การพัฒนาแหล่งทุนทางสังคมเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรอง โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการบริหารจัดการอนุภาคลุ่มน้ำโขงจังหวัดอุบลราชธานี

บทคัดย่อ/Abstract

การศึกษาวิจัยนี มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ และรวบรวมข้อมูลแหล่งทุนทางสังคม พื้นที่อนุภาคลุ่มน้ำโขง จังหวัดอุบลราชธานี 2) เพื่อพัฒนาแหล่งทุนทางสังคมเป็นแหล่งเรียนรู้และ ส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรอง โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการบริหารจัดการ อนุภาคลุ่มน ้า โขง จังหวัดอุบลราชธานี 3) เพื่อสร้างการเรียนรู้โดยการปรับใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการ บริหารจัดการแหล่งทุนทางสังคม อนุภาคลุ่มน้ำโขง จังหวัดอุบลราชธานี เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน วิธีวิทยาวิจัยเชิงส้ารวจและวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาจากต้ารา เอกสาร แนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยที่ เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลหลักเกี่ยวกับแหล่งทุนทางสังคม จ้านวน 50 คน และทำการสนทนากลุ่ม เพื่อค้นหาและสรุปแหล่งทุนที่โดนเด่นในแต่ละด้านในพื นที่วิจัยจาก ผู้ทรงคุณวุฒิ จ้านวน 12 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง พัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการ บริหารจัดการแหล่งทุนทางสังคม ด้วยการวิเคราะห์และออกแบบระบบฐานข้อมูลและหน้าเว็บไซต์ และสร้างการเรียนรู้แก่ชุมชนโดยการปรับใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการบริหารจัดการแหล่งทุน ทางสังคม

ผลการวิจัยพบว่า 1) แหล่งทุนทางสังคมในพื้นที่ลุ่มน้ำโขงจังหวัดอุบลราชธานี มีแหล่งทุน ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ การทอผ้าฝ้ายเข็นมือย้อมสีจากธรรมชาติของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มสตรี พัฒนาบ้านโพธิ์เมือง การหาปลาบ้านสองคอน การทอผ้าฝ้ายมือย้อมสีธรรมชาติ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ อาหารจากปลา ด้านทุนมนุษย์ ได้แก่ ปราชญ์ด้านศิลปะการแสดงหนังประโมทย์ การขับร้องหมอล า กลอน การแพทย์แผนไทยและสมุนไพร ด้านทุนทางวัฒนธรรม ได้แก่ พิพิธภัณฑ์ชุมชนวัดภูถ ้าพระ ศิลาทอง ประเพณีบุญข้าวประดับดิน งานบุญประจ าปีสักการะเจ้าใหญ่องค์ตื้อ การฟ้อนผีไท้ วิถีของ กลุ่มชาติพันธ์ชนเผ่าบรู ทุนทางสังคมด้านสถาบัน ได้แก่ กลุ่มรำตังหวาย กลุ่มสตรีทอผ้าลายดอก ผักแว่น กลุ่มทอผ้าวังม่วง กลุ่มสตรีทอผ้าบ้านป่ากุงน้อย กลุ่มโฮมสเตย์บ้านซะซอม และทุนทาง ทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ หาดทรายสูง ผาชัน หาดชมดาว อุทยานแห่งชาติผาแต้ม 2) ผลการพัฒนา ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการบริหารจัดการแหล่งทุนทางสังคม ได้แบ่งสิทธิ์การใช้งานออกเป็น 3 สิทธิ์ ได้แก่ ผู้ดูแลระบบ เจ้าหน้าที่ และผู้ใช้งานทั่วไป โดยมีองค์ประกอบหลักของเว็ปไซต์ ประกอบด้วย หน้าหลักของเว็บไซต์ การท้างานของระบ เมนูแผนที่การเชื่อมโยง เมนูข่าว/ ประชาสัมพันธ์ เมนูดาวน์โหลด การจัดการข้อมูลสมาชิก และผู้ใช้งานทั่วไป และ 3) การสร้างการเรียนรู้โดยการปรับใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการบริหารจัดการแหล่งทุนทางสังคม พบว่าชุมชน หน่วยงานภาครัฐและเอกชนเกิดความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาแหล่งทุนทางสังคมโดยใช้ระบบ สารสนเทศภูมิศาสตร์เป็นเครื่องมือในการอ้านวยความสะดวกในการบันทึก สืบค้นข้อมูล เพิ่ม ลบและ แก้ไขแหล่งทุนทางสังคม โดยสามารถน้าไปประยุกต์ใช้งานเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และส่งเสริมการ ท่องเที่ยวได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก

The objectives of this research were 1) to collect and analyze information on social capitals in the Greater Mekong Subregion in Ubon Ratchathani Province and 2) to develop social capitals to become a resource for learning and promoting tourism in less visited areas using a geographic information system. 3) to create learning by applying GIS to manage social capital resources Mekong particles Ubon Ratchathani. Research methodology is a combination of exploratory research and qualitative by literature review, interview of 50 experts who provided key information on social capitals, and focus group discussion with 12 experts selected using a purposive sampling technique to identify outstanding social capitals in the research area. Develop a geographic information system for managing social capital by analyzing and designing database systems and web pages. Create learning for communities by applying GIS to manage social capital.

The research results showed that 1) Social Capital Resources in the Mekong River Basin, Ubon Ratchathani Province. There is a source of funding for local wisdom, such as cotton weaving, hand-pushed, naturally dyed by the community enterprise of Ban Pho Muang Women's Development Group, Finding Ban Song Khon Fish, Weaving cotton by hand with natural dyes, Processing of fish food products. human capital, such as the philosopher of the performing arts Singing Mo Lam Klon Thai traditional medicine and herbs. cultural capital, such as the community museum of Wat Phu Tham Phra Sila Thong, Tradition Annual merit-making, event to pay homage to Chao Yai Ong Tue, Thai spirit dance, the way of the Bru ethnic group. Institutional social capital, such as the Tang Wai Dance Group, A group of women weaving Phak Wan pattern fabric Wang Muang Weaving Group, Ban Pa Kung Noi Women Weaving, Group Baan Zasom Homestay Group and natural resource capital, such as Sung Beach, Pha Chan, Chom Dao Beach, Pha Taem National Park. 2) The results of the development of geographic information system in the management of social capital resources, has divided the usage rights into 3 rights which are admin, staff and general users. The main components of the website include the main page of the website. system operation link map menu News/Public Relations Menu download menu member information management and general users. 3) Building learning by applying Geographic Information System to manage social capital resources, it was found that communities, government agencies and private sectors gained knowledge and understanding in the development of social capital sources by using GIS as a tool for facilitating Convenience of saving, retrieving, adding, deleting and editing social capital sources. which can be applied to be a source of learning and promoting tourism effectively with a high level of overall satisfaction