วาทกรรมคำสอนของหลวงปู่ชา สุภัทโทและศิษยานุศิษย์กับการสร้างสรรค์สังคมเพื่อความสงบสุข

บทคัดย่อ/Abstract

โครงการวิจัยเรื่องวาทกรรมคำสอนของหลวงปู่ชา สุภัทโทและศิษยานุศิษย์กับการสร้างสรรค์สังคมเพื่อความสงบสุข ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารวบรวมจัดจำแนกและเผยแผ่วาทกรรมคำสอนของหลวงปู่ชา สุภัทโทและ ศิษยานุศิษย์ และเพื่อศึกษาวาทกรรมค าสอนของหลวงปู่ชา สุภัทโทและศิษยานุศิษย์กับการสร้างสรรค์สังคมเพื่อความสงบสุขของสังคม

ผลการศึกษาพบว่า 1) วาทกรรมคำสอนของหลวงปู่ชา และศิษยานุศิษย์ ที่มุ่งศึกษาเฉพาะพระราชภาวนาวิกรม หรือ หลวงพ่อเลี่ยม ฐิตฺธัมโม เจ้าอาวาสวัดหนองป่าพงรูปปัจจุบัน สามารถจำแนกลักษณะคำสอนออกเป็น 7 ลักษณะได้แก่ วาทกรรมคำสอนเกี่ยวกับสมาธิวิปัสสนากรรมฐานวาทกรรมคำสอนเนื้อความเกี่ยวกับธรรมะของพระสัมมาพุทธเจ้า วาทกรรมที่สอนด้วยยกตัวอย่างเปรียบเทียบอุปมาอุปไมย วาทกรรมที่เป็นคำง่ายตรงกับเนื้อหาของเรื่อง วาทกรรมที่ใช้สอนด้วยวิธีปฏิบัติ วาทกรรมที่สอนด้วยวิธีสนทนาถาม-ตอบ และวาทกรรมที่ใช้อารมณ์ขัน

2) วาทกรรมคำสอนของ หลวงปู่ชา สุภัทโท และศิษยานุศิษย์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั้นจึงล้วนมีคุณค่าทางสังคมเพราะทุกคำสอนมีบทบาทในการสร้างสรรค์สังคมให้สงบสุข คือทำให้พุทธศาสนิกชนเข้าใจถึงแก่นธรรมค าสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยพบได้จากยอดคำสอนของหลวงปู่ชา และคำสอนศิษยานุศิษย์ชาวต่างชาติ ทำให้เกิดทายาทธรรมทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติทำให้เกิดศาสนพิธีหรือกิจกรรมด้านพุทธศาสนาในสังคม เป็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยเป็นแบบอย่างที่ดีและทำให้มีการขยายสาขาทั้งในและต่างประเทศ และทำให้เกิดจิตอาสาในการช่วยงานสร้างสรรค์สังคมและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา

The objectives of the research were to study, compile and disseminate the discourse of Venerable Cha Supattho and his disciples and investigate the teaching as delivered by the Venerable along with social creativity.

The study found that the discourse of Venerable Cha Supatto and his disciples, particularly the present abbot of Wat Nongpapong, can be classified into seven categories: teaching on concentration and insight meditation, discourse on the Buddha’s teaching, discourse on similes, direct and simple discourses, discourse for practices, discourse on the question- answer, and discourse based on the sense of humor. The discourse of the Venerable Cha and his disciples from the past to the present have proved socially valuable as they are integral to social peace and creativity. Through the discourses used, Buddhists in general could better understand the Buddha’s teaching. Both Thais and foreign became more interested in Buddhism. As a consequence, more Buddhist rituals and activities ensued. Buddhism was spread far and wide. More support and patronage were given to Buddhism.