การพัฒนานวัตกรรมระบบผู้เชี่ยวชาญสำหรับวินิจฉัยอาการปวดหลังส่วนล่าง
บทคัดย่อ/Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนานวัตกรรมระบบผู้เชี่ยวชาญสำหรับวินิจฉัย อาการปวดหลังส่วนล่าง ผ่านสมาร์ทโฟนแอปพลิเคชัน 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพนวัตกรรมระบบ ผู้เชี่ยวชาญวินิจฉัยอาการปวดหลังส่วนล่าง และ 3) เพื่อประเมินผลการใช้งานระบบผู้เชี่ยวชาญการ วินิจฉัยอาการปวดหลังส่วนล่าง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน ได้แก่ อาจารย์สาขาวิชากายภาพบำบัด อาจารย์สำนักวิชาการแพทย์บูรณาการ นักกายภาพบำบัดอิสระ นัก กายภาพบำบัดโรงพยาบาลรัฐบาลและคลินิกเอกชน กลุ่มผู้ใช้งานจำนวน 150 คน ได้แก่ บุคลากรทาง การแพทย์ อาจารย์ด้านกายภาพบำบัด/แพทย์แผนไทย และนักศึกษาแพทย์แผนไทย เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัย คือ แบบประเมินประสิทธิภาพนวัตกรรมระบบผู้เชี่ยวชาญสำหรับวินิจฉัยอาการปวดหลัง ส่วนล่าง และแบบประเมินผลการใช้งานระบบผู้เชี่ยวชาญสำหรับวินิจฉัยอาการปวดหลังส่วนล่าง สถิติ ที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการพัฒนานวัตกรรมระบบผู้เชี่ยวชาญสำหรับวินิจฉัยอาการปวดหลังส่วนล่างผ่าน สมาร์ทโฟนแอปพลิเคชัน พบว่า ระบบสามารถทำงานครอบคลุมฟังก์ชันการวินิจฉัยเพื่อคัดกรองโรค หมอนรองกระดูกเคลื่อน ติดตั้งใช้งานผ่านสมาร์ทโฟนบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 2. ผลการประเมินประสิทธิภาพนวัตกรรมระบบผู้เชี่ยวชาญวินิจฉัยอาการปวดหลังส่วนล่าง พบว่า มีประสิทธิภาพโดยรวมอยู่ในระดับ มาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.80 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.84 มีความถูกต้อง 80% เมื่อเทียบกับการวินิจฉัยโดยผู้เชี่ยวชาญ 3. ผลประเมินการใช้งานระบบผู้เชี่ยวชาญการวินิจฉัยอาการปวดหลังส่วนล่าง พบว่า มีความ พึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับ มาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.90 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.95 มี ความถูกต้อง 85.06% เมื่อเทียบกับการวินิจฉัยโดยผู้เชี่ยวชาญ