ความเชื่อ เรื่องเล่า ประวัติศาสตร์ แหล่งท่องเที่ยวชายแดนไทย-ลาวในจังหวัดอุบลราชธานี : การพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าการท่องเที่ยว
บทคัดย่อ/Abstract
การวิจัยเรื่อง ความเชื่อ เรื่องเล่า ประวัติศาสตร์ แหล่งท่องเที่ยวชายแดนไทย – ลาวในจังหวัด อุบลราชธานี : การพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าการท่องเที่ยวครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษา รวบรวมข้อมูลความเชื่อ เรื่องเล่า และประวัติศาสตร์พื้นที่ซึ่งเป็นทุนทางวัฒนธรรม 2) เพื่อเผยแพร่ข้อมูล ที่ได้จากการวิจัยอันถือเป็นอัตลักษณ์ของพื้นที่ให้เป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพของชุมชนและเป็น การเพิ่มมูลค่าให้กับแหล่งท่องเที่ยว เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ทําการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูล สําคัญโดยการคัดเลือกแบบเจาะจงจากปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นําชุมชน ชาวบ้านที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป จํานวนรวมทั้งหมด 92 คน ในพื้นที่ 6 อําเภอ คือ เขมราฐ นาตาล โพธิ์ไทร ศรีเมืองใหม่ โขงเจียม สิรินธร ทําการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบทและนําเสนอเชิงพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัย ความเชื่อ เรื่องเล่า ประวัติศาสตร์ที่ปรากฏในแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งผู้วิจัยได้จําแนก นําเสนอตามลักษณะของแหล่งท่องเที่ยวเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ 1) แหล่งท่องเที่ยวภูมิธรรม ปรากฏเรื่อง เล่าและความเชื่อ 4 ลักษณะ คือ เกี่ยวกับพระอริยสงฆ์ พระพุทธรูปสําคัญ พญานาค บุคคลสําคัญ ส่วนประวัติศาสตร์ ปรากฏ 1 ลักษณะ คือ เกี่ยวกับแหล่งโบราณคดี 2) แหล่งท่องเที่ยวภูมิลักษณ์ ปรากฏ เรื่องเล่า 2 ลักษณะ คือ เรื่องเล่าอธิบายรูปลักษณ์ของสถานที่ และเรื่องเล่าที่อธิบายเกี่ยวโยงกับแหล่ง ท่องเที่ยวบริเวณใกล้เคียง ความเชื่อ จํานวน 1 ลักษณะ คือ ความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิที่ปกปักรักษา พื้นที่ ประวัติศาสตร์ พบจํานวน 1 ลักษณะ คือ ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับหลักฐานร่องรอยของมนุษย์ยุค ก่อนประวัติศาสตร์ในพื้นที่ 3) แหล่งท่องเที่ยวภูมิปัญญา ปรากฏ 2 ลักษณะ คือ เรื่องเล่าที่สอดแทรก ความเชื่อบอกที่มาของภูมิปัญญา และประวัติศาสตร์เชื่อมโยงกับภูมิปัญญา
ผลการวิจัย การเผยแพร่ทุนทางวัฒนธรรมอันเป็นอัตลักษณ์ของพื้นที่ ให้เป็นแนวทางใน การพัฒนาศักยภาพชุมชนและเป็นการเพิ่มมูลค่าการท่องเที่ยว จากการศึกษาแหล่งท่องเที่ยว ทั้ง 3 ลักษณะนั้นมีทุนทางวัฒนธรรมอันเป็นอัตลักษณ์ที่สามารถนํามาส่งเสริมการท่องเที่ยวได้ ประกอบด้วย พระพุทธรูปเก่าแก่ที่สําคัญ พระอริยสงฆ์ แหล่งโบราณคดีและแหล่งประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัตถุ แหล่งหัตถกรรมผ้าทอมือและอาหาร แหล่งธรรมชาติ แหล่งความเชื่อความศรัทธาเกี่ยวกับพญานาค ซึ่งทุนทางวัฒนธรรมเหล่านี้ไม่ได้มีการรวบรวมข้อมูลไว้เป็นลายลักษณ์อักษรและส่งเสริมให้เป็นสิ่งล้ําค่า ดังนั้น ผู้วิจัยจึงได้รวบรวมและนํามาสร้างเป็นองค์ความรู้เพื่อเผยแพร่ 2 รูปแบบ ได้แก่ 1) จัดทําหนังสือ เกี่ยวกับความเชื่อ เรื่องเล่า ประวัติศาสตร์ แหล่งท่องเที่ยวชายแดนไทย – ลาว ในจังหวัดอุบลราชธานี เผยแพร่ในโรงเรียนซึ่งอยู่ในพื้นที่ทั้ง 6 อําเภอ จํานวน 10 โรงเรียน เพื่อใช้สอนในหลักสูตรท้องถิ่น จาก การสัมภาษณ์ครูและเยาวชนที่ได้อ่านข้อมูลจากหนังสือ พบว่า เยาวชนมีความรู้และรับรู้เรื่องราวของ แหล่งท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นสามารถเล่าเรื่องสถานที่ที่ได้จากการอ่านหนังสือและมีการสืบค้นข้อมูลเพื่อศึกษา เพิ่มเติม เยาวชนบางกลุ่มนําข้อมูลไปใช้ในการแนะนํานักท่องเที่ยว 2) เผยแพร่รูปแบบออนไลน์ผ่านช่องยู ทูปชื่อ อาสา_พาเที่ยว ซึ่งมีผู้ติดตามเพิ่มขึ้นตามลําดับ การเผยแพร่ข้อมูลความเชื่อ เรื่องเล่าประวัติศาสตร์เกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวดังกล่าว จึงเป็นการนําทุนทางวัฒนธรรมมาสร้างคุณค่าเพื่อทําให้เป็นที่รู้จักและเกิดศักยภาพในการท่องเที่ยว อีกทั้งข้อมูลจากการวิจัยสามารถนําไปเป็นแนวทางในการสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ การท่องเที่ยวเชิงพุทธ และการท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา
The research aimed to study and collect beliefs, narratives and history of the areas as the cultural capital, and to disseminate information to be used as the guidelines to develop the potential of communities and to increase the value of tourism sites. This qualitative research utilized in-depth interviews with a group of key informants, selected purposively from local scholars, community leaders, and villagers aged 50 years and older. A total of 30 individuals were interviewed across 6 districts, namely Khemmarat, Natan, Pho Sai, Sri Mueang Mai, Khong Chiam, and Sirindhorn. Data analysis involved contextual analysis and was presented descriptively.
The findings of this research categorized beliefs, stories, and history related to tourist attractions into 3 characteristics: 1) morality tourist attractions, featuring four types of stories and beliefs about noble monks, important Buddha images, Phaya Naga, significant individuals, and one historical account concerning archaeological sites. 2) Landform tourist attractions, with two types of stories describing the appearance of the places and narrative stories connected to nearby tourist attractions. Additionally, there was one belief associated with trances of prehistoric people in the area. 3) Wisdom tourist attractions, displaying two characteristics: stories interweaving the origins of wisdom and histories linked to wisdom.
Furthermore, the study of these three characteristics of tourist attractions revealed that they represented the cultural capital that could promote tourism. This cultural capital included stories about important ancient Buddha images, noble monks, archaeological sites, historical sites, hand-woven handicrafts, local cuisine, natural attractions, as well as beliefs and faith in Phaya Naga. However, no written information about this cultural capital had been collected previously. Therefore, the researcher gathered and created knowledge for dissemination in two formats. 1) Creating a book about the beliefs, stories, and history of the Thai-Lao border region in Ubon Ratchathani province. This book was distributed to 10 schools across all 6 districts for using in the local curriculum. Interviews with teachers and young people who had read the information from the books revealed that the younger generation gained more knowledge and stories about tourist attractions. They were able to narrate the stories about the places they had learned about through reading the books and conducting additional research. Additionally, some groups of young people used this information to guide tourists. 2) Publishing information about the beliefs, stories, and history of these tourist attractions online through the R-Sa Pa Tiew YouTube channel, which had a substantial number of subscribers. This online dissemination of information aimed to bring cultural capital to the forefront, creating value and enhancing tourism potential. The research results could serve as a valuable guideline for creating historical tourism routes, cultural tourism experiences, and geological tourism opportunities.