การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะมูลฝอยอย่างเหมาะสมของจังหวัดอุบลราชธานี กรณีศึกษา: พื้นที่เทศบาลตระการพืชผลอำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี
บทคัดย่อ/Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณขยะมูลฝอยและประเภทของขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้น ความรู้ในการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชน และความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางการจัดการ ขยะมูลฝอยอย่างมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการหาแนวทางการบริหารจัดการ ขยะมูลฝอยอย่างยั่งยืน ดำเนินการในกลุ่มตัวอย่างคือ ตัวแทนเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบรถเก็บขนขยะ 5 คน ผู้นำชุมชน 9 คน และตัวแทนของครัวเรือน 350 ครัวเรือน ผลการศึกษา พบว่า ปริมาณขยะโดย เฉลี่ย 2.06 ตันต่อวัน โดยประเภทของขยะมูลฝอยได้แก่ ขยะย่อยสลายได้ ขยะทั่วไป ขยะรีไซเคิล และขยะอันตราย ตามลำดับ ความรู้ความเข้าใจของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนด้วย หลัก 3Rs พบว่า ประชาชน ผู้นำชุมชน และเจ้าหน้าที่เทศบาล พบว่า มีความรู้ความเข้าใจอยู่ใน ระดับสูง ปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนในเทศบาลตำบลตระการพืชผล คือ ไม่มีการคัดแยก ประเภทขยะมูลฝอย ส่วน แนวทางการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน คือ ให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยก ขยะโดยใช้หลัก 3Rs
The purpose of this research were to study the amount and type of solid waste, problem and guideline and knowledge and understanding of solid waste management by 3Rs principles. The sample are citizens, community leaders and public officers. The result shown that the solid waste was 2.06 ton/day and type of solid waste were biodegradable waste, general waste, recyclable waste and hazardous waste respectively. The citizens, community leaders and public officers has a high level of the knowledge and understanding of solid waste management by 3Rs principles. Problem of solid waste management were citizens did not know how to separate waste. The suitable guideline of solid waste management the municipality should public relations on various media about 3Rs.