การพัฒนาวิถีชีวิตชุมชน: บูรณาการหลักพุทธธรรมในการขับเคลื่อนปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนดงฟ้าห่วน จังหวัดอุบลราชธานี

บทคัดย่อ/Abstract

การวิจัยเรื่องการพัฒนาวิถีชีวิตชุมชน: บูรณาการหลักพุทธธรรมในการขับเคลื่อนปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนดงฟ้าห่วน จังหวัดอุบลราชธานี วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษา สภาพปัญหาทางเศรษฐกิจ ลักษณะความเชื่อและการปฏิบัติของประชาชน เพื่อศึกษาระดับการนำ หลักพุทธธรรมใช้ในการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และเพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาและการ นำหลักพุทธธรรมไปปฏิบัติในการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนในเขตพื้นที่ชุมชน ดงฟ้าห่วน จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพคือ ผู้นำชุมชน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบจงใจ (Purposive Sampling) จากผู้นำชุมชนในเขตชุมชนดงฟ้าห่วน จำนวน 19 คนกลุ่มตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณคือ ประชาชนในเขตพื้นที่ชุมชนดงฟ้าห่วน จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 362 คน ได้กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยการใช้วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) เริ่มจากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตารางสำเร็จรูปของเกรจซี่ (Krejcie) และมอร์แกน (Morgan) จากนั้นนำไปเทียบสัดส่วนจากแต่ละกลุ่ม แจกแบบสอบถามด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random)

ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาทางเศรษฐกิจ ลักษณะความเชื่อและการปฏิบัติของ ประชาชนในเขตพื้นที่ชุมชนดงฟ้าห่วน จังหวัดอุบลราชธานี พบว่า สภาพปัญหาทางเศรษฐกิจ พบว่า ส่วนใหญ่มีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย บางส่วนมีหนี้สิน และค่าครองชีพก็สูง สาเหตุของการเกิด ปัญหาทางเศรษฐกิจฝืดเคือง การขาดสภาพคล่อง ลักษณะความเชื่อของประชาชน ส่วนใหญ่มีการนับ ถือและเชื่อเรื่องผีปู่ตาว่าคอยช่วยปกป้องภัยอันตรายต่างๆ และการปฏิบัติตามความเชื่อตามหลักค า สอนทางพระพุทธศาสนา ปฏิบัติตามหลักทางสายกลาง 2) ระดับการน าใช้ในการขับเคลื่อนปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง ของประชาชนในเขตพื้นที่ชุมชนดงฟ้าห่วน จังหวัดอุบลราชธานี พบว่า หลักพุทธ ธรรมระดับพื้นฐาน ได้แก่ ด้านกายภาวนาและด้านศีลภาวนา ระดับกลาง ได้แก่ ด้านจิตภาวนา และ ระดับสูง ได้แก่ ด้านปัญญาภาวนา 3) วิเคราะห์สภาพปัญหาและการนำหลักพุทธธรรมไปปฏิบัติใน การขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนในเขตพื้นที่ชุมชนดงฟ้าห่วน จังหวัด อุบลราชธานี พบว่า โดยส่วนรวมมีปัญหาอยู่ในระดับน้อย ข้อที่มีปัญหาอันดับแรกคือ การนำหลักสัปปุริสธรรมในข้อเป็นผู้รู้จักชุมชน (ปริสัญญูตา) ไปประยุกต์ใช้กับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงรองลงมาคือ การนำหลักสัปปุริสธรรมในข้อเป็นผู้รู้จักบุคคล (ปุคคลัญญูตา) ไปประยุกต์ใช้กับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการน าหลักสัปปุริสธรรมในข้อเป็นผู้รู้จักกาล (กาลัญญูตา) ไปประยุกต์ใช้กับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามลำดับ

The research title is “Developing a way of life in the community: Integrating Buddhist Principles to Actuate the Sufficiency Economy Philosophy in Dong FhaHuan Community, Ubon Ratchathani Province”. The objectives of this research are to study the state of economic problems and characteristics beliefs and practices of the people, to study the levels of applying Buddhism principles to drive the sufficiency economy philosophy and to analyze the problem situation and the application of Buddhist principles in driving the sufficiency economy philosophy of people in the Dong Fah Huan area, Ubon Ratchathani Province. The sample for qualitative research was community leaders. It was obtained through deliberate selection methods (Purposive sampling) from total 19 community leaders in Dong Fah Huan community. The sample group for the quantitative research was 362 people in the Dong Fah Huan community area Ubon Ratchathani Province. It was determined the sample size by using the stratified random sampling method. It was starting with the sample size from the ready-made tables of Gravy (Krejcie) and Morgan. Then compare the proportions from each group Distribute questionnaires by simple random method (Simple Random).

The results of the research were as follows: 1) economic problems, characteristics of beliefs and practices of people in the Dong Fah Huan Community Area Ubon Ratchathani Province were found that economic problems were found that most of them had insufficient income for their expenditures. Some have liabilities and the cost of living. The high causes of economic problems are lack of liquidity. The beliefs of the people are the most of them have respect and believe in the spirit of grandfathers that helps protect various dangers and practicing the middle way of Buddhist teachings. 2) The level of using in driving the sufficiency economy philosophy of the people in the Dong Fah Huan community area in Ubon Ratchathani Province. it was found that basic Buddhist principles were: the physical development and moral development are in the middle level; mental and wisdom development is the advanced level. 3) Analyze the problems and the application of Buddhist principles in driving the sufficiency economy philosophy of people in the Dong Fah Huan Community Area. Ubon Ratchathani Province found that the overall problem was at a low level. The first problematic item is applying the principle of Sappurisadhamma: knowing the community (Prisanyuta) for applying to the philosophy of sufficiency economy, next knowing person (Pukalanyuta) for the sufficiency economy philosophy and the last, knowing time (Kanlanyuta) for the sufficiency economy philosophy, respectively