นวัตกรรมการผลิตกระติบข้าวเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันอย่างยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชน : กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนจักสานไม้ไผ่บ้านหนองขอน จ.อุบลราชธานี

บทคัดย่อ/Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างนวัตกรรมการผลิตกระติบข้าวเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการ แข่งขันอย่างยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชน : กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนจักสานไม้ไผ่บ้านหนองขอน จ.อุบลราชธานี จากการศึกษาสภาพปัญหาเบื้องต้น โดยการศึกษาเวลาการทำงานแต่ละกิจกรรม กิจกรรมตากแดด ใช้เวลา 3 ชั่วโมง และในช่วงฤดูฝน สภาพอากาศมีความแปรปรวน ใช้เวลา 8 ชั่วโมง ทำให้ผลิตได้ไม่ทันตามยอดสั่งซื้อ กิจกรรมตากแดด คือ คอขวดของสายการผลิต ทำให้เกิดความล่าช้าต้อง ใช้เวลาในการผลิตนาน การออกแบบแนวทางในการแก้ไขปัญหาโดยการประยุกต์ใช้เทคนิคการกร ะจาย หน้าที่เชิงคุณภาพ มาใช้ในการออกแบบเครื่องอบเส้นตอก สรุปผล คือ 1) ผลผลิตเพิ่มขึ้นจาก 223 ชิ้น เป็น 416 ชิ้นต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 41.18 ของผลผลิต 2) อัตราผลิตภาพเพิ่มขึ้นจาก 0.62 ชิ้น/นาที-คน เป็น 1.16 ชิ้น/นาที-คน คิดเป็นร้อยละ 46.55 ของอัตราผลิตภาพ และ 3) รายได้ต่อเดือนเพิ่มขึ้นจาก 22,300 บาท เป็น 41,600 บาทต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 46.39 ของรายได้ต่อเดือน ซึ่งเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจของวิสาหกิจชุมชนให้มีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืน

This research aims to create an innovation for Rice Basket Production Process to Create a Sustainable Competitive: Case Study of Baan Nong Khon – Bamboo Basketry Community Enterprise, Ubon Ratchathani Province. The problem is studied the production time, total sun-exposure duration time is 8 hours, or 1 days, which is too slow to meet the customers’ demand. In an unforecastable rainy season, Therefore, it can be seen that sun-drying activity is the bottleneck in the production line because its causes delays and take longer time in production process. Based on the mentioned problems, the researcher has designed a new method where QFD. The result are as follows: 1) productivity has increased from 223 to 416 pcs per month, increasing to 41. 18%, 2) productivity has increased from 0.62 to 1.16 pcs /minutes-person, decreasing to 46.55%, and 3) the income has increased from 22,300 to 41,600 baht per month. As a result, this innovation helps develop the economy of small and micro community enterprise in sustainably raising the local people’s income