การจัดการความปลอดภัยแบบมีส่วนร่วมในชุมชนบ้านบก อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี

บทคัดย่อ/Abstract

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental research) โดยอาศัยการมีส่วนร่วม ของชุมชนเพื่อการจัดการความปลอดภัยการใช้สารเคมีในเกษตรกร จังหวัดอุบลราชธานี ประชากร ทั้งหมดสุ่มแบบจับฉลากได้ตำบลหนองไข่นกจำนวน 782 คน ที่ปลูกพืชผักป้อนให้กับตลาดเศรษฐกิจ จังหวัดอุบลราชธานีมากที่สุด และเป็นพื้นที่ใช้สารเคมีในการเพาะปลูก ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบ Simple random โดยเทคนิคการจับฉลาก(Lottery Method) ได้กลุ่มตัวอย่างเพื่อทำการศึกษาจำนวน ทั้งสิ้น 213 คน ดำเนินการวิจัยโดยการให้โปรแกรมความปลอดภัยอย่างมีส่วนร่วมตามหลัก 3E ติดต่อกัน จำนวน 3 เดือน รวบรวมข้อมูลจากเครื่องมือแบบสอบถามที่ผ่านการทดสอบคุณภาพเครื่องมือวิเคราะห์ หาความตรงของเนื้อหาและค่าความเชื่อมั่นของเนื้อหา เท่ากับ 0.76 และ 0.82 ตามลำดับ วิเคราะห์ผล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ย ความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติเชิงอนุมาณ Paire sample T-test

ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้สารเคมีชนิดน้ำร้อยละ 94.8 โดยเฉพาะกลุ่มยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าเพลี้ย ยาฆ่าแมลง ซึ่งมีระดับความเสี่ยงต่อการสัมผัสสารเคมีที่ระดับสูง ภายหลังการให้โปรแกรม ความปลอดภัยมีค่าคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการใช้สารเคมีในชุมชนเพิ่มขึ้น เมื่อ เปรียบเทียบกับก่อนการให้โปรแกรมความปลอดภัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ P-Value < 0.001 ผลการ ออกแบบเครื่องดูดไอระเหยสารเคมีอัตราความเร็วลมในการดูดสารเคมีเท่ากับ 0.31 m/s เทียบกับ มาตรฐาน ACGIH อัตราความเร็วลมต้องอยู่ระหว่าง 0.25 -0.5 m/s ซึ่งผ่านเกณฑ์มาตรฐานสากล ACGIH.ซึ่งมีระดับความพึงพอใจในระดับมาก

สรุปผล การจัดการความปลอดภัยการใช้สารเคมีแบบมีส่วนร่วมในเกษตรกร จังหวัดอุบลราชธานี โดยใช้หลักการบริหาร 3E สามารถปรับเปลี่ยนความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมความปลอดภัยในการใช้ สารเคมีในชุมชนในทิศทางที่ดีขึ้นสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการความปลอดภัยในชุมชนได้

This research is quasi-experimental research based on community participation for safety management of chemical use among farmers in Ubon Ratchathani Province. The total population of 782 people growing vegetables for the economic market in Ubon Ratchathani Province was randomly drawn from Nong Khai Nok Subdistrict, which is an area that uses chemicals for cultivation. A simple random sampling method, which was a lottery method, was used for sample selection. A total of 2 1 3 samples were obtained. The research was conducted by providing a participatory safety program based on the 3E principle for 3 consecutive months to the samples. Data were collected from a questionnaire that was tested for quality. The content validity and the reliability of the questionnaire were 0.76 and 0.82, respectively. The results were analyzed using descriptive statistics (mean, frequency, percentage, standard deviation) and inferential statistics (paired sample t-test).

The results revealed that most farmers (94.8%) used liquid chemicals, especially herbicides, aphicides and insecticides, with a high level of exposure to chemicals. After the safety program was given, the mean scores of knowledge, attitudes and behaviors on the use of chemicals in the community significantly increased compared to those of before the safety program was given (P-Value < 0.001). According to the design of the chemical fume hood, the air velocity is 0.31 m/s, compared to the ACGIH standard that the air velocity must be between 0 .2 5 -0 .5 m/s. Therefore, the chemical fume hood meets the ACGIH standard. It also gained a high level of satisfaction.

In conclusion, the participatory safety management of chemical use among farmers in Ubon Ratchathani Province using the 3 E principle can change knowledge, attitudes and safety behaviors in chemical use in the community in a better direction. Therefore, it can be applied in community safety management.