การจัดการตนเองของชุมชนเพื่อความมั่นคงทางอาหารและสร้างภูมิคุ้มกันสุขภาพด้วยสมุนไพรด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลกาบิน อำเภอกุดข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานี
บทคัดย่อ/Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรในพื้นที่ป่าสาธารณะ ที่ สัมพันธ์กับอาหารท้องถิ่นและการใช้สมุนไพรตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ค้นหาองค์ความรู้ภูมิปัญญา ประเพณีที่สัมพันธ์กับอาหารท้องถิ่น การดูแลตนเองด้วยสมุนไพรและแสวงหาแนวทางในการฟื้นฟู ปรับประยุกต์ให้เหมาะสมกับสภาพปัจจุบันและเพื่อเสริมสร้างความสามารถของประชาชนในการ จัดการตนเองเพื่อความมั่นคงทางอาหารและสร้างภูมิคุ้นกันให้ตนเองด้วยสมุนไพร กลุ่มเป้าหมายคือ พระสงฆ์ ผู้นำชุมชน และประชาชนในตำบลกาบิน 150 คน เครื่องมือในการวิจัยคือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เจาะลึก (in-depth interview) แบบสนทนากลุ่ม (focus group) และแบบสังเกต แบบมีส่วนร่วม (Participant observation) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการจัดหมวดหมู่ของเนื้อหาจัดทำ ข้อสรุปอย่างเป็นระบบ แล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ตอบวัตถุประสงค์การวิจัย
ผลการวิจัยพบว่า ตำบลกาบิน มีจำนวน 14 หมู่บ้าน ประชากร 5,573 คน ประกอบอาชีพ เกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ ในอดีตนั้น ทรัพยากร คือ ดิน น้ำ ป่า อาหาร สมุนไพร แมลง และสัตว์ ทั้งหลายในพื้นที่สาธารณะดอนป่าติ้วและป่าช้าบ้านคึมสร้างหิน มีเป็นจำนวนมาก ป่ามีความอุดม สมบูรณ์ มีของป่า คือ เห็ด หน่อไม้ ผักติ้ว หวาย ไข่มดแดง มะกอก สมุนไพร บอระเพ็ด ต้นโด่ไม่รู้ล้ม ต้นพญาเสือโคร่ง ม้ากระทืบโรง เคลือหมาน้อย ปลาไหลเผือก เป็นต้น จำนวนมาก แต่ปัจจุบันไม่มี ของป่าเลย ภูมิปัญญาในอดีตใช้สมุนไพรดูแลตนเอง เช่น น้ำต้มสมุนไพรพญาเสือโคร่ง โด่ไม่รู้ล้ม บอระเพ็ด ชาฟ้าทะลายโจร ยอดและดอกสะเดา เครือเขาแขก ต้นค้อหนาม มีสรรพคุณแก้โรคไต ใน ส่วนของการการเสริมสร้างความสามารถของประชาชนในตำบลกาบิน ในการจัดการตนเองเพื่อความ มั่นคงทางอาหารและสร้างภูมิคุ้มกันให้ตนเองด้วยสมุนไพร เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี และพึ่งตนเองได้อย่าง ยั่งยืนนั้น ได้สร้างความตระหนักและสร้างการมีส่วนร่วมแก่ประชาชนด้วยการจัดประชุมวางแผนแบบ มีส่วนร่วมออกแบบพัฒนาดอนป่าติ้วและป่าช้าเก่าบ้านคึมสร้างหินด้วยเทคนิคการประชุมวางแผน แบบมีส่วนร่วม (AIC) จัดอบรมนักวิจัยท้องถิ่นสร้างการรับรู้และเรียนรู้แก่ชุมชน ร่วมกันปลูกต้นไม้ที่ เป็นอาหารของป่า สมุนไพรและได้สร้างการมีส่วนร่วมด้วยการพัฒนาครัวเรือนต้นแบบความมั่นคงทางอาหารและการดูแลสุขภาพตนเองด้วยสมุนไพร ทำให้ชุมชนเกิดความตระหนักถึงความสำคัญของอาหารและสมุนไพร (ยา) ซึ่งจัดเป็น 2 ปัจจัยสำคัญในปัจจัย 4 ที่จำเป็นต่อมนุษย์ทุกคน ส่งผลให้เกิดกลไกขับเคลื่อนการสร้างความมั่นคงทางอาหารและมีสัญญาณที่ดีที่ชุมชนให้ความสำคัญเรื่อการสร้างความมั่นคงทางอาหาร แต่มีข้อจำกัดเรื่องเวลาที่ต้องค่อย ๆ สร้างความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ และเกิดเป็นความมั่นคงทางอาหารของประชาชนตำบกาบิน อำเภอกุดข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานี
This research aims to study changes in resources in public forest areas. related to local food and the use of herbs from the past to the present Search for knowledge and wisdom Traditions related to local food Taking care of yourself with herbs and seeking ways to rehabilitate and adapt them to suit current conditions and to strengthen people's ability to manage themselves for food security and build their own immunity with herbs. The target group is 150 monks, community leaders, and people in Ka Bin Subdistrict. The research tools are questionnaires, in-depth interviews, focus groups, and participant observation. Information by categorization of content Make systematic conclusions. Then write a descriptive narrative. Answer the research objectives
The results of the research found that Ka Bin Subdistrict has 14 villages, a population of 5,573 people, who mainly work in agriculture. In the past, resources were soil, water, forest, food, herbs, insects, and all animals in the Don Pa Tio public area and the Ban Khum Sang Hin cemetery. There are a lot The forest is plentiful, with forest products such as mushrooms, bamboo shoots, vegetable tiw, rattan, red ant eggs, olives, herbs, wormwood, and the Do Mai Mai tree. There are many Phaya Suea Krong trees, Ma Kratap Rong, Little Ma Kluea, White Eel, etc. , but at present there are no wild ones at all. Wisdom in the past used herbs to take care of oneself, such as Phaya Suea Krong herbal decoction, Do Mai Lom, wormwood, andrographis paniculata tea. The tops and flowers of neem, Khao Khaek group, and thorn tree have properties to cure kidney disease. In terms of strengthening the abilities of the people in Kabin Subdistrict in managing oneself for food security and building one's own immunity with herbs For a good quality of life and be self- reliant and sustainable. Has created awareness and created participation for the people by organizing participatory planning meetings to design the development of Don Pa Tio and the old cemetery of Ban Khum Sang Hin using participatory planning meeting (AIC) techniques, organizing training for local researchers. Create awareness and learning for the community Let's work together to plant trees that are food for the forest. Herbs and has created participation by developing model households for food security and self-care with herbs. Make the community aware of the importance of food and herbs (medicine), which are two important factors among the four essential factors for every human being. As a result, there is a mechanism driving the creation of food security and there are good signs that the community is giving importance to creating food security. But there is a time limit for gradually building up the health of the ecosystem. and resulting in food security for the people of Tambon Kabin Kut Khao Pun District Ubon Ratchathani Province