ผลของการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ต่อการชะลอการเสื่อมของไต ตำบลหนองขอน จังหวัดอุบลราชธานี
บทคัดย่อ/Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลองชนิดแบบแผนการวิจัยกลุ่มเดียววัดก่อนและหลัง การทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่อการชะลอ การเสื่อมของไต ตำบลหนองขอน จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดัน โลหิตสูง และโรคไตเรื้อรังระยะที่ 1 - 3 ที่มารับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบล หนองขอน จำนวน 110 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1) เครื่องมือที่ใช้ใน การเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบประเมินความรู้ในการ ป้องกันและชะลอการเสื่อมของไต 2) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองประกอบด้วยคู่มือการดูแลตนเองใน การป้องกันการชะลอการเสื่อมของไต แบบบันทึกภาวะสุขภาพ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ pair – t test และ Wilcoxon matched-pairs signed ranks test
ผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างมีการชะลอการเสื่อมของไตลงได้ โดยมีค่าเฉลี่ยของ GFR หลังการทดลอง (M = 65.75, SD = 23.53) สูงกว่าก่อนการทดลอง (M = 64.46, SD = 23.52) (2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้ในการป้องกันและชะลอการเสื่อมของไตหลังให้ความรู้ (M = 16.55, SD = 2.33) สูงกว่าก่อนให้ความรู้ (M = 14.23, SD = 2.8) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (t = - 12.47) (3) ผลการตรวจ BUN หลังการทดลองน้อยกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .001 (Z = -7.76, p < .001) และ (4) ผลการตรวจ Creatinine หลังการทดลอง น้อยกว่าก่อน การทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (Z = -4.27, p < .001) ผลการศึกษาสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการป้องกันและชะลอการเสื่อมของไต และนำรูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังอื่นๆ อีกต่อไป เพื่อลดภาวะแทรกซ้อน และความรุนแรงของโรคลงได้
This study used quasi-experimental research design, the one group pretestposttest to examine the effect of chronic care model for slow progression of kidney in Tumbon Nongkhon Amphoe Meuang Ubonratchathani Province. The sample were 110 chronic disease patients, consist of DM, HT and CKD stage 1 – 3. Who came to receive treatment at Nongkhon subdistrict primary health care unit, Ubonratchathani province. The instruments consisted of 2 part, 1) Data collection included of the personal data record form, and knowledge evaluation questionnaire 2) self-care handbook and health record form. The statistics applied for analyzing data are frequency, percentage, mean, standard deviation, pair t-test and Wilcoxon matched-pairs signed ranks test.
The result of this study found that, The subjects significantly slow progression of kidney, had increasing of GFR and knowledgeable at the level of .01., the decrease of level of BUN and Creatinine after using the chronic care model at the level of .001.
It is recommended that the chronic care model should be future used as guidance for prevent and slow progression of kidney disease, Furthermore, applying the model for other chronic diseases for decrease co morbidity and severity of disease is also suggested.