แนวทางการสร้างเสริมความสุขในการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนในกลุ่ม มหาวิทยาลัยราชภัฏอีสานใต้ จากปัจจัยด้านบุคลิกภาพ สัมพันธภาพในครอบครัว และบรรยากาศองค์การแบบธรรมาภิบาล

บทคัดย่อ/Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความสุขในการท างาน บุคลิกภาพ สัมพันธภาพ ในครอบครัว และบรรยากาศองค์การแบบธรรมาภิบาล ของบุคลากรสายสนับสนุนในกลุ่ม มหาวิทยาลัยราชภัฏอีสานใต้ 2) ศึกษาผลกระทบของบุคลิกภาพ สัมพันธภาพในครอบครัว และ บรรยากาศองค์การแบบธรรมาภิบาล ที่มีต่อความสุขในการท างานของบุคลากรสายสนับสนุนในกลุ่ม มหาวิทยาลัยราชภัฏอีสานใต้ และ 3) เสนอแนวทางการสร้างเสริมความสุขในการท างานของบุคลากร สายสนับสนุนในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏอีสานใต้ จากปัจจัยด้านบุคลิกภาพ สัมพันธภาพใน ครอบครัว และบรรยากาศองค์การแบบธรรมาภิบาล

ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้ในการศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบผสม ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้เป็นบุคลากรสายสนับสนุนในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏอีสานใต้ จำนวน 2,264 คน คำนวณจำนวนตัวอย่างจากสูตรของ Taro Yamane ได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 340 คน และใช้วิธีการสุ่มเชิงช่วงชั้นอย่างมีสัดส่วน ท าการแจกแบบสอบถามไปยังกลุ่มตัวอย่างและได้รับแบบสอบถามที่มีความสมบูรณ์กลับคืนจำนวน 326 ชุด คิดเป็นร้อยละ 95.88 จากจำนวนกลุ่มตัวอย่าง ในขณะที่การวิจัยเชิงคุณภาพผู้วิจัยทำการสัมภาษณ์เชิงลึกบุคลากรสายสนับสนุนในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏอีสานใต้ จำนวน 18 คน เพื่อเป็นการหาคำอธิบายสำหรับข้อค้นพบจากการวิจัยเชิงปริมาณ

ผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่า บุคลากรสายสนับสนุนมีความสุขในการท างาน บุคลิกภาพ และ สัมพันธภาพในครอบครัวอยู่ในระดับมากที่สุด ในขณะที่มีความคิดเห็นต่อบรรยากาศองค์การ แบบธรรมาภิบาลอยู่ในระดับมาก ผลการวิจัยยังพบว่า ปัจจัยที่มีผลกระทบเชิงบวกต่อความสุข ในการท างานของบุคลากรสายสนับสนุนในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏอีสานใต้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ประกอบด้วย 1) กลุ่มปัจจัยบุคลิกภาพ ได้แก่ บุคลิกภาพแบบเปิดเผย บุคลิกภาพแบบ มีความรับผิดชอบ และบุคลิกภาพแบบมีความมั่งคงทางอารมณ์ และ 2) กลุ่มปัจจัยบรรยากาศองค์การแบบธรรมาภิบาล ได้แก่ โครงสร้างตามหลักธรรมาภิบาล มาตรฐานตามหลักธรรมาภิบาลและการสนับสนุนตามหลักธรรมาภิบาล นอกจากนี้ ยังพบว่า ความผูกพันตามหลักธรรมาภิบาล ซึ่งอยู่ในกลุ่มปัจจัยบรรยากาศองค์การแบบธรรมาภิบาล มีผลกระทบเชิงลบต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยผลการวิจัยเชิงปริมาณมีความสอดคล้องกับผลการวิจัยเชิงคุณภาพ

โดยในท้ายที่สุด ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการสร้างเสริมความสุขในการท างานของบุคลากร สายสนับสนุนในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏอีสานใต้ จากปัจจัยด้านบุคลิกภาพ และบรรยากาศองค์การ แบบธรรมาภิบาล ประกอบด้วย 1) การจัดกิจกรรมสานสัมพันธ์ 2) การฝึกอบรมเพื่อพัฒนางาน 3) การพัฒนาความก้าวหน้าในอาชีพ 4) การสร้างความเข้าใจร่วมกันในการท างาน 5) การสังเกต พฤติกรรมและตักเตือนกันเป็นการส่วนตัว 6) การเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์และรู้จักควบคุมอารมณ์ ตนเอง 7) การจัดโครงสร้างการทำงานให้บุคลากรมีหน้าที่ความรับผิดชอบชัดเจนตามกฎระเบียบของ มหาวิทยาลัย 8) การเพิ่มช่องทางการติดต่อสื่อสารกับผู้บริหาร 9) การปรับปรุงหรือพัฒนาเกณฑ์ชี้วัด ภาระงานของบุคลากรสายสนับสนุน 10) การพิจารณาจัดสรรงบประมาณวัสดุอุปกรณ์และกำลังคน อย่างสมเหตุสมผล 11) การลดระบบอุปถัมภ์ในที่ทำงาน และ 12) การแก้ปัญหาที่ก่อให้เกิดความ พอใจทุกฝ่ายโดยไม่ขัดต่อกฎระเบียบในการปฏิบัติงาน

The objectives of this research were 1) to explain the level of happiness at work, personality, relationship in family and good governance organizational climate of supporting staff in South Northeast Rajabhat Universities, 2) to study the effects of personality, relationship in family and good governance organizational climate on happiness at work of supporting staff in South Northeast Rajabhat Universities and 3) to offer the guidelines to promote happiness at work of supporting staff in South Northeast Rajabhat Universities from factors of personality, relationship in family and good governance organizational climate.

Research methodology was the mixed methods research between quantitative and qualitative methods. In quantitative research method, the population was 2,264 of the supporting staff in South Northeast Rajabhat Universities. The sample was 340 of the supporting staff, calculated by Taro Yamane formula, and randomized by using the proportional stratified random sampling technique. The questionnaires were sent to the sample, and they returned 326 completed questionnaires which equaled 95.88 percent of the sample. In qualitative research method, the researchers conducted the in-depth interview with 18 supporting staff in South Northeast Rajabhat Universities to explain the quantitative findings.

The quantitative research findings revealed that the mean of happiness at work, personality, relationship in family of the sample in overall was at the highest level whereas the mean of good governance organizational climate was at the high level. The research findings also discovered that the factors that significantly positive affected to the supporting staff’s happiness at work in South Northeast Rajabhat Universities were: 1) personality factor group consisted of extraversion, conscientiousness and emotional stability and 2) good governance organizational climate factor group consisted of structure based on good governance, standards based on good governance and support based on good governance. Moreover, commitment based on good governance which was in the good governance organizational climate factor group had a negative effect to supporting staff’s happiness at work significantly.

Finally, the research found that the guidelines to promote happiness at work of supporting staff in South Northeast Rajabhat Universities from factors of personality and good governance organizational climate were: 1) to organize participation activities, 2) to promote job training, 3) to develop career path, 4) to make work’s understanding among staff, 5) to observe coworker’s behavior and give advices in private, 6) to understand human’s nature and know how to control emotions, 7) to organize staff’s work structure to have clear responsibility based on university’s regulations, 8) to increase communication channels with commander, 9) to improve standards of workload indicators appropriately, 10) to consider how to allocate budgets of material and manpower rationally, 11) to decrease patronage system at workplace and 12) to solve problems based on work operation rules and all parties’ acceptation.