การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตฆ้อง 9 จูมด้วยเครื่องมือทางวิศวกรรมอุตสาหการกรณีศึกษา ถิ่นฐานทำฆ้องบ้านคอนสาย จังหวัดอุบลราชธานี
บทคัดย่อ/Abstract
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตฆ้อง 9 จูม จาก แผนภูมิ กระบวนการไหล (Flow Process Chart) เวลาที่ใช้ในแต่ละขั้นตอนกับระยะทางที่ใช้ในการเคลื่อนที่ พบว่ากระบวนการผลิตฆ้องมีทั้งหมด 15 ขั้นตอน นํามาสู่แผนผังสาเหตุและผล (Fish Bone Diagram) แสดงความสัมพันธ์ระหว่างปัญหากับสาเหตุทั้งหมดที่เป็นไปได้รวมไปถึงวิเคราะห์ความสูญ เปล่า (7 wastes) พบว่ามีปัญหาจากขั้นตอนการทํางานมากเกินไป วิธีการทํางานซับซ้อน และเวลาที่ ใช้ในการตัดขอบฆ้องมากเกินไป ผู้ศึกษาใช้เทคนิคการปรับปรุงงาน (ECRS) มาประยุกต์ใช้ออกแบบ วิธีการแก้ไขคือ ขั้นตอนการวัดขนาดเส้นรอบวงของแผ่นเหล็กส่วนหน้า เป็นขั้นตอนที่มีการทํางาน มากเกินไป ใช้หลักการปรับปรุงงานให้ง่ายขึ้น (Simplify) นําสูตรทางคณิตศาสตร์มาใช้คํานวณหา ความยาวรอบรูป แล้วจัดทําเป็นแผ่นป้ายมาตรฐานกําหนดความยาวเส้นรอบวงกลมของฆ้องแต่ละ ขนาดตามลําดับ พบว่ามีประสิทธิภาพในการทํางานเพิ่มขึ้น 100%ส่วนขั้นตอนการวัดขนาดแผ่น เหล็กส่วนขอบฆ้อง เป็นวิธีการทํางานซับซ้อน ใช้หลักการรวมขั้นงานหลายๆส่วนเข้าด้วยกัน (Combine) ตีเส้นกําหนดแถบสีขนาดขอบฆ้องแต่ละขนาดให้เท่ากับขนาดแผ่นเหล็กมาตรฐาน เพื่อใช้ เป็นแนวในการตีเส้นความกว้างของขอบฆ้อง สามารถลดรอบเวลาในการทํางานได้ 57.68%และ ขั้นตอนการตัดแผ่นเหล็กส่วนขอบฆ้อง เป็นขั้นตอนที่ใช้ทั้งเวลาและการเคลื่อนไหวในการตัดขอบฆ้อง มากเกินไป ปรับปรุงโดยใช้หลักการทํางานให้ง่ายขึ้น สร้างอุปกรณ์เข้ามาช่วยในการทํางาน หลังจาก การปรับปรุงแก้ไข สามารถลดรอบเวลาในการทํางานลงได้ 48.42%จากการปรับปรุงวิธีการทํางาน ทั้ง 3 ขั้นตอนในกระบวนการผลิตสามารถลดความสูญเปล่าและเพิ่มประสิทธิภาพในการทํางานจาก เดิมคิดเป็น 41.46%
The study aims to increase the efficiencyof the production process of a 9 Joom Gong. The Flow Process Chart shows the duration and distance of each activity. The gong process has 1 5 activities and the Fish Bone Diagram shows the relationship between the problem and all possible causes, Including wastes analysis (7 wastes). We found that there were too many problems with the process. It was too complicated and time consuming to cut the gong. The team used the technique to improve the work (ECRS) to design solutions. It is a process of measuring the circumference of the face plate. It's a step with too much work so we simplified the workflow. We used mathematical formulas to calculate the length of the circle. Then, a standard plate was defined to determine the girth length of each gong, respectively. This study found that the efficiency of work increased by 100%. Part of the process of measuring the size of the steel bar was a complicated way to work. Apply the principle of multiple parts together (Combine). We set the color bar size of each gong size to the standard steel plate size. In order to use it as a guideline to draw the edge of the gong. It reduced our work time by 57.68%. The cutting edge steel plate was a step that used both time and movement to cut too many gong edges. It was improved by using simpler working principle (Simplify). We created the device to help in the work. After modification it reduced the work time by 48.42%. By improving the 3-steps process in the production, waste could be reduced and productivity increased by 41.46%