การพัฒนาโปรแกรมการเรียนรู้และเข้าใจวัยสูงอายุของเด็กวัยเรียน
บทคัดย่อ/Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโปรแกรมการเรียนรูและเขาใจวัยสูงอายุของเด็กวัย เรียน 2) เพื่อเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการเรียนรูและเขาใจวัยสูงอายุของเด็กวัยเรียนก่อนและ หลังได้รับโปรมแกรม การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 พัฒนาโปรแกรม โดยการ สังเคราะห์เอกสารและประชุมกลุ่มย่อยกับผู้นำชุมชนและผู้สูงอายุ ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาผลของ โปรแกรมการเรียนรูและเขาใจวัยสูงอายุของเด็กวัยเรียน โดยมีตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนในเขต ตำบลโพธิ์ไทร อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง โรงเรียนบ้านสร้างแก้วเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน โรงเรียนบ้านท่าช้างเป็นกลุ่มควบคุม จำนวน 30 คน ใช้รูปแบบการทดลองเป็นแบบ Non-Randomized Control-Group Pretest Posttest Design ใช้แบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.71 วิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Wilcoxon Signed Ranks Test และ Mann-Whitney Test
ผลการวิจัยพบว่า 1) โปรแกรมการเรียนรูและเขาใจวัยสูงอายุของเด็กวัยเรียน ในพื้นที่เขต ตำบลโพธิ์ไทร อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ประกอบไปด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ 5 เรื่อง ได้แก่ 1. ความรู้เรื่องสังคมสูงวัย 2. ผู้สูงอายุอยากบอก 3. การเปลี่ยนแปลงในผู้สูงอายุ 4. การ ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้านร่างกาย 5. การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้านจิตใจ 2) ผลการทดลองใช้ โปรแกรม พบว่า นักเรียนกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยด้านความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการดูแลผู้สูงอายุ หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนกลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ยความรู้ และพฤติกรรมการดูแลผู้สูงอายุสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ ระดับ 0.05
เด็กวัยเรียนควรได้รับการส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจในการดูแลผู้สูงอายุโดยใช้โปรแกรม ที่สามารถนำไปปรับใช้ในแต่ละบริบทได้
The objectives of this research were: 1) to develop a program for learning and understanding aging for school-age children; 2) to compare the results of a program for learning and understanding aging for school-age children before and after receiving the program. The research process was divided into two steps. Step 1: Develop the program by synthesizing documents and conducting small group meetings with community leaders and elders. Step 2: Study the results of the program for learning and understanding the elderly for school-age children. The sample consisted of students in grades 4-6 at schools in Pho Sai Subdistrict, Phibun Mangsahan District, and Ubon Ratchathani Province. Purposive random sampling was used for sample selection. Ban Sang Kaew School was the experimental group, numbering 30 cases. Ban Tha Chang School was the control group, numbering 30 cases. The experimental design was used as a non-randomized control-group pretest-posttest design. A questionnaire with a reliability of 0.71 for the entire version Data were analyzed by mean, standard deviation, Wilcoxon signed rank test, and Mann-Whitney test.
The research results revealed that 1) the program for learning and understanding the elderly for school-age children in the area of Po Sai Subdistrict Phibun Mangsahan District Ubon Ratchathani Province It consisted of a learning management plan for five topics: 1.1) Knowledge about the aging society 1.2) What the elderly want to say; 1.3) Changes in the elderly 1.4) Promoting the health of the elderly in the physical aspect; and 1.5) Promoting the health of the elderly in the mental aspect. 2) The results of the program found that the students in the experimental group had an average level of knowledge, attitudes, and behaviors in caring for the elderly after the experiment that was higher than before the experiment, statistically significant at the.05 level. Moreover, students in the experimental group had an average level of knowledge, and their behavior toward caring for the elderly was higher than that of the control group, with a statistically significant difference at the 0.05 level. Therefore, school-aged children should be encouraged to have knowledge and understanding of caring for the elderly using programs that can be applied in each context.