โปรแกรมการปรับเปลี่ยนแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับแรง สนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีของ นักเรียนวัยรุ่นตอนต้น จังหวัดอุบลราชธานี
บทคัดย่อ/Abstract
การติดเชื้อเอชไอวีในวัยรุ่นจากพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศเป็นปัญหาสําคัญในหลายประเทศทั่วโลก มีความชุกและอุบัติการณ์เพิ่มขึ้น เป็นความท้าทายระดับโลก การป้องกันการ ติดเชื้อเอชไอวีในวัยรุ่นจึงเป็นสิ่งสําคัญ การวิจัยครั้งนี้เป็นแบบกึ่งทดลองสองกลุ่มวัดก่อนและหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับแรง สนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีของนักเรียนวัยรุ่นตอนต้น จังหวัด อุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้คือนักเรียนวัยรุ่นตอนต้น จํานวน 66 ราย สุ่มตัวอย่าง แบ่งเป็น กลุ่มทดลอง 33 รายและกลุ่มควบคุม 33 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการปรับเปลี่ยน แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อเอช ไอวี และกลุ่มควบคุมได้รับความรู้เพศวิถีตามปกติ ติดตามผล 12 เดือน เครื่องมือเก็บรวบรวมเป็น ผลลัพธ์การรับรู้ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี การรับรู้ความรุนแรงของโรคเอดส์ การรับรู้ประโยชน์ ของการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้อุปสรรคของการป้องกันการติดเชื้อเอชไอ วี และพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าไคสแควร์ และการทดสอบที
ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการปรับเปลี่ยนแบบแผนความเชื่อด้าน สุขภาพร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีของนักเรียนวัยรุ่น ตอนต้น กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยการรับรู้ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี การรับรู้ความรุนแรงของโรค เอดส์ การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี และพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อเอช ไอวี ของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และค่าเฉลี่ยคะแนน การรับรู้อุปสรรคของการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ของกลุ่มทดลองต่ํากว่ากลุ่มควบคุมอย่างมี นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
ผลการศึกษาครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการปรับเปลี่ยนแบบแผนความเชื่อด้าน สุขภาพร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมสามารถการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีในนักเรียนวัยรุ่น ตอนต้นได้
The high prevalence and incidence of sexual risk behavior in HIV infection is a global challenge. Prevention HIV infection in adolescents is therefore important. The purpose of this quasi-experimental study was to examine the effect of health belief modification program and social support on HIV prevention behavior of early adolescent students, Ubonratchathani province. Sixty-sixof of students were randomly assigned into an experimental group and control group, with 3 3 students in each group. The experimental group received the effect of health belief modification program and social support on HIV prevention behavior of early adolescent students while the control group received only usual health education and followed up for 12 months. The research instruments for data collection included personal data interview questionnaires and clinical outcome evaluations (body mass index, waist circumference, blood pressure and glomerular infiltration rate). Data were analyzed by descriptive statistic, Chi-square test, independent t-test and paired t-test.
The main results were found that after intervention, the experimental group had significantly higher level (p<.01)of perceived susceptibility, severity, benefits and HIV preventive behaviors (p <.01)and lower levelof perceived barriers to HIV prevention (p<.01)than before receiving the intervention. In addition, the experimental group had shown significantly better changes in mean scores of perceived susceptibility, severity, benefits, barriers to HIV prevention and HIV preventive behaviors than the control group (p<.001).
Results of this study indicated that the effect of health belief modification program and social support on HIV prevention behavior the encourage, including family, school, community, and healthcare services to ensure continuity and effectiveness of
care provided to adolescents.