การศึกษาและพัฒนาสมบัติเฉพาะของอิฐมวลเบาจากผักตบชวาและเศษขยะโฟมพอลิสไตรีนเพื่อเพิ่มศักยภาพการนำวัสดุเหลือใช้กลับมาใช้ประโยชน์ในชุมชน
บทคัดย่อ/Abstract
งานวิจัยนี้ได้เตรียมตัวอย่างของอิฐมวลเบาในอัตราส่วนต่าง ๆ จากอัตราส่วนผสมของผักตบชวา และเศษขยะโพลิสไตรีนโฟม และปูนชีเมนต์ปอร์ตแลนด์1 แล้วนำมาศึกษาสมบัติเฉพาะของแต่ละเงื่อนไขที่เตรียมได้ ศึกษาสมบัติเป็นฉนวนกันความร้อนโดยการวัดการส่งผ่านอุณหภูมิแล้วดูผลต่างของอุณหภูมิด้านที่ให้ความร้อนกับที่ความร้อนส่งผ่านมาถึงในช่วงเวลาเดียวกันและได้วัดการกระจายความร้อน แล้วนำผลการทดลองที่ได้มาเขียนกราฟการกระจ่ายความร้อนแบบcontour ศึกษามีสมบัติเป็นฉนวนกันเสียง และสมบัติเชิงกลจากผลการวิจัยพบว่า เงื่อนไขที่มีความหนาแน่นมากที่สุดคือ เงื่อนไขที่มีส่วนผสมของรากผักตบชวาขนาด 8 มิลลิเมตร ร้อยละ 20 มีค่าความหนาแน่น 2411.89 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร มีค่าผลต่างอุณหภูมิ 61 องศาเซลเซียส มีค่าสัมประสิทธิ์การนำความร้อน เท่ากับ 0.475 วัตต์ต่อเมตรเคลวิน และมีค่าสัมประสิทธิ์การดูดชับเสียงได้เท่ากับ 0.134 เงื่อนไขที่มีการส่งผ่านอุณหภูมิได้ดีที่สุด มีผลต่างอุณหภูมิน้อยที่สุดคือ เงื่อนไขที่มีส่วนผสมของใบผักตบชวาขนาด 5 มิลลิเมตร ร้อยละ 50 มีผลต่างอุณหภูมิเท่ากับ 66.6 องศาเซลเชียส มีค่าสัมประสิทธิ์การนำความร้อน เท่ากับ 0.434 วัตต์ต่อเมตรเคลวิน มีค่าความหนาแน่น1441.61 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และมีค่าสัมประสิทธิ์การดูดชับเสียงได้ 0.169 เงื่อนไขที่มีสมบัติเป็นฉนวนกันความร้อนได้ดีที่สุด มีค่าสัมประสิทธิ์การนำความร้อนได้ต่ำที่สุดคือ เงื่อนไขที่มีส่วนผสมของใบผักตบชวาขนาด 5 มิลลิเมตร ร้อยละ 80 มีค่าสัมประสิทธิ์การนำความร้อนเท่ากับ 0.334 วัตต์ต่อเมตรเคลวิน มีค่าความหนาแน่นเท่ากับ 1276.01 กิโลกรัมต่อลูกบาศก็เมตร มีผลต่างอุณหภูมิ62.2 องศาเชลเชียส และมีการดูดชับเสียงได้ เท่ากับ 0.09 เงื่อนไขที่มีการดูดชับเสียงได้ดีที่สุดคือเงื่อนไขที่มีส่วนผสมของ โฟมพอลิสไตรีนขนาด 3 มิลสิเมตร ร้อยละ 60 มีค่าสัมประสิทธิ์การดูดชับน้ำร้อยละ 6.1 และสามารถรับแรงอัดได้ 2.3 เมกะปาสคาล เงื่อนไขที่สามารถรับแรงอัดได้มากที่สุดเงื่อนไขที่มีส่วนผสมของรากผักตบชวาขนาด 3 มิลลิเมตร ร้อยละ 80 สามารถรับแรงอัดได้ถึง 1.2 เมกะศาล มีค่าการดูดซึมน้ำน้อยกว่า 240 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร มีค่าการคายน้ำได้ร้อยละ 37.47มีค่าความหนาแน่น น้อยกว่า 1680 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งผ่านมาตรฐาน มอก.57-2530 อยู่ในอิฐชนิดรับน้ำหนักชนิด ก และมีค่าผลต่างของอุณหภูมิ 633 องศาเซลเชียส มีค่าสัมประสิทธิ์การนำความร้อน 0.487 วัตต์ต่อเมตรเคลวิน และมีค่าสัมประสิทธิ์การดูดชับเสียงเท่ากับ 0.127 เงื่อนไขที่มีค่าการดูดซึมน้ำน้อยที่สุดคือ เงื่อนไขที่มีส่วนผสมของใบผักตบชวาขนาด 3 มิลลิเมตร ร้อยละ 80 มีค่าการดูดซึมน้ำ ร้อยละ 0.168 มีค่าน้อยกว่า 240 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร มีค่าการคายน้ำได้ร้อยละ 36.6 มีความหนาแน่น 1182.59 กิโลกรัมต่อลูกบาศก็เมตร สามารถรับแรงอัดได้ 6.75 เมกะปาสคาล มีค่าผลต่างอุณหภูมิเท่ากับ 62.1 องศาเซลเซียส มีค่าสัมประสิทธิ์การนำความร้อน 0.49วัตต์ต่อเมตรเคลวิน และมีค่าสัมประสิทธิ์การดูดชับเสียงเท่ากับ 0.082 เงื่อนไขที่มีการคายน้ำได้มากที่สุดคือ เงื่อนไขที่มีส่วนผสมของผักตบชวาทั้งต้นขนาด 3 มิลลิเมตร ร้อยละ 80 สามารถคายน้ำได้ถึงร้อยละ 71.78 จากค่าการดูดซึมน้ำน้อยกว่า 240 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร มีความหนาแน่น 1472 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และสามารถรับแรงอัดได้ถึง 9.75 เมกะปาสคาล ซึ่งผ่านมาตรฐาน มอก.57-2530 อยู่ในอิฐชนิดรับน้ำหนักชนิด ก และมีค่ผลต่างอุณหภูมิ เท่ากับ 60.7 องศาเชลเชียส มีค่าสัมประสิทธิ์การนำความร้อน 0.51 วัตต์ต่อเมตรเคลวิน และมีค่าสัมประสิทธิ์การดูดซับเสียงเท่ากับ 0.078