การมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ฟื้นฟูภูมิปัญญาทางภาษา ของชาวบรูอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี การศึกษาในฐานะมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
บทคัดย่อ/Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการรวบรวมและ จัดเก็บคำศัพท์ภาษาบรูที่ใช้ในชุมชนบ้านท่าล้ง ตำบลห้วยไผ่ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี 2) เพื่อศึกษากระบวนการอนุรักษ์ฟื้นฟูภาษาบรู โดยการวิเคราะห์ระบบเสียงและการสร้างแบบอักษร ภาษาบรูเพื่อใช้แทนเสียงภาษาบรูตามแนวทางภาษาศาสตร์ประยุกต์ และ 3) เพื่อจัดทำแบบฝึกคัด ลายมือภาษาบรูและหนังสือแบบเรียนภาษาบรูพื้นฐานในการใช้สอนเด็กและเยาวชนให้เหมาะสมและ สอดคล้องกับบริบทสังคมปัจจุบัน
จุ ผลการศึกษาพบว่า ผู้วิจัยได้รวบรวมและจัดเก็บคำศัพท์ภาษาบรูที่ใช้ในชีวิตประจำวัน จำนวน 300 คำ แบ่งออกเป็น 12 หมวด จากผู้บอกภาษาเพศชายและเพศหญิงที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป จำนวน 3 คน
เมื่อวิเคราะห์ระบบเสียงด้วยการหาคู่เทียบเสียงพบว่า ระบบเสียงภาษาบรูประกอบด้วย หน่วยเสียงพยัญชนะและหน่วยเสียงสระ โดยหน่วยเสียงพยัญชนะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ หน่วยเสียงพยัญชนะต้น 20 หน่วยเสียง หน่วยเสียงพยัญชนะท้าย 12 หน่วยเสียง และหน่วยเสียง พยัญชนะควบกล้ำที่ทำหน้าที่เป็นพยัญชนะต้น 8 หน่วยเสียง นอกจากนั้นยังปรากฏหน่วยเสียง พยัญชนะท้ายแบบควบกล้ำ 4 หน่วยเสียง ส่วนหน่วยเสียงสระแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ หน่วยเสียงสระเดี่ยว 22 หน่วยเสียง และหน่วยเสียงสระประสม 5 หน่วยเสียง จากนั้นจึงนำมาสร้าง แบบตัวอักษรภาษาบรู โดยได้รูปพยัญชนะ 20 รูป รูปสระ 27 รูป และตัวเลข 10 รูป
เมื่อสร้างแบบตัวอักษรภาษาบรูแล้ว จึงจัดทำเป็นหนังสือแบบเรียนภาษาบรูพื้นฐานและ แบบฝึก คัดลายมือภาษาบรู ซึ่งจะนำไปใช้จัดการเรียนการสอนในโรงเรียนเพียงหลวง 12 (บ้าน ท่าล้ง) และเผยแพร่ให้ ผู้ที่สนใจได้เรียนรู้ ตลอดจนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปต่อยอดหรือ ประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาชุมชนอื่น ๆ ต่อไป
The objective of this research is 1) to study the participation process of the community to collect and storage of Bru vocabulary of Khong Chiam District, Ubon Ratchathani. 2) to study the conservation process of Bru language by analyzing the Bru phonology. And create the Bru alphabet to represent of Bru phonology according to Applied Linguistics. 3 ) to create a calligraphy practice of Bru letters and Bru language textbook for teaching children and youth in accordance with the current social context.
The study found that 300 Bru words used in daily life that divided into 12 categories were collected and stored by interviewing 3 male and female native speakers that aged over 50 years.
When analyzing the Bru phonology according to minimal pair approaches, it was found that the Bru phonology consists of consonant and vowel phonemes. Consonant phonemes are divided into 3 types: Initial consonants have 20 phonemes, Final consonants have 12 phonemes and Diphthong consonants that function as the initial consonants have 8 phonemes. In addition, it was found that Diphthong consonants that function as the final consonants have 4 phonemes. Vowel phonemes are divided into 2 types: Single vowels have 22 phonemes, Diphthong vowels have 5 phonemes. Then the Bru alphabet was created. The Bru alphabet has 20 letters, 27 vowel forms and 10 numeric characters.
After creating the Bru alphabet, then create a calligraphy practice of Bru letters and Bru language textbook for teaching and learning in Piangluang 12 School (Ban Tha Long) and published for those who are interested to learn. And also, for the relevant agencies to extend or apply to develop other communities further.