การกลายวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อความตระหนักในคุณค่าวัฒนธรรมและอาการหลงวัฒนธรรมของเยาวชนในมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

บทคัดย่อ/Abstract

การกลายวัฒนธรรมมีลักษณะที่บุคคลรับเอาวัฒนธรรมของสังคมอื่นมาประพฤติปฏิบัติจนทำให้ เกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรมซึ่งเป็นผลมาจากการกล่อมเกลาทางสังคมทั้งทางตรงและทางอ้อมอัน ได้แก่ การเลียนแบบ การเรียนรู้ การเลี้ยงดู การศึกษา ประสบการณ์เป็นต้น การกลายวัฒนธรรมมีผลต่อ อาการหลงวัฒนธรรมซึ่งบุคคลมักจะมีพฤติกรรมหลงไหล คลั่งใคล้ ชื่นชอบในวัฒนธรรมของสังคมอื่นและ ปฏิบัติตามวัฒนธรรมอื่นจนทำให้ลืมวัฒนธรรมของตนที่เคยปฏิบัติมา จึงจำเป็นต้องสร้างความตระหนักใน คุณค่าวัฒนธรรมโดยเฉพาะเยาวชนให้มีความรู้สึกหวงแหนวัฒนธรรม ปฏิบัติตนตามวัฒนธรรม เข้าใจใน วัฒนธรรมและเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมของสังคมที่ตนเองอยู่ ดังนั้นการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อ ศึกษาการกลายทางวัฒนธรรมของเยาวชนในมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (2) เพื่อ ศึกษาความตระหนักในคุณค่าวัฒนธรรมและอาการหลงวัฒนธรรมของเยาวชนในมหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (3) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลการกลายทางวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อความตระหนัก ในคุณค่าวัฒนธรรมและอาการหลงวัฒนธรรมของเยาวชนในมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ (4) เพื่อนำเสนอแนวทางการส่งเสริมความตระหนักคุณค่าในวัฒนธรรมและการ ป้องกันอาการหลงวัฒนธรรมของเยาวชนในมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือการวิจัย ระยะที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง (Sample) ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏ ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในปีการศึกษา 2564 ทั้งหมด 11 แห่งจำนวน 400 คน โดยกำหนดขนาด กลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของทาโร่ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ แบบสอบถาม ใช้สถิติเชิงพรรณนาประกอบด้วยค่าเฉลี่ย (Mean) และ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) และใช้ค่าสหสัมพันธ์ เป็นการดูทิศทางความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร หรือ ค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์และการถดถอยพหุคูณเชิงเส้นตรง การวิจัยระยะที่ 2 ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ อาจารย์ในมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด สภาเด็กและเยาวชนจังหวัด นักศึกษาในมหาวิทยาลัย ราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เครื่องมือเก็บข้อมูลเป็นแบบสนทนากลุ่มและใช้วิธีการวิเคราะห์ เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า

1. การกลายวัฒนธรรมของเยาวชนโดยรวมอยู่ในระดับน้อย (x̅=2.33) เรียงลำดับจากมากไป น้อยดังนี้ มิติการเรียนรู้ (x̅=2.55) มิติการศึกษา (x̅=2.53) มิติการเลียนแบบ (x̅=2.33) มิติการอบรม เลี้ยงดู (x̅=2.29) และมิติด้านประสบการณ์ (x̅=1.94) ตามลำดับ

2. การตระหนักในคุณค่าวัฒนธรรมของเยาวชนโดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̅=3.71) เรียงลำดับ จากมากไปน้อย ดังนี้ มิติความรู้ความเข้าใจ (x̅=3.85) มิติอารมณ์ความรู้สึก (x̅=3.73) และมิติพฤติกรรม (x̅=3.55) ตามลำดับ

3. อาการหลงวัฒนธรรมของเยาวชนโดยรวมอยู่ในระดับน้อย (x̅= 2.59) เรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ มิติความหลงใหล (x̅=2.70) มิติความชื่นชอบ (x̅=2.60) และมิติความคลั่งไคล้ (x̅=2.48) ตามลำดับ

4. การกลายทางวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อความตระหนักคุณค่าในวัฒนธรรมของเยาวชน ได้แก่ มิติ การศึกษา และมิติประสบการณ์ สามารถร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 10.2

5. การกลายทางวัฒนธรรมที่ส่งผลต่ออาการหลงวัฒนธรรมของเยาวชน ได้แก่ มิติการ เลียนแบบ มิติการศึกษา และมิติด้านประสบการณ์ สามารถร่วมกันพยากรณ์ ได้ร้อยละ 61.2

6.แนวทางการส่งเสริมการตระหนักในคุณค่าวัฒนธรรมและการป้องกันอาการหลงวัฒนธรรม ประกอบด้วย บทบาทนโยบายภาครัฐ บทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บทบาทสถานศึกษาบทบาท สถาบันศาสนา บทบาทชุมชน บทบาทสถาบันครอบครัว บทบาทสื่อ และบทบาทการสร้างจิตสำนึกด้วย ตนเอง

Cultural Assimilation are traits in which individuals adopt cultures from other societies that cause cultural changes from their original state to a new state, or cultural assimilation as a result of direct and indirect social manipulation, for example;Imitation, learning, parenting, education, experience, etc.In addition, cultural mutations affect cultural Delusions in which individuals tend to be obsessed with other cultures and follow other cultures to the point of forgetting their own culture. Therefore, it is necessary to create an Awareness of Cultural Values, especially young people to have a sense of cultural cherishment, behave according to the culture, understand the culture and appreciate the culture of their own society.Therefore, this research has an objective;(1) To study cultural mutations among youth in the Northeastern Rajabhat Universities.(2) To study awareness of cultural values and cultural Delusions of youth in the Northeastern Rajabhat Universities.(3) To study cultural mutations that affect cultural and cultural value perception. Delusions of youth in the Northeastern Rajabhat Universities. And ( 4 ) To present guidelines for promoting awareness of cultural values and cultural protection Delusions of youth in the Northeastern Rajabhat Universities.Phase 1 Sample is undergraduate students. Rajabhat University in the Northeastern Region in the academic year 2021, all 11 places, 400 people, by determining the sample size using Taro Yamane's table.The tools used in quantitative research were questionnaires, questionnaires and statistical analysis consisting of; Mean, Standard deviation, Correlation coefficient, and linear multiple regression. Phase 2, The main informants are 10 experts from relevant agencies, namely; experts, scholars, lecturers in the Northeastern Group of Rajabhat Universities, the Provincial Cultural Office, the Provincial Council of Children and Youth, students in the Northeastern Group of Rajabhat Universities. The data collection tool is focus group discussion, and uses content analysis methods. The results showed that:

1. The youths’ cultural assimilation was found at a low level (x̅=2.33), in descending order as follows; Learning (x̅=2.55) measures education (x̅=2.53), imitation (x̅=2.33), parenting (x̅=2.29), and experience (x̅=1.94) respectively.

2. The youths’ cultural awareness was overall at a high level ( x̅=3 . 7 1 ) , in descending order as follows; cognition (x̅=3.85), emotion (x̅=3.73), and behavior (x̅=3.55) respectively.

3. The youths’ cultural obsession was at a low level (x̅= 2 .59 ) , in descending order as follows; Obsession (x̅=2.70), liking (x̅=2.60), and craving (x̅=2.48) respectively.

4. Cultural assimilation that could affect the youths’ cultural awareness included education and experience. These two aspects could jointly predict the outcome by 10.2%

5. Cultural assimilation that affected the cultural obsession was imitation, education, and experience.All these threeaspects could predict the outcome by 61.2%.

6. Guidelines for promoting the awareness of cultural values and the prevention of cultural delusions include; Government policy roles, local government organizations roles, educational institutions roles, religious institutions roles, community roles, family institutions roles, media roles, and self-consciousness building roles