แนวทางการแปลงทุนทางสังคมวัฒนธรรมสู่สินค้าและบริการเพื่อยกระดับ เศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่ภาคอีสานตอนล่าง : อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร และอำนาจเจริญ
บทคัดย่อ/Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของทุนทางสังคมวัฒนธรรม 2) เพื่อ ศึกษาศักยภาพหรือความโดดเด่นของทุนทางสังคมวัฒนธรรม 3) เพื่อหาแนวทางการแปลงทุนทาง สังคมวัฒนธรรมสู่สินค้าและบริการเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานราก โดยท าการศึกษาในเขตพื้นที่ภาค อีสานตอนล่าง : อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร และอ านาจเจริญ ผู้วิจัยท าการศึกษาเอกสารและ หลักฐานเกี่ยวกับทุนทางสังคมวัฒนธรรม การสัมภาษณ์ประชากรเป้าหมายผู้ให้ข้อมูลหลัก รวมไปถึง การจัดเวทีสนทนากลุ่ม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้ประกอบการ นักวิชาการ จากทั้ง 4 จังหวัด ซึ่งคัดเลือกโดยวิธีการสืบเสาะหาด้วยวิธีการบอกต่อ (Snow ball) จำนวน 40 คน ท าการวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยน าเสนอเชิงพรรณนาความเชื่อมโยงแต่ละเนื้อหา เหตุการณ์ให้เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน ผลการวิจัย พบว่า
สภาพทั่วไปของทุนทางสังคมวัฒนธรรมในพื้นที่ภาคอีสานตอนล่างประกอบด้วยจังหวัด อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร และอ านาจเจริญ สามารถจำแนกตามหมวดหมู่ของมรดกภูมิปัญญา ทางวัฒนธรรม ได้ดังนี้ 1) สาขาแนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรมและเทศกาล ประกอบด้วย 1.1) กลุ่ม ขนบธรรมเนียมประเพณี 1.2) กลุ่มงานเทศกาล 2) สาขางานช่างฝีมือดั้งเดิม ประกอบด้วย 2.1) กลุ่ม ผ้าและผลิตภัณฑ์จากผ้า 2.2) กลุ่มเครื่องจักสาน 2.3) กลุ่มเครื่องไม้ 2.4) กลุ่มเครื่องโลหะ 3) สาขา ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล ประกอบด้วย 3.1) กลุ่มอาหารและโภชนาการ 3.2) กลุ่มการจัดการทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน และ 4) สาขาศิลปะการแสดง ประกอบด้วย 4.1) กลุ่มศิลปะการแสดง 4.2) กลุ่มการแสดง
ทุนทางสังคมวัฒนธรรมที่มีศักยภาพเหมาะสมที่จะแปลงสู่สินค้าและบริการ ได้แก่ 1) จังหวัดอุบลราชธานี ประกอบด้วย 1.1) ประเพณีแห่เทียนพรรษา คือ ความประณีตในการน าต้น เทียนมาประกอบเป็นขบวนและการเล่าเรื่องราวของพุทธประวัติประกอบเป็นขบวนต้นเทียน 1.2) ผ้ากาบบัวคือผ้าทอด้วยฝ้าย หรือไหมประกอบด้วยเส้นยืนย้อมอย่างน้อยสองสีเป็นริ้วตาม ลักษณะ “ซิ่นทิว” 1.3) เครื่องทองเหลืองโดยสามารถท าให้เป็นแหล่งเรียนรู้หรือโรงเรียนสอนการทำทองเหลือง 2) จังหวัดศรีสะเกษ ประกอบด้วย 2.1) ประเพณีแซนโฎนตาเป็นการประกวดเครื่องเซ่นไหว้ซึ่งมีความมโหฬารมาก 2.2) เซิ้งสะไนไหลเรือยาว สะไน เป็นเครื่องดนตรีพื้นบ้านของชนเผ่าเยอที่ท ามาจากเขาสัตว์ 3) จังหวัดยโสธรเป็นประเพณีแห่มาลัยข้าวตอกซึ่งเป็นหนึ่งเดียวในโลกที่มีการนำข้าวตอกขาวที่คัดจากข้าวเปลือกข้าวเหนียวที่ดีที่สุดมาร้อยเป็นมาลัยสูงนับสิบเมตร 4) จังหวัดอ านาจเจริญ ประกอบด้วย 4.1) ประเพณีเปิดประตูเล้าเผ่าภูไทเป็นกิจกรรมของคนเผ่าภูไทยมีนิทรรศการศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตชุมชนคนภูไทโดยเฉพาะ และ 4.2) ประเพณีบุญข้าวจี่เป็นการประกวดข้าวจี่ใหญ่ทั้งระดับประชาชนและนักเรียน
แนวทางการแปลงทุนทางสังคมวัฒนธรรมสู่สินค้าและบริการเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐาน รากแบ่งออกเป็น 2 หมวด ดังนี้ หมวดที่ 1 ว่าด้วยหลักการการแปลงทุนทางสังคมวัฒนธรรมสู่สินค้า และบริการ ได้แก่ การสร้างความเป็นเจ้าของ (ให้เอกชนด าเนินการ) ,ส่งเสริมให้เกิดการแข่งขัน, รัฐท าหน้าที่เพียงส่งเสริม สนับสนุน หนุนเสริม และน า “อัตลักษณ์” มาสร้างให้เป็น “เอตทัคคะ (ความเป็นเลิศ)” และ หมวดที่ 2 ว่าด้วยกระบวนการการแปลงทุนทางสังคมวัฒนธรรมสู่สินค้าและ บริการ ได้แก่ ค้นหาเจ้าภาพหลัก, ค้นหาเอกลักษณ์/อัตลักษณ์, กำหนด Road Map สร้าง “อัตลักษณ์” ให้เป็น “เอตทัคคะ (ความเป็นเลิศ)”, ความร่วมมือประชารัฐ, ใช้พลัง Social Media, สร้าง Data Based, สร้างแกนน า Coaching, การจัดการเชิงกลยุทธ์ และการจัดความรู้อย่างต่อเนื่อง
This research aimed to 1) study the general conditions of socio-cultural capital, 2) study the potential or prominence of social-cultural capital, 3) find ways to transform the socio-cultural capital to be the goods and services to upgrade foundations economy. This research was hold in the Lower Northeastern Region of Thailand consist of Ubonratchathani, Sisaket, Yasothon and Amnatcharoen province. The research resource data from (1) the document and evidence concerning sociocultural capital, (2) the target population and (3) the focus group discussion participant. The sample were Government officials involved, philosophy villagers, business entrepreneurs, academics from all 4 provinces; they were selected by snow ball method for 40 persons. The data was analyzed be the content analysis and present as description connecting between content and event in relation each other. the research results were found as follow;
The general condition of the socio-cultural capital in the lower northeastern region can be categorized as follows: 1) the social practices, rituals and festivals include 1.1) traditions and customs and 1.2) festivals. 2) the traditional craftsmanship, consisting of 2.1) fabric and fabric products, 2.2) wickerwork, 2.3) woodwork and 2.4) metalwork. 3) Knowledge and guidelines regarding nature and the universe, consisting of 3.1) Food and nutrition and 3.2) Natural resource management for conservation and sustainable. And 4) Performing arts consisting of 4.1) performing arts and 4.2) performing.
Social and cultural capital that has the potential to be transformed into goods and services were 1) Ubon Ratchathani Province consisting of 1.1) the candlelit parade tradition was the delicacy of bringing the candles into the procession and the story of the Buddha's history in the candles. 1.2) Khabau cloth was the Khabuk woven with cotton or silk that consists of standing lines dyed at least two colors in a stripe pattern as the "skirt". 1.3) Brassware which can be a learning center or a brass making school. 2) Si Sa Ket Province consists of 2.1) San Donta tradition was the offering of ceremonies which are very big. 2 .2) Serng Sanai (Dance) Long boat flow was that Sanai is a folk instrument of the tribe of Ye, made from horns. 3) Yasothon Province is the tradition of Khao Talai Malai Festival was the only one in the world where white rice is selected from the best glutinous paddy rice into a garland of tens of meters high. 4) Amnat Charoen Province consists of 4.1) the tradition of opening the door for the Phu Thai tribe; the activities of the Phu Thai people have an exhibition of art, culture, traditions and ways of life of the Phu Thai people in particular. And 4.2) The Khao Chee Bun Tradition is a big rice contest for the public and students’ level.
The way to transform the socio-cultural capital as the goods and services for improving the foundational economy was divided into 2 categories as follow; the first ; principles of transforming the socio-cultural capital to goods and services were Creating ownership (allowing the private sector to take action), promoting competition, and the government acting only to promote, support, support and bring "identity" to create "excellence". And the second: process of transforming the sociocultural capital to goods and services were; searching for main host, identify identity, define Road Map to create "identity" to be "Excellence", Civil Government Cooperation, Use of Social Media Power, Build Data Based, Create Coaching Leadership, Strategic Management, and Continuous Knowledge Management.