรมการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันภาวะสมองเสื่อม แบบวัดความรู้เกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ แบบสอบถามการมีคุณค่าของผู้สูงอายุ แนวทางคำถามในการสนทนกลุ่ม และแนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก แบบบันทึกตนเอง และแบบสังเกตพฤติกรรม ใช้เทคนิคการเก็บข้อมูล ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการหาร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Paired sample t-test วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)
ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ความรู้ในการป้องกันภาวะสมองเสื่อมในพื้นที่ทางวัฒนธรรมภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วยการบริโภคอาหารพื้นบ้าน ทุนทางสังคม และขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อวิถีชีวิตของชาวอีสาน (ฮีต 12 คลอง 14) และ 2) แนวทางการป้องกันภาวะสมองเสื่อมในพื้นที่ทางวัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นเตรียมการ โดยศึกษาข้อมูลค้นหาต้นทุนทางสังคม และวิเคราะห์สถานการณ์ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ 2) ขั้นพัฒนาแนวทางการ ป้องกันภาวะสมองเสื่อม (2 วงรอบ) และ 3) ขั้นสรุป วิเคราะห์ และประเมินผล
This study is an action research aims to build knowledge and develop guidelines for prevent dementia that are suitable for cultural areas in the Northeast of Thailand. The study area was Hua Don Subdistrict, Khueang Nai District. Ubon Ratchathani Province The target groups consisted of 1) the elderly of 8 people. 2) caregivers of the elderly. and 10 adults and 3) stakeholders consisting of 4 health care providers in Hua Don Sub-district health promoting Hospital. The research procedures were 1) preparation, which included the preparation of a core group of 13 people, 2) development of dementia prevention guidelines, and 3) conclusion, analysis and evaluation. Data is collected using personal information questionnaire, Thai Brain State Test (TMSE), Dementia prevention behavior questionnaire, A knowledge questionnaire about dementia, Questionnaire on the value of older adults, Guidelines for group discussion questions and in-depth interview guidelines self-record and observational behavior. Data collection techniques were used, including in-depth interviews. self-record and behavior observation. Quantitative data were analyzed by percentage, mean, standard deviation and Paired sample t-test. Qualitative data were analyzed by content analysis. The results of the research were as follows: 1) knowledge for preventing dementia in the Northeastern cultural It consists of local food consumption, social capital, and cultural traditions. Beliefs, ways of life of Isan people (Heet 12 Khlong 14) and 2) dementia prevention guidelines in Northeastern cultural areas consist of 3 steps: 1) preparation stage by studying the information find social costs and to analyze the situation of dementia in the elderly 2) Development of guidelines for dementia prevention (2 cycles) and 3) Conclusion, analysis and evaluation. Therefore, community knowledge and appreciation of the older adult are encouraged to be used in dementia prevention. under the cultural context of the Northeast it will be an important way to provide care for the problem of dementia in the elderly living in the Northeast of Thailand in the future.