วิเคราะห์สถานการณ์ผู้ดูแลผู้สูงอายุ ในจังหวัดอุบลราชธานี
บทคัดย่อ/Abstract
การวิจัยผสมผสานแบบขั้นตอนเชิงอธิบายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ผู้ดูแล ผู้สูงอายุ ศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุ และแนวทางการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแลผู้สูงอายุจำนวน 384 คน อาศัยอยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือน พฤศจิกายน ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถาม ข้อมูลทั่วไปและสถานการณ์ผู้ดูแลผู้สูงอายุ 2) แบบสอบถามความคิดเห็นศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุ และ 3) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเกี่ยวกับสถานการณ์การดูแลผู้สูงอายุ ศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุ และ แนวทางพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุ เครื่องมือทั้ง 3 ส่วนมีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อ ค าถามและวัตถุประสงค์เท่ากับ 1.00 ส่วนแบบสอบถามความคิดเห็นศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุ มีค่า ความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ .88 วิเคราะห์ข้อมูลข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิง พรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1) สถานการณ์ผู้ดูแลผู้สูงอายุและศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุ ผู้ดูแลส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 85.70 อายุเฉลี่ย 49.42 ปี นับถือศาสนาทั้งหมด จบระดับประถมศึกษาร้อยละ 54.40 สถานภาพ สมรสคู่ ร้อยละ 74.20 ผู้ดูแลส่วนใหญ่เป็นบุตร ร้อยละ 59.11 อาชีพเกษตรกรรมร้อยละ 64.30 ค่ามัธยฐานรายได้ต่อเดือน 3,000 บาท ซึ่งรายได้ที่ไม่เพียงพอและมีหนี้สิน ร้อยละ 42.20 เคยได้รับ ความรู้ ทักษะ หรือประสบการณ์เกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุ ร้อยละ 51.10 ระยะเวลาเฉลี่ยในการดูแล ผู้สูงอายุ 11.64 ปี มีผู้ช่วยเหลือในการดูแลผู้สูงอายุ ร้อยละ 69.00 ให้การดูแลผู้สูงอายุเฉลี่ย 13.02 ชั่วโมง/วัน โรคประจ าตัวที่พบบ่อย คือ โรคความดันโลหิตและโรคเบาหวาน ร้อยละ 36.93 และ 24.90 ตามล าดับ ปัญหาสุขภาพที่พบ ได้แก่ อาการปวดหลัง/ปวดเอว/ปวดขา ร้อยละ 45.89 รองลงมาได้แก่ เหนื่อยล้าทางกายร้อยละ 25.44 ส่วนผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 54.90 อายุเฉลี่ย 74.33 ปี นับถือศาสนาพุทธทั้งหมด จบระดับประถมศึกษาร้อยละ 87.80 สถานภาพสมรส คู่ ร้อยละ 52.60 ไม่ได้ประกอบอาชีพ ร้อยละ 57.30 ค่ามัธยฐานรายได้ต่อเดือนเท่ากับ 1,000 บาท โรคประจำตัวที่พบบ่อย ได้แก่ ความดันโลหิตสูง ร้อยละ 35.4 และเบาหวานร้อยละ 19.96 ส่วนใหญ่ ปฏิบัติกิจกรรมได้ด้วยตนเองทั้งหมด ร้อยละ 47.70 ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยของผู้สูงอายุ ได้แก่ อาการปวดหลัง/ปวดเอว ร้อยละ 16.27 และปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ร้อยละ 14.78
ศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x= 4.28, S.D. = .63) โดยศักยภาพ ผู้ดูแลผู้สูงอายุทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน เรียงล าดับจากมากไปน้อย คือ ด้านการจัดการด้าน จิตวิญญาณ ( x= 4.37, S.D. = .74) รองลงมาได้แก่ ด้านการจัดการด้านร่างกาย ( x = 4.35, S.D. = .64) ด้านการจัดการด้านจิตใจและอารมณ์ ( x = 4.22, S.D. = .72) และด้านการจัดการด้านสังคม ( x = 4.19, S.D. = .78)
2) แนวทางการดูแลผู้สูงอายุและแนวทางการการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุ ได้แก่ 1) การ พัฒนาความรู้ของผู้ดูแล โดยการอบรมให้ความรู้จากบุคลากรด้านสุขภาพ การเรียนรู้ด้วยตนเองจาก สื่อต่างๆ จากการสังเกต การแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้ดูแลคนอื่น และการฝึกปฏิบัติจนเกิดทักษะ และความชำนาญในการดูแลผู้สูงอายุ ได้แก่ การเคลื่อนย้ายพลิกตะแคงตัว การดูแลเรื่องการขับถ่าย การรับประทานอาหาร การดูแลบาดแผลและแผลกดทับ การออกกำลังกายและกายภาพบำบัด การ จัดการเกี่ยวกับนอนหลับ การจัดการด้านจิตใจและอารมณ์ การฝึกความจำ และการดูแลผู้สูงอายุที่มี อุปกรณ์การแพทย์ติดตัว เช่น การให้อาหารทางสายยาง การสวนคาปัสสาวะ การล้างไตทางช่องท้อง และการดูแลผู้สูงอายุที่มีลำไส้เปิดทางหน้าท้อง 2) การสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐ ได้แก่ การ สนับสนุนงบประมาณ อุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการดูแลผู้สูงอายุ การมีศูนย์ดูแลผู้สูงอายุประจำตำบล การมีผู้ช่วยเหลือในการดูแลผู้สูงอายุจากคนในครอบครัวหรือเจ้าหน้าที่ซึ่งผ่านการอบรมการดูแล ผู้สูงอายุ การการติดตามเยี่ยมบ้าน โดยบุคลากรสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ และ 3) การมีงานทำของ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการ ประสานความร่วมมือ เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุ ที่จ าเป็นสำหรับการพัฒนาระบบการดูแล ระยะยาวสำหรับผู้ดูแลและผู้สูงอายุ
This mix method study, explanatory sequential design, was applied to study situational analysis of elderly’s caregivers, the potential of elderly’s caregivers and the ways to develop the potential of elderly’ s caregivers. Participants were 384 caregivers of elderly who had been living in Ubon Ratchathani Province, Thailand. Data collection was conducted between August and December 2019. Research instruments divided into three parts consisting of the personal characteristics and situation of elderly’ s caregiver questionnaire, the potential of elderly’ s caregiver questionnaire and the semi-structure questions. Three parts of questionnaire were tested for content validity by using Indexes of Item-Objective Congruence (IOC) that were 1.00. The potential of elderly’s caregiver questionnaire was tested for reliability by using Cronbach’s alpha coefficient that was 0.88. Both descriptive statistic and content analysis were used for quantitative and qualitative analysis. The research results revealed as follows.
1) The situation of elderly’s caregivers revealed that the majority of caregivers was female (85.70% ) with a mean age of 49.42 years, Buddhism (100% ), primary education (54.40%), married (74.20%), daughter/son (59.11%), farmers (64.30%), salary 3,000 bath/ month, money not enough for spending and having debts (42.20% ), having knowledge, skill and experience to care elderly people ( 51. 10% ) , having assistant (69.00% ), the length time of care 11.64 years and the timing of care 13.02 hours/ day. Hypertension and diabetes mellitus were the common illness of caregivers (36.93% and 24.90% respectively). The common physical health problems of caregivers were back pain/ leg pain and fatigue with 45. 89 and 25. 44 percent respectively. Meanwhile, the majority of elderly people was female (54.90% ) with a mean age of 74.33 years, Buddhism (100% ), unemployed (57.30% ), salary 1,000 bath/ month and normal activity daily living (47.70% ). Hypertension and diabetes mellitus were the common illness of elderly people ( 35. 40% and 19. 96% respectively). The common physical health problems of elderly people were back pain and malaise with 16.27 and 14.78 percent respectively.
The overall potential of elderly’s caregiver score was at the highest level
( x= 4.28, S.D. = .63). Similarly, the scoring of all dimensions were at the highest level listed from highest to lowest score: (1) the potential of spiritual management ( x= 4.37, S.D. = .74). (2) the potential of physical management ( x= 4.35, S.D. = .64). (3) the potential of psychological management ( x= 4.22, S.D. = .72) and (4) the potential of social management ( x= 4.19, S.D. = .78).
2) There were three ways to develop care for elderly people and the Potential
of elderly’ s caregivers including: ( 1) Promoting knowledge of caregivers included training from health care provider, self-learning from the medias, observation, sharing with other caregivers and practice consisting of transferring elderly people, bowel and bladder management, nutritional management, wound care, rehabilitation, sleep management, psychological management, cognitive training, caring for elderly people with medical instruments for example nasogastric feeding, retained Foley’s catheter, Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis (CAPD) and colostomy care. (2) Supporting from the government included budget, equipment, elderly care center, caregivers and home visit and (3) being employed of elderly’s caregivers. The research results of the study can be used for the related organizations in order to develop the potential of elderly’ s caregivers and long term care for elderly people and their caregivers.