การพัฒนาแบบวัดภาวะบีบคั้นทางจิตวิญญาณสำหรับผู้ป่วย โรคไม่ติดต่อเรื้อรังในประเทศไทย
บทคัดย่อ/Abstract
การวิจัยเรื่องการพัฒนาแบบวัดภาวะบีบคั้นทางจิตวิญญาณของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังใน ประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบวัดภาวะบีบคั้นทางจิตวิญญาณของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อ เรื้อรัง และ 2) ตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดภาวะบีบคั้นทางจิตวิญญาณของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อ เรื้อรัง ตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่อาศัยอยู่ใน 8 จังหวัด ของประเทศไทย จำนวน 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2566 โดยมีขั้นตอนการพัฒนา และตรวจสอบคุณภาพของแบบวัด 7 ขั้นตอน ตรวจสอบคุณภาพของแบบวัด โดยตรวจสอบความตรง ตามเนื้อหา อำนาจจำแนก ความเชื่อมั่น และการวิเคราะห์องค์ประกอบ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ค่า ดัชนีความตรงตามเนื้อหาโดยรวมเท่ากับ .970 2) อำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .336-.906 3) ค่าความ เชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ .986 4) ค่าสถิติ Bartlett’s test of Sphericity มี นัยสำคัญทางสถิติ ( = 17356.399, df = 903, p = .000) ค่าKaiser–Meyer-Olkin (KMO) Measure of Sampling Adequacy .966 คำถาม 43 ข้อ สามารถจัดได้ 5 องค์ประกอบ โดยมีค่าไอเกนอยู่ระหว่าง 3.494-8.385 อธิบายความแปรปรวนได้ ร้อยละ 70.80 องค์ประกอบที่ 1 การสูญเสียความภาคภูมิใจ ความหมายและเป้าหมายในชีวิต ค่าไอเกน 8.385 อธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 19.499 องค์ประกอบที่ 2 การสูญเสียความสัมพันธ์ที่ดีกับตนเองและผู้อื่น ค่าไอเกน 7.033 อธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 16.357 องค์ประกอบที่ 3 การสูญเสียความหวังและความเข้มแข็งภายในจิตใจ ค่าไอเกน 6.209 อธิบายความแปรปรวนได้ ร้อยละ 14.440 องค์ประกอบที่ 4 การ สูญเสียความสัมพันธ์ที่ดีกับธรรมชาติและพลังที่เหนือกว่า ค่าไอเกนเท่ากับ 5.323 อธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 12.378 และองค์ประกอบที่ 5 การแสดงออกทางด้านร่างกาย ค่าไอเกนเท่ากับ 3.494 อธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 8.125
The research on the topic of the development of the spiritual distress scale for persons with chronic non-communicable diseases in Thailand aimed to 1) develop a spiritual distress scale for persons with chronic non-communicable diseases and 2) examine the quality of the spiritual distress scale. The sample consisted of 400 people with chronic non-communicable diseases living in eight provinces in Thailand. Data were collected between May and August 2023, with a 7-step process for developing and testing the quality of the scale. Testing the quality of the scale by using content validity, discrimination index, reliability, and factor analysis. The results of the research are summarized as follows: 1) The overall content validity index value was.970. 2) The discriminatory index was between.336 and.906. 3) Cronbach's alpha coefficient value was.986. 4) Bartlett's test of sphericity statistic was statistically significant ( = 17356.399, df = 903, p = .000) , and the Kaiser-Meyer-Olkin (KMO) Measure of Sampling Adequacy was.966. The 43 questions could be organized into 5 factors, with an Eigen value of 3.494–8.385, explaining 70.80 percent of the variance. Factor 1: Loss of selfesteem, meaning, and purpose of life; Eigen value 8.385, explaining 19.499 percent of the variance. Factor 2: Loss of good relationships with yourself and others, Eigen value 7.033, explaining 16.357 percent of the variance. Factor 3: Loss of hope and inner strength, Eigen value 6.209, explaining 14.440 percent of the variance. Factor 4: Loss of a good relationship with nature and a higher power, Eigen value 5.323, explaining 12.378 percent of the variance. Factor 5: Physical expression, Eigen value 3.494, explaining 8.125 percent of the variance.