การพัฒนาระบบตรวจสอบย้อนกลับผลิตภัณฑ์และการตรวจรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์พีจีเอสอย่างมีส่วนร่วมของกลุ่มเครือข่ายเกษตรอินทรีย์จังหวัดอุบลราชธานีด้วยเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด เพื่อสร้างโซ่คุณค่าเกษตรอินทรีย์ที่ยั่งยืน
บทคัดย่อ/Abstract
การวิจัยเรื่องการพัฒนาระบบตรวจสอบย้อนกลับผลิตภัณฑ์และการตรวจรับรองมาตรฐาน เกษตรอินทรีย์พีจีเอสอย่างมีส่วนร่วม ของกลุ่มเครือข่ายเกษตรอินทรีย์จังหวัดอุบลราชธานี ด้วย เทคโนโลยีคิวอาร์โค้ดเพื่อสร้างโซ่คุณค่าเกษตรอินทรีย์ที่ยั่งยืน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์ ปัญหาและหารูปแบบโซ่คุณค่าที่เหมาะสมของมาตรฐานเกษตรอินทรีย์พีจีเอส จังหวัดอุบลราชธานี 2) เพื่อออกแบบและพัฒนาระบบฐานข้อมูลในการเก็บข้อมูลที่สำคัญสำหรับสร้างระบบตรวจสอบ ย้อนกลับผลิตภัณฑ์และการตรวจรับรองมาตรฐาน อย่างมีส่วนร่วมของเกษตรกร และ 3) เพื่อสร้าง โมดูลต้นแบบของระบบตรวจสอบย้อนกลับผลิตภัณฑ์และการตรวจรับรองมาตรฐานด้วยคิวอาร์โค้ด อย่างมีส่วนร่วมของเกษตรกร ผลการวิจัยพบว่า จากการวิเคราะห์ปัญหา และหาแนวทางในการ แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับกลุ่มเกษตรกรตัวอย่าง จนถึงการออกแบบและพัฒนาโมดูลต้นแบบระบบ ตรวจสอบย้อนกลับผลิตภัณฑ์และการตรวจรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ รวมถึงการปฏิบัติการ ทดลองเพื่อทดสอบการใช้งานระบบ ในสถานการณ์จริง สามารถประเมินและสรุปโซ่คุณค่าที่เหมาะสม กับการพัฒนาและส่งเสริมระบบเกษตรอินทรีย์พีจีเอส จากเดิมที่เครือข่ายเกษตรกรไม่มีเครื่องมือที่ สร้างความเชื่อมั่นและการันตีมาตรฐานของผลผลิตให้กับผู้บริโภคอย่างแท้จริง ระบบตรวจสอบ ย้อนกลับและรับรองมาตรฐานด้วยคิวอาร์โค้ดที่พัฒนาขึ้นจากการดำเนินงานวิจัยในครั้งนี้ ได้สร้างให้ เกิดระบบที่จะเชื่อมต่อระหว่างเกษตรกรผู้ผลิตและเครือข่ายผู้บริโภคให้สามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญที่ ผู้บริโภคต้องการ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับสินค้าที่ผู้บริโภคซื้อจากแหล่งจำหน่าย อีกทั้งยังเป็น ระบบที่เข้าถึงข้อมูลได้ง่าย และมีประสิทธิภาพ มีค่าใช้จ่ายที่ไม่สูง ทำให้เกษตรกรสามารถเข้าถึง เทคโนโลยีและนำมาประยุกต์ใช้เป็นตัวช่วยได้ ในขณะเดียวกัน ในส่วนของคณะกรรมการพีจีเอส ที่มีหน้าที่ในการตรวจประเมิน และพิจารณารับรอง มาตรฐานเกษตรอินทรีย์พีจีเอส ที่ประสบปัญหาในการจัดการข้อมูลที่มีปริมาณมาก และยังไม่มีระบบ ที่เป็นตัวช่วยในการบันทึกและเรียกดูข้อมูล รวมถึงการสรุปรายงานผลการตรวจรับรองของ คณะกรรมการตรวจรับรองภายใน(ICS) จากการทดลองใช้ระบบที่พัฒนาขึ้นนี้ ทำให้สามารถจัดการ กับข้อมูลที่มีปริมาณมากและยังเป็นระบบที่ช่วยให้ลดระยะเวลาในการตรวจประเมินแปลงของ เกษตรกรที่ยื่นคำขอตรวจรับรองมาตรฐาน จากเดิมที่ใช้ระยะเวลาในกระบวนการตรวจรับรอง มาตรฐานตั้งแต่ขั้นตอนเริ่มต้นจนถึงการพิจารณาผลรับรองใช้เวลา 1-3 วัน เหลือเพียง 3-6 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับความพร้อมของเกษตรกรแต่ละราย นอกจากนี้ในอนาคต คณะกรรมการพีจีเอสกินสบายใจ อุบลราชธานี จะพิจารณานำระบบที่พัฒนาขึ้นไปใช้เป็นระบบที่ช่วยในกระบวนการดำเนินงานหลัก ของการตรวจประเมินรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์พีจีเอส กับเกษตรกรในเครือข่ายต่อไป เนื่องจาก เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อการลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของเครือข่ายดังนั้น โครงการวิจัยนี้จึงเป็นการพัฒนาระบบสนับสนุนที่ช่วยในการตรวจสอบย้อนกลับผลิตภัณฑ์และการ ตรวจรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์อย่างมีส่วนร่วมด้วยเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด ที่เป็นนวัตกรรมชุมชน ใช้งานได้ง่ายและไม่ยุ่งยากซับซ้อน และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริงและเกิดความยั่งยืน ของกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง
The participatory research on the development of product traceability systems and PGS organic certification. of the organic farming network group, Ubon Ratchathani Province with QR code technology to create a sustainable organic value chain intended for 1) To analyze problems and find suitable value chains of PGS organic agriculture standards. Ubon Ratchathani Province 2) To design and develop a database system to collect important information for creating a product traceability system and standard certification. and 3) to create prototype modules of QR code product traceability and certification system with the participation of farmers. The results showed that from problem analysis and find ways to solve the problems that arise with the sample farmers. Until the design and development of prototype modules for product traceability and organic certification. Including experimental practice to test the use of the system in real situation was able to evaluate and summarize value chains which suitable for the development and promotion of the PGS organic farming system. In the past, farmers' networks did not have tools to truly build confidence and guarantee the standards of produce for consumers. QR code traceability and standard certification system developed as a result of this research. Has created a system that will connect farmers, producers and consumer networks to be able to access important information that consumers want. To build confidence in the products that consumers buy from the distribution source. It is also a system that can access information easily. and efficient The cost is not high Allowing farmers to access technology and apply it as a support system.
Meanwhile, on the part of the PGS board who is responsible for the assessment and consider certifying PGS organic farming standards who struggled to handle large amounts of data and there is no system that helps to save and retrieve information. Including a summary of the internal audit committee (ICS) audit report. From experimenting with this developed system This makes it possible to handle large amounts of data and is also a system that reduces the time required to audit farmer plots requesting certification. Previously, it took 1-3 days for the standard certification process from the initial stage to consider the certification to only 3-6 hours, depending on the readiness of each farmer. Also in the future The PGS Ginsabaijai Ubon Ratchathani Committee will consider using the developed system as a system that helps in the main operation process. of PGS organic certification audit with farmers in the network because it is an efficient system This results in a reduction in network operating time and costs. Therefore, this research project is to develop a support system that helps in product traceability and participatory certification of organic agriculture using QR code technology. that is community innovation Easy to use and uncomplicated. and can be utilized for real benefit and sustainability of farmers in the area of Ubon Ratchathani Province and related network partners.