การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาวะโดยกระบวนการสุนทรียสนทนาของกลุ่มผู้สูงอายุบนพื้นฐานของอัตลักษณ์ชุมชน
บทคัดย่อ/Abstract
การวิจัย การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาวะโดยกระบวนการสุนทรียสนทนาของกลุ่มผู้สูงอายุบนพื้นฐานของอัตลักษณ์ชุมชน ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อสร้างรูปแบบการสร้างเสริมสุขภาวะโดยกระบวนการสุนทรียสนทนาของกลุ่มผู้สูงอายุบนพื้นฐานของอัตลักษณ์ชุมชน 2.เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาวะโดยกระบวนการสุนทรียสนทนาของกลุ่มผู้สูงอายุบนพื้นฐานของอัตลักษณ์ชุมชน เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) แบ่งเป็น 2 ระยะดังนี้
ระยะที่ 1 สร้างรูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพตามกรอบแนวคิด การสร้างเสริมสุขภาวะโดยกระบวนการสุนทรียสนทนาของกลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจงได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้นำชุมชนพยาบาลวิชาชีพ โภชนากร นักจิตวิทยา เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ปราชญ์ชาวบ้าน อาสาสมัครสาธารณสุข ในตำบลแจระแม จำนวน 30 คน เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึกซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเองโดยปรับคำถามตามกลุ่มอย่างแต่ละกลุ่ม และร่างรูปแบบสร้างเสริมสุขภาวะโดยกระบวนการสนทรียสนทนา โดยผู้วิจัยร่วมกับการมีกระบวนการแบบมีส่วนร่วม ให้มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุ เพื่อปรับปรุงให้สอดคล้องกับบริบทอัตลักษณ์ของชุมชน การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัย ได้ รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาวะโดยกระบวนการสุนทรีย สนทนาของกลุ่มผู้สูงอายุบนพื้นฐานของอัตลักษณ์ชุมชน ที่ได้จากผลการวิจัยในระยะที่ 1 ประกอบด้วย 1). กิจกรรมการให้ความรู้เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาวะในผู้สูง โดยการใช้สื่อการสอน คู่มือความรู้ 2).กิจกรรม 3 อ. 2 ส. โดยการใช้สื่อการสอน คู่มือความรู้ ด้านการบริโภคอาหาร ด้านการออกกำลังกาย ด้านการดูแลสุขภาพเมื่อมีภาวะเจ็บป่วย ด้านอารมณ์และสุขภาพจิต การผ่อนคลายความเครียด 3 ). กิจกรรมกระบวนการสุนทรียสนทนาบนพื้นฐานอัตลักษณ์ชุมชน การรับประทานอาหารพื้นบ้านเพื่อสุขภาพวันละ 1 มื้อ จัดให้มีบุคคลต้นแบบ และการสร้างพื้นที่ลานโสเหล่ให้กับผู้สูงอายุในชุมชน
ระยะที่ 2 เป็นวิจัยกึ่งทดลองสองกลุ่มประเมินก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปทั้งเพศชายและหญิง แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและควบคุมกลุ่มละ 30 คนโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) กลุ่มทดลองได้รับรูปแบบการสร้างเสริมสุขภาวะโดยกระบวนการสนทรียสนทนาของกลุ่มผู้สูงอายุบนพื้นฐานของอัตลักษณ์ชุมชนที่พัฒนาในระยะที่ 1 ระยะเวลา 6 เดือน และกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้สูงอายุ แบบประเมินความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาวะ และแบบประเมินพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาวะในผู้สูงอายุ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบค่าที(Independent T-test) และ paired t-test ผลการวิจัยพบว่า หลังการใช้รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาวะ โดยกระบวนการสนทรียสนทนาของกลุ่มผู้สูงอายุบนพื้นฐานของอัตลักษณ์ชุมชน กลุ่มทดลองมีความรู้ เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาวะ และพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาวะในผู้สูงอายุ แตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 .
สรุป : รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาวะโดยกระบวนการสนทรียสนทนาของกลุ่มผู้สูงอายุบนพื้นฐานของอัตลักษณ์ชุมชนมีผลต่อ ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาวะ และพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาวะในผู้สูงอายุ ข้อเสนอแนะกิจกรรมสุนทรียสนทนาและการฟังอย่างลึกซึ้ง รวมทั้งการอยู่บนพื้นบนอัตลักษณ์ในชุมชน และการดูแลจากครอบครัว ชุมชนจะช่วยทำให้การสร้างเสริมสุขภาพมีความต่อเนื่องและยั่งยืนเพิ่มขึ้น
This research is about the development of a model for promoting health through the process of aesthetic discussion among elderly people based on community identity. This time the objectives are: 1. To create a model for promoting health through the process of aesthetic discussion among the elderly on the basis of community identity. 2. To study the results of using the health promotion model through the process of aesthetic discussion among the elderly on the basis of community identity. It is action research (Action Research) divided into 2 phases as follows.
Phase 1 : Create a health promotion model according to the conceptual framework. Promoting health through the process of aesthetic discussion among elderly people The purposively selected sample included the elderly, community leaders, professional nurses, nutritionists, psychologists, public health officials. folk philosopher Public health volunteers in Chaeramae Subdistrict, 3 0 people. The instrument was an in-depth interview which the researcher created himself by adjusting the questions according to each group. and draft a model for promoting health through the process of conversation. by the researcher together with a participatory process Provide suggestions on promoting the health of the elderly. To improve it to be consistent with the context of community identity. data analysis Using content analysis (Content analysis) data from in-depth interviews. The research results were a model for promoting health through the process of aesthetic discussion of the elderly group based on community identity. The results obtained from the research in Phase 1 include: 1 ) . Activities to provide knowledge about promoting health in the elderly. By using teaching media Knowledge manual 2 ) . Activities 3 A. 2 S. using teaching media. Knowledge guide Food consumption Exercise Health care when there is an illness Emotional and mental health Stress relief 3 ). Aesthetic conversation process activities based on community identity. Eating one healthy local meal a day provides a role model. and creating a Sole area for the elderly in the community.
Phase 2 :This is a quasi-experimental research with two groups evaluating before and after the experiment. The sample group was elderly people aged 60 years and over, both male and female. Divided into experimental and control groups of 3 0 people each using a simple random sampling method. The experimental group received a health promotion model through the discussion process of the elderly based on their community identity. Developed in Phase 1 for a period of 6 months, and the control group received normal care. Tools used to collect data include: General information questionnaire for the elderly Knowledge assessment about promoting health and a behavioral assessment to promote health in the elderly Data were analyzed using descriptive statistics. and t-test statistics (Independent T-test) and paired t-test. The results found that After using the health promotion model through the discussion process of the elderly group based on community identity The experimental group had knowledge about promoting health. and behaviors promoting health in the elderly Significantly different from the control group at the 0.05 level.
Conclusion: The model for promoting health through the discussion process of the elderly group based on community identity has an effect. Knowledge about promoting health and behaviors promoting health in the elderly Suggestions for aesthetic activities, conversation and deep listening including living on the basis of identity in the community and care from family The community will help make health promotion more continuous and sustainable.