พัฒนารูปแบบการให้ความรู้กฎหมายแก่ประชาชนในจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อสร้างโอกาสการเข้าถึงอย่างยั่งยืน
บทคัดย่อ/Abstract
แม้ว่าในปัจจุบันหน่วยงานของรัฐหลายหน่วยงานมีนโยบายที่ให้ความรู้กฎหมายให้แก่ประชาชนหลาย แต่ประชาชนยังไม่เข้าถึงกฎหมายเท่าที่ควรซึ่งอาจจะมีข้อจำกัดหลายๆอย่างในการเข้าถึง ไม่ว่า จะเป็นด้านภูมิภาคอาณาเขต ด้านอายุของประชาชน ด้านความสามารถในการใช้เทคโนโลยี ด้านฐานะความเป็นอยู่ ด้านข้อจ ากัดของงบประมาณของหน่วยงาน ดังนั้นผู้วิจัยเห็นว่าควรศึกษารูปแบบที่หน่วยงานของรัฐที่ให้ความรู้กับประชาชนได้เข้าถึงสิทธิในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาได้ดีที่สุด เพื่อเสนอให้หน่วยงานของรัฐจัดการให้ความรู้ด้านสิทธิในกระบวนการยุติธรรมที่เหมาะสมที่สุดและสร้างแกนนำที่ประสานด้านกฎหมายโดยมีคนในชุมชนเป็นคนขับเคลื่อน เพื่อให้เกิดสังคมที่เคารพกติกาและไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคม
ผลการวิจัยพบว่า
รูปแบบการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชนในปัจจุบัน ประกอบด้วย 9 รูปแบบ คือ ทีวี เคเบิ้ลทีวี และทีวีท้องถิ่นอินเตอร์เน็ต หรือไลน์ หรือ Social Network ต่าง ๆ หนังสือพิมพ์วารสาร แผ่นพับหรือใบปลิวหนังสือเวียนราชการหรือจดหมายวิทยุ หรือเสียงตามสายวิทยากรบรรยาย และ การจัดบูธประชาสัมพันธ์จากการศึกษาพบว่า ประชาชนเคยได้รับความรู้ทางกฎหมายในรูปแบบ วิทยากรบรรยายมากที่สุด (347 คน) รองลงมาคือ ทีวี เคเบิ้ลทีวี และทีวีท้องถิ่น(307 คน) ผลการ วิเคราะห์ข้อมูลการให้ความรู้ทางกฎหมายรูปแบบไหนที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายที่สุด พบว่าประชาชน ส่วนใหญ่คิดว่าการให้ความรู้ในรูปแบบวิทยากรบรรยายสามารถเข้าถึงได้ง่ายที่สุดมากที่สุด (ร้อยละ 43.75) รองลงมาคือ ทีวี เคเบิ้ลทีวี และทีวีท้องถิ่น (ร้อยละ 21.25) อินเตอร์เน็ต หรือไลน์ หรือ Social Network ต่าง ๆ (ร้อยละ 17.25)