การพัฒนารหัสคิวอาร์ต้นแบบตามปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการยอมรับระบบชำระเงินด้วยรหัสคิวอาร์ ในแขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
บทคัดย่อ/Abstract
ในปัจจุบันระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจและสังคมมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะระบบชำระเงินด้วยรหัสคิวอาร์ ที่เปลี่ยนให้ประเทศขนาดใหญ่อย่างจีนให้กลายเป็นสังคมไร้เงินสดได้ การใช้งานระบบชำระเงินด้วยรหัสคิวอาร์เป็นสิ่งที่ง่าย เพียงแค่ใช้สมาร์ทโฟนในการอ่านรหัสคิวอาร์ก็สามารถส่งหรือรับเงินได้แล้ว ที่สำคัญมีข้อดีหลายอย่าง เช่น เพิ่มความปลอดภัย การประหยัดค่าใช้จ่ายในการดูแลเงินสด ตรวจสอบการโอนรับได้ง่าย เป็นต้น ซึ่งหลาย ๆ ประเทศเริ่มมีการใช้ระบบชำระเงินด้วยรหัสคิวอาร์มากยิ่งขึ้น แต่ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวนั้นยังไม่มีการใช้งานระบบการชำระเงินด้วยรหัสคิวอาร์อย่างแพร่หลายนัก ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงต้องการพัฒนาต้นแบบรหัสคิวอาร์ โดยอ้างอิงจากปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการใช้งานระบบชำระเงินด้วยรหัสคิวอาร์ที่ได้จากการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างใน แขวงจำปาสัก ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยประยุกต์จากทฤษฎี UTAUT2, TAM, TRA, Perceived Risk โดยทำการเก็บข้อมูลจาก กลุ่มตัวอย่าง 411 คน ผลที่ได้พบว่า การรับรู้ถึงประโยชน์ และแรงจูงใจจากบุคคลรอบข้างเป็นเพียง 2 ตัวแปรที่มีผลกระทบต่อความตั้งใจในการใช้งานระบบชำระเงินด้วยรหัสคิวอาร์ งานวิจัยนี้ได้สร้างต้นแบบรหัสคิวอาร์ที่จากข้อมูลดังกล่าวพร้อมทั้งได้สร้างข้อเสนอแนะสำหรับผู้ต้องการพัฒนาให้เกิดการใช้งานระบบชำระเงินด้วยรหัสคิวอาร์ต่อไป
In recent years, E-payment system plays an important role in economic and societies. Especially the QR code payment system which transformed the giant country like China to become a cashless society. The QR code payment system is easy to use. The users just use their smartphone to read the QR code. They could start to transfer or receive money immediately. There are many advantages when using the QR code payment system such as the increase of security, saving budget on the maintenance of cash, users can easily verify the transaction. Hence, a lot of countries try to transform themselves into QR code payment system. However, the Lao People's Democratic Republic still don’t have the widespread use and acceptance of QR code payment system. Therefore, the objective of this study is to develop prototypes of QR code payment by using the results from the factor analysis from Champasak district, Lao People's Democratic Republic. The research model adapted from UTAUT2, TAM, TRA, Perceived Risk. There were 411 participants in the survey. The results showed that perceived usefulness and subjective norms are the 2 variables that affected with the intention to use QR code payment system. This study proposed new prototypes and create suggestions for the developer who need to deploy the QR code payment system.