การเพิ่มมูลค่าเชิงเศรษฐกิจให้กับผ้าทอท้องถิ่นและเชื่อมโยงไปสู่การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษากลุ่มสตรีทอผ้ากาบบัวบ้านเอือดใหญ่ ตำบลเอือดใหญ่ อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี
บทคัดย่อ/Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการผลิตผ้ากาบบัวของจังหวัด อุบลราชธานี 2) ศึกษากระบวนการผลิตและต้นทุนการผลิตผ้าไหมกาบบัวเพื่อหาแนวทางการลด ต้นทุนการผลิตเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับผ้าไหมกาบบัว 3) แนวทางการพัฒนาผ้าไหมกาบบัวเป็น ผลิตภัณฑ์ และ 4) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานที่สนับสนุนให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนบ้าน เอือดใหญ่ ตำบลเอือดใหญ่ อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี
ผลการศึกษาพบว่า 1) รูปแบบการผลิตผ้ากาบบัวของจังหวัดอุบลราชธานีสามารถผลิตได้ทั้งเส้นใยจากฝ้ายและเส้นใยจากไหม รูปแบบการทอผ้ากาบบัวแยกตามวิธีการทอ ได้แก่ การทอผ้ากาบบัวด้วยวิธีการมัดหมี่ การทอผ้ากาบบัวด้วยวิธีการขิด การทอผ้ากาบบัวด้วยวิธีการจก และการทอผ้ากาบบัวผสมไหมคำ 2) ต้นทุนการผลิตผ้าไหมกาบบัวโดยเฉลี่ยต่อผืน ประกอบด้วย วัตถุดิบทางตรงแรงงานทางตรง และค่าใช้จ่ายในการผลิต ต้นทุนรวมเฉลี่ยต่อผืน 2,707.52 บาท แต่มีราคาขายผืนละ 1,800 บาท ทำให้เมื่อคำนวณต้นทุนและผลตอบแทนขาดทุนเท่ากับ 907.52 บาท เมื่อได้พิจารณาข้อมูลเชิงลึกจะเห็นได้ว่าต้นทุนส่วนใหญ่เป็นค่าแรงงานคนทอผ้าซึ่งกลุ่มสตรีทอผ้ากาบบัวบ้านเอือดใหญ่ทอผ้าเอง แนวทางการลดต้นทุนการผลิตผ้าไหมกาบบัวที่สามารถท าได้คือ ควรมีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ควรย้อมผ้าไหมกาบบัวด้วยสีจากพืชธรรมชาติที่หาได้ในท้องถิ่น ควรมีการวางแผนการผลิต และควรถ่ายความรู้และเทคนิคจากสมาชิกในกลุ่ม 3) การพัฒนาผ้าไหมกาบบัวให้เป็นผลิตภัณฑ์คณะผู้วิจัยได้พัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ 4 ประเภท ได้แก่ กระเป๋าใส่เครื่องสำอาง เครื่องประดับผมเข็มกลัดติดเสื้อ และพวงกุญแจ ผลการสำรวจความพึงพอใจของผู้บริโภค พบว่า ต้นแบบผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมกาบบัวประเภทเข็มกลัดติดเสื้อและเครื่องประดับผม เป็นที่ต้องการของตลาดจึงได้ผลิตผลิตภัณฑ์ทั้งสองชนิดนี้ออกจำหน่าย และ 4) ข้อมูลพื้นฐานของชุมชนบ้านเอือดใหญ่ มีวิถีชีวิตและขนบธรรมเนียมประเพณีแบบอีสาน ให้สุภาพสตรีทอผ้าทำผู้หญิงในชุมชนมีทักษะและองค์ความรู้
เกี่ยวกับการทอผ้ากาบบัว และชุมชนแหล่งท่องเที่ยวทางศาสนาสถานหลายแห่ง แนวทางการการพัฒนาให้ชุมชนบ้านเอือดใหญ่เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม จะต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างผู้นำชุมชน ผู้นำกลุ่มสตรีทอผ้ากาบบัว และส่วนงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องมาร่วมกันสร้างเส้นทางวัฒนธรรมของชุมชน และส่งเสริมให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยว