การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาภูมิปัญญาพื้นบ้านของชุมชนชาวบรู สู่การสร้างนวัตกรรมชุมชน ตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน
บทคัดย่อ/Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อจัดกิจกรรมในการบริหารจัดการโครงการวิจัยย่อยทั้ง 3 เรื่องให้ บรรลุวัตถุประสงค์ 2) เพื่อสังเคราะห์ผลการดําเนินงานของโครงการวิจัยย่อยทั้ง 3 เรื่องให้ได้องค์ความรู้ ในเชิงวิชาการ 3) เพื่อนําผลการวิจัยของโครงการย่อยทั้ง 3 เรื่อง มาจัดทําสื่อเผยแพร่องค์ความรู้ เช่น จัดทําหลักสูตรท้องถิ่นระดับประถมศึกษา สื่อการเรียนรู้วิชาคติชนวิทยาระดับอุดมศึกษา วิดีทัศสารคดี ความรู้และหนังสือชุดความรู้ 4) เพื่อจัดทําข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการพัฒนาชุมชนต่อหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง การวิจัยนี้เป็นการวิจัยชุมชนซึ่งผู้วิจัยได้บรูณาการระเบียบวิธีวิจัยของศาสตร์ทั้ง 3 สาขามา ประยุกต์ใช้ในการวิจัย อันได้แก่ 1) การศึกษาเชิงคุณภาพ 2) การวิจัยแบบมีส่วนร่วม และ3) การวิจัยทาง คติชนวิทยา ซึ่งผู้วิจัยเลือกใช้เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก 2) แบบสอบถาม 3) แบบบันทึกการสังเกตแบบมีส่วนร่วม 4) แบบบันทึกการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (Non Participant Observation)เพื่อเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นําชุมชน ชาวบ้าน สมาชิกกลุ่มอาชีพ
ผลการศึกษาพบว่า ด้านบทสังเคราะห์ผลการดําเนินงานของโครงการวิจัยย่อยทั้ง 3 เรื่อง พบว่า งานวิจัยในโครงการย่อยได้มุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาของชาวบรูที่มีมาแต่อดีต ทั้งภูมิ ปัญญาสมุนไพรไทยบรู ภูมิปัญญาเครื่องจักสานไทยบรู และภูมิปัญญาผ้าทอไทยบรู ทําให้ชุมชนได้รับ ประโยชน์จากการวิจัย การพัฒนาภูมิปัญญาสมุนไพรพื้นบ้านสู่นวัตกรรมชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจ สร้างสรรค์ ได้ต้นแบบผลิตภัณฑ์สมุนไพร 2 ประเภท คือ ผลิตภัณฑ์สมุนไพรมาส์กหน้าชีดิน และ ผลิตภัณฑ์ยาบํารุงร่างกายไทยบรู ส่วนโครงการวิจัย การพัฒนาภูมิปัญญาเครื่องจักสาน พื้นบ้านสู่ นวัตกรรมชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ได้ต้นแบบผลิตภัณฑ์เครื่องจักสาน 2 ประเภท คือ ผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่และผลิตภัณฑ์จากเตย และ โครงการวิจัย การพัฒนาภูมิปัญญาผ้าทอพื้นบ้านสู่ นวัตกรรมชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทําให้ได้ต้นแบบผลิตภัณฑ์ผ้าทอไทยบรู 2 ประเภท คือ ผลิตภัณฑ์หมวกจากผ้าทอพื้นเมือง และผลิตภัณฑ์กระเป๋าจากผ้าทอพื้นเมือง ซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้ ตอบสนองความต้องการของชุมชนได้เป็นอย่างดี ด้านกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ผู้วิจัยพบว่า กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในโครงการวิจัยนี้ผู้วิจัยพบว่า ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมใน 6 ลักษณะ คือ การสํารวจข้อมูลภูมิปัญญาปัญหาของชุมชน การจัดเวทีชุมชนเพื่อระดมความคิดเห็น การจัดอบรบ ให้กับคนในชุมชน การร่วมกับชุมชนในการผลิตนวัตกรรม การนําข้อมูลที่ได้มาสังเคราะห์ เพื่อจัดทําหนังสือชุดความรู้ และการจัดเวทีคืนความรู้สู่ชุมชน นอกจากนี้ยังพบว่า ชุมชนยังเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาโจทย์วิจัย เพื่อศึกษาภูมิปัญญาของชาวบรู การมีส่วนร่วมในการเก็บรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญา และการมีส่วนร่วมในการร่วมพัฒนาภูมิปัญญาของชาวไทยบรูตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์
This research aims 1) to organize activities in managing 3 sub-research projects to achieve the objectives 2) to synthesize the performance of all 3 sub-research projects to gain academic knowledge 3) to lead The research results of the 3 subprojects were prepared to disseminate knowledge, such as preparing local curriculum at the elementary level. Learning materials for higher education folklore Videos of documentary, knowledge and knowledge books 4) to make recommendations for community development policy to relevant agencies. This research is community research in which the researcher has integrated research methods of all 3 disciplines to apply in this research, namely 1) qualitative study 2) participatory research and 3) clinical research. Folklore The researcher chose to use research tools such as 1) Indepth Interview 2) Questionnaire 3) Record of Participatory Observation 4) Non Participant Observation to collect data from the sample. In this research, villagers were folk masters, community leaders, members of occupational groups.
The study found that As for the synthesis of the results of the implementation of the three sub-projects, it was found that the research in the subprojects focused on the development of products based on past Bru wisdom. Both Thai herbal wisdom Bru Wisdom of Thai Bru Wicker And the wisdom of Thai Bru textiles Enabling the community to benefit from research Development of local herbal wisdom to community innovation according to the creative economy. It has been a prototype of 2 types of herbal products: herbal products, clay face masks and Thai Bru body tonic Research project section Wicker development Folk to community innovation according to the creative economy Obtained 2 types of wicker prototypes: bamboo products and pandan products, and a research project for developing local woven cloth wisdom to community innovation according to the creative economy. Resulting in two prototypes of Thai Bru weaving products: hats made from local woven fabrics And bag products from local woven fabrics These products have responded to the needs of the community as well.
The process of community participation Researchers found that In the process of community participation in this research project, the researchers found that The community took part in 6 ways: surveying information, wisdom, problems of the community. Organizing a community forum for brainstorming Organizing a battle for people in the community Collaborating with the community to produce innovation Synthesis To create a knowledge set book And organizing a forum to return knowledge to the community It was also found that The community also took part in the development of research questions. To study the wisdom of the Bruites Participation in the collection of knowledge about wisdom And participation in developing the wisdom of Thai Bru people according to the creative economy guideline