การพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมและระบบการจัดการเพื่อเพิ่มมูลค่าขยะ รีไซเคิลและขยะยอยสลายได้ของชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

บทคัดย่อ/Abstract

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และระบบการจัดการ เพื่อเพิ่ม มูลค่าขยะรีไซเคิลและขยะในชุมชน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพโดยใช้การสัมภาษณ์เชิง ลึกกับกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่เป้าหมาย รวบรวมข้อมูลจากการสนทนากลุ่มและวิเคราะห์ด้วยคน 15 คน การศึกษาเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามครัวเรือนจำนวน 450 ครัวเรือน พบว่ามีปริมาณขยะมูลฝอย เกิดขึ้น 0.58 ล้านตัน ปริมาณขยะรีไซเคิล 0.31 ล้านตัน ปริมาณขยะมูลฝอยคงเหลือ 0.01 ล้านตัน น้ำหนักขยะครัวเรือนเฉลี่ยต่อวันประมาณ 1.27 กิโลกรัม จำนวนครัวเรือนที่ไม่เคยแยกขยะร้อยละ 53.56 จำนวนครัวเรือนที่เคยแยกขยะเพื่อจำหน่ายหรือใช้ประโยชน์อื่น ๆ ร้อยละ 46.44 จำนวน ครัวเรือนที่ทำปุ๋ยหมักจากขยะคิดเป็นร้อยละ 47.35 ครัวเรือนที่เคยรีไซเคิลขยะร้อยละ 46.44 ที่ เหลือนำไปใช้ประโยชน์อื่นๆ 

การศึกษาการพัฒนาออกแบบผลิตภัณฑ์จากขยะรีไซเคิลเพื่อการเพิ่มมูลค่า พบว่า ผลิตภัณฑ์ ยางรถยนต์เก่ามีคุณสมบัติและศักยภาพในการสร้างงานออกแบบ ผู้ประกอบการมีปัญหาด้านการลงสี โดยเฉพาะในช่วงหน้าฝน เมื่อวิเคราะห์แบบและการพัฒนาแบบสำหรับงานที่นอนสัตว์เลี้ยง จำนวน 10 รูปแบบ เลือกรูปแบบที่เหมาะสม ใช้เทคนิคที่ทำให้สีติดทนที่ยางรถยนต์เก่า เส้นลายมีความ ทันสมัย ตรงตามความต้องการผู้ใช้งาน ผลการประเมินความคิดเห็นต่อรูปแบบผลิตภัณฑ์รวมทุกด้าน จัดอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 3.59 S.D. 0.44) ด้านประโยชน์ใช้สอย ด้านความสวยงามของ ผลิตภัณฑ์ และความแข็งแรง อยู่ในระดับมากที่สุด และด้านปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการซื้ออยู่ในระดับ มากที่สุด

การศึกษาการทำเป็นปุ๋ยหมักแบบไม่กลับกองจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ได้แก่ ขนไก่แห้ง ใบไม้แห้ง และมูลโคแห้งมาผสมกัน หลังการหมักไปแล้ว 45 วัน พบว่า วัสดุปุ๋ยหมักเปลี่ยนเป็นสีดำ เมื่อหมักต่อไปจนถึง 60 วัน พบว่าวัสดุหมักมีการย่อยอย่างสมบูรณ์ อุณหภูมิของกองปุ๋ยหมักทั้ง 4 กลุ่มการทดลองมีค่าระหว่าง 23.00 – 30.75 องศาเซลเซียส ความชื้นมีค่าระหว่าง 28.75 – 63.75 เปอร์เซ็นต์ ความเป็นกรด-ด่างมีค่าระหว่าง 7.0 – 8.13 ธาตุอาหารพืชที่วัดได้พบว่ากลุ่มการทดลองที่ 4 มีปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดและปริมาณฟอสฟอรัสสูงกว่ากลุ่มอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนกลุ่มการทดลองที่ 3 พบว่ามีค่าการนำไฟฟ้า (EC) และปริมาณโพแทสเซียมสูงกว่ากลุ่มการทดลองอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ทั้ง 4 กลุ่มการทดลองมีความเหมาะสมสำหรับการเป็นปุ๋ยหมัก โดยมีอัตราส่วนของคาร์บอนต่อไนโตรเจนมีค่าระหว่าง 18.02 – 21.95 ส่วนปริมาณอินทรีย์วัตถุมีค่าระหว่าง 54.00 – 62.60 เปอร์เซ็นต์ และยังมีปริมาณโซเดียมระหว่าง 454.39 – 592.36 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งมาตรฐานปุ๋ยหมักมีปริมาณโซเดียมไม่เกิน 1 เปอร์เซ็นต์

การศึกษาการพัฒนาปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนจากขุยมะพร้าว ขนไก่และมูลโค พบว่า กลุ่มการ ทดลองที่ 2 มีปริมาณของไส้เดือนสูงกว่ากลุ่มอื่น โดยมีจำนวนไส้เดือนเท่ากับ 4,799 ตัว ส่วนกลุ่มการ ทดลองที่ 4 มีปริมาณไส้เดือนน้อยที่สุดคือ 17 ตัว ธาตุอาหารพืชที่วัดได้ พบว่ากลุ่มการทดลองที่ 4 มี ค่าการนำไฟฟ้า และปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดสูงกว่ากลุ่มอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดย มีค่าการนำไฟฟ้าเท่ากับ 7.5 dS/m และปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดเท่ากับ 3.91 เปอร์เซ็นต์ กลุ่มการ ทดลองที่ 3 มีปริมาณฟอสฟอรัส และปริมาณโพแทสเซียมสูงกว่ากลุ่มการทดลองอื่นอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p<0.05) โดย ส่วนความเหมาะสมสำหรับการเป็นปุ๋ยหมัก พบว่าทั้ง 4 กลุ่มการทดลองมี ความเหมาะสมสำหรับการเป็นปุ๋ยหมัก โดยมีอัตราส่วนของคาร์บอนต่อไนโตรเจนมีค่าระหว่าง 7.74 – 22.29 ส่วนปริมาณอินทรีย์วัตถุมีค่าระหว่าง 44.73 – 52.17 เปอร์เซ็นต์ และยังมีปริมาณโซเดียม ระหว่าง 367.56 – 989.57 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งมาตรฐานปุ๋ยหมักมีปริมาณโซเดียมไม่เกิน 1 เปอร์เซ็นต์

The study aims to develop technology, innovation and management system to increase the value of community recyclable and garbage. It was a quantitative and qualitative research that using in-depth interviews with sample groups in the target areas. Data were collected from focus groups and analyzed with 15 people. The quantitative study used a household questionnaire of 450 households. It was found that the amount of solid waste generated was 0.58 million tons. The amount of recycle waste was 0.31 million tons. The amount of solid waste remaining was 0.01 million tons. The daily household waste average weight was approximately 1.27 kilograms. The number of households that have never separated waste was 53.56 percent. The number of households that have previously separated waste for sale or other uses was 46.44 percent. The number of households that made compost from garbage was 47.35 percent. Households that used to recycle waste was 46.44 percent, the rest was used for other uses.

The study of product design development from recycled waste to add value found that old tire products had properties and potential to create designs. Entrepreneurs had problems with coloring, especially during the rainy season. Analyzing and developing for pet beds were designs, totaling 10 styles. The appropriate style was selected. The paint technique for last longer were use on old tires with modern style. The results of the evaluation on the product were ranked at the highest level (mean 3.59 S.D. 0.44) in terms of utility. The beauty and strength of the product was the highest level. In addition, the factors that influence purchases were at the highest level.

The non-pile compost from agricultural waste materials, including dry chicken feathers, dry leaves, and dried cow manure were study. After 45 days of composting, it was found that the compost material had turned black. When the fermentation continued for 60 days, it was found that the fermented materials were completely digested. The temperature of the compost piles in all 4 experimental groups were between 23.00 - 30.75 °C, the humidity was between 28.75 - 63.75%, the acidity - alkalinity was between 7.0 - 8.13. The experimental group 4 had higher total nitrogen and phosphorus than the other groups statistically significant (p<0.05). Experimental group 3 was found to have higher electrical conductivity (EC) and potassium content than other experimental groups with statistical significance (p<0.05). All 4 experimental groups were suitable for use as compost. The ratio of carbon to nitrogen was between 18.02 - 21.95, while the amount of organic matter was between 54.00 - 62.60% and there was also a sodium content between 454.39 - 592.36 mg/kg. The compost standard has a sodium content not exceeding 1%.

The study on the development of vermicompost from coconut coir, chicken feathers and cow dung. It was found that the second experimental group had a higher number of earthworms than the other groups. The number of earthworms was 4,799. Experimental group 4 had the least number of earthworms, 17. It was found that experimental group 4 had electrical conductivity and total nitrogen amount was significantly higher than the other groups (p<0.05). Experimental group 3 had a phosphorus and potassium amount were significantly higher than the other experimental groups (p<0.05). As for suitability for use as compost, it was found that all 4 experimental groups were suitable for use as compost. The ratio of carbon to nitrogen was between 7.74 - 22.29, while the amount of organic matter was between 44.73 - 52.17% and there was also a sodium content between 367.56 - 989.57 mg/kg. The compost standard has a sodium content not exceeding 1 percent.