การพัฒนาเครื่องอบและผสมปลาซิวแก้วสามรสแบบใบกวนด้วยกระบวนการ Air Circulate ควบคุมอุณหภูมิอัตโนมัติ
บทคัดย่อ/Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครื่องอบและผสมปลาซิวแก้วสามรสแบบใบกวนด้วย กระบวนการ Air Circulate ควบคุมอุณหภูมิอัตโนมัติ และเพื่อหาประสิทธิภาพเครื่องอบและผสมปลาซิวแก้วสามรสแบบใบกวนด้วยกระบวนการ Air Circulate ควบคุมอุณหภูมิอัตโนมัติ ตัวอย่างที่ใช้ คือ กลุ่มผู้ผลิตปลาแก้วสามรสอบกรอบ อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ได้มาโดยเลือกแบบ เจาะจง จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า
ข้อมูลส่วนบุคคล ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 85.00 มีรายได้ต่อเดือน 10,001 - 20,000 บาท ข้อมูลด้านผลิตภัณฑ์ มีการผลิตผลิตภัณฑ์มากกว่า 1 ชนิด โดยคิดเป็นปลาซิวแก้วตากแห้ง สัดส่วนที่สูงสุด คือร้อยละ 39.29 รองลงมาคือ ปลาซิวแก้วสดเป็น ร้อยละ 35.71 ปลาซิวแก้วสามรส ร้อยละ 17.86 และด้านความต้องการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์กลุ่มเกษตรกรต้องการกระบวนการผลิตที่รวดเร็วสูงที่สุด คิดเป็นร้อยละ 18.75
การออกแบบเครื่องอบและผสมปลาซิวแก้วด้วยเครื่องอบและผสมปลาซิวแก้วสามรสด้วยกระบวนการ Air Circulate ควบคุมอุณหภูมิอัตโนมัติประกอบด้วยตู้อบชนิดทึบใช้หลอดอินฟราเรดสำหรับให้ความร้อนขนาด 500 วัตต์ จำนวน 4 หลอด ทดสอบหาประสิทธิภาพรวมถึงการทำงานของเครื่องอบและผสมปลาซิวแก้วสามรสโดยการควบคุมอุณหภูมิอัตโนมัติทำการทดลองอบแห้งโดยการควบคุมอุณหภูมิแบบอัตโนมัติในตู้อบที่ 50 60 และ 70 องศาเซลเซียส พบว่า อุณหภูมิที่เหมาะสมในการอบแห้ง คือ 70 องศาเซลเซียส ใช้เวลา 4 ชั่วโมง มีความสิ้นเปลืองพลังงานจ าเพาะในการอบน้อยที่สุดเท่ากับ 300 MJ/kgH2Oevap
ผลการวิเคราะห์ค่าทางกายภาพและทางเคมีผลิตภัณฑ์ปลาซิวแก้วสามรสควบคุมอุณหภูมิแบบอัตโนมัติ ควบคุมอุณหภูมิที่ 70°C ใช้พลังงานความร้อน 2,000 วัตต์ พบว่า ค่าสี L* มีค่าเฉลี่ย 37.56 ค่าสี b* มีค่าเฉลี่ย 23.96 ส่วนค่าสี a* มีค่าเฉลี่ย 12.15 ลักษณะเนื้อสัมผัสของผลิตภัณฑ์ปลาซิวแก้วสามรส พบว่า ค่าความแข็ง เท่ากับ 1832.46g และค่าความกรอบ เท่ากับ 648.53g องค์ประกอบทางเคมีของผลิตภัณฑ์ปลาซิวแก้วสามรสอบกรอบ พบว่า มีค่าปริมาณความชื้น เฉลี่ยเท่ากับ 5.32 และมีปริมาณน้ำอิสระ (aw) เฉลี่ยเท่ากับ 0.36 ทั้งนี้ยังคงได้ปลาซิวแก้วสามรสอบแห้งที่เนื้อและสีของปลาใกล้เคียงกับที่มีวางจำหน่ายตามท้องตลาด
The research aimed to develop the baking and mixing machine to produce the three-flavored Thai river sprat products through the process called air circulate under the automatic controlled temperature, and to know the efficiency of the machine in question. The samples used in the research were the producers of the three-flavored, dry-fish Thai river sprat products in the district of Sirinthorn, Ubon Ratchathani province. Twenty subjects were specifically derived. The research instrument was an interview. Statistics used in data analysis were frequency and percentage.
The research findings were as follows.
A majority of the subjects in the research were females accounting for 85%, earning a monthly income of 10,001 - 20,000 baht. Considering the products, there were more than one type of products. The portion could be described as follows: the product of dried Thai river sprat accounted for 39.29%, followed by fresh Thai river sprat accounting for 35.71%, and three-flavored Thai river sprat accounting for 17.86%. As for the needs concerning the product development, 18.75% of farmers wanted the fastest product process.
Designing the baking and mixing machine to produce the three-flavored Thai river sprat products through the process called air circulate included an opaque box using four infrared bulbs to generate 500-watt heat. An experiment was conducted to find an efficiency of the baking and mixing machine by means of the automatic temperature control. The baking test was carried out in the controlled temperature of 50 60 and 70 degrees Celsius. It was found that an ideal temperature for the dry baking was 70 degrees Celsius, the time used was four hours, and the least energy consumption was equivalent to 300 MJ/kgH2Oevap.
Based on the physical and chemical analysis, it was found that the Thai river sprat products under automatic temperatures at 70 C used 2,000-watt heat. It was found that the color value L* was equivalent to 37.56 Color value b* was equivalent to 23.96 and Color value a* was equivalent to 12.15. Concerning the texture of the fish products, it was found that solidity was equivalent to 1832.46g, and crispness was equivalent to 648.53g. Considering the chemical compounds of the crisp fish products, it was found that humidity was equivalent to 5.32, and independent water activity (aw) was equivalent to 0.36.