องค์ประกอบของการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในจังหวัดอุบลราชธานี

บทคัดย่อ/Abstract

การวิจัยผสมผสานแบบขั้นตอนเชิงอธิบายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การส่งเสริม สุขภาพผู้สูงอายุในจังหวัดอุบลราชธานี และวิเคราะห์องค์ประกอบของการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุใน จังหวัดอุบลราชธานี ข้อมูลเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการดำเนินการสนทนากลุ่ม เพื่อ รวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลัก ข้อมูลเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุจำนวน 500 คน อาศัย อยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี สุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยใช้หลักความน่าจะเป็น คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตาม คุณสมบัติที่กำหนด การเก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2563 - 30 กันยายน 2563 เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 6 ส่วน ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้สูงอายุ 2) แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ผลการหาความเที่ยงจากสูตรของคูเดอร์ และริชาร์ดสัน (KR-20) ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81 3) แบบสอบถามทัศนคติต่อการส่งเสริม สุขภาพของผู้สูงอายุ 4) แบบสอบถามการรับรู้ต่อการส่งเสริมสุขภาพ 5) แบบสอบถามสิ่งแวดล้อม และปัจจัยเอื้อในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 6) และแบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมเพื่อการ ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ เครื่องมือในส่วนที่ 3, 4, 5, และ 6 มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อ คำถามและวัตถุประสงค์เท่ากับ 1.0 และมีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ .83, .80, .85, และ 0.81 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อย ละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์ ค่าสถิติของบาร์ทเลทท์ การใช้สถิติของไคเซอร์-ไมเยอร์-โอลคิน (KMO) และวิเคราะห์องค์ประกอบการส่งเสริมสุขภาพ ผู้สูงอายุในจังหวัดอุบลราชธานี โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป Mplus 7.3 ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการ วิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง พบว่า การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ มี 5 องค์ประกอบ เรียงลำดับตามค่าน้ำหนักองค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบด้านการรับรู้ต่อการส่งเสริม สุขภาพ องค์ประกอบด้านสิ่งแวดล้อมและปัจจัยเอื้อในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ องค์ประกอบด้าน ทัศนคติต่อการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ องค์ประกอบด้านการสนับสนุนทางสังคมเพื่อการส่งเสริม สุขภาพผู้สูงอายุ และองค์ประกอบด้านความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ มีค่าน้ำหนัก องค์ประกอบเท่ากับ 0.94, 0.74, 0.65, 0.36 และ 0.33 การตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดล (Goodness of Fit Measures) ของการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสองการ ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ พบว่า ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนระหว่างโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ได้ค่า χ 2 =121.852, df = 99, P-value =0.0594, χ 2/ df = 1.231, CFI = 0.993, TLI = 0.987, RMSEA = 0.021, WRMR =0.570 เมื่อพิจารณาค่าดัชนีความกลมกลืนของโมเดล พบว่าโมเดลสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยมีค่าดัชนีความกลมกลืนทั้ง 6 ดัชนีที่ผ่านเกณฑ์การยอมรับ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า โมเดลการวิจัยสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดีนี้ชี้ให้เห็นว่าองค์ประกอบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุประกอบที่

โดยสรุป ผลการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่าองค์ประกอบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุประกอบที่มีความสำคัญทั้ง 5 องค์ประกอบ หน่วยงานที่ให้การดูแลผู้สูงอายุจึงควรมีการวางแผนระบบและวิธีการดำเนินงานเพื่อการส่งเสริมสุขภาพให้แก่ผู้สูงอายุ โดยคำนึงถึงองค์ประกอบทั้งห้าองค์ประกอบ อันจะส่งผลต่อความสำเร็จตามเป้าหมายต่อไป