แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวหอมทุ่งของวิสาหกิจชุมชน ผู้ปลูกข้าวหอมทุ่งบ้านหัวดอน ต.หัวดอน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี
บทคัดย่อ/Abstract
โครงการวิจัยแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวหอมทุ่งของวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูก ข้าวหอมทุ่งบ้านหัวดอน ต.หัวดอน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อหาแนวทาง ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้าวหอมทุ่ง ที่เหมาะสมกับศักยภาพของสมาชิกในวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิต ข้าวหอมทุ่ง 2) เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่เป็นการเพิ่มมูลค่าของข้าวหอมทุ่ง 3) เพื่อทดสอบ การตลาดของผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่ได้ เพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์ โดยใช้แนวคิดของการวางแผน ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมเชิงคุณค่า หรือ VIPP เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่สอดคล้อง และเหมาะสมกับศักยภาพและบริบทของชุมชน โดยแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์นี้ แบ่งออกเป็น 2 ระยะหลักๆ คือ ระยะที่ 1 การวางแผนผลิตภัณฑ์ และระยะที่ 2 ระยะของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ซึ่ง ประกอบไปด้วย 7 ขั้นตอน โครงการวิจัยนี้เป็นวิจัยที่เน้นการปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของชุมชน
ผลการดำเนินงานวิจัย พบว่า แนวคิดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่จากข้าวหอมทุ่งเพื่อให้ตอบ โจทย์ผู้บริโภคในปัจจุบันที่เน้นการดูแลรักษาสุขภาพ โดยเลือกที่จะพัฒนาข้าวหอมทุ่งเป็นสินค้า ต้นแบบ คือ ข้าวอบกรอบหอมทุ่ง ประเภทซีเรียลพร้อมรับประทานรสน้ าผึ้ง และได้ทดสอบแนวคิด รวมถึงการพัฒนาสินค้าต้นแบบ ภายใต้คำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ และทดลองกระบวนการในการแปร รูปให้เป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบ โดยได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการแปรรูปอาหารในท้องถิ่น และได้ ท าการทดสอบด้านการตลาดพบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่จะตัดสินใจซื้อซีเรียลมารับประทานจะคำนึงถึง รสชาติ ราคาที่เหมาะสมกับคุณภาพ ความสะดวกในการหาซื้อ และสินค้ามีการส่งเสริมการขายจาก ช่องทางสื่อออนไลน์ต่างๆ นอกจากนี้ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชุมชนที่เห็นได้ชัดเจนคือ เกิดการ ก่อตั้งกลุ่มผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชุมชนมองเห็นศักยภาพของตนเอง จากการบูรณาการภูมิปัญญา ชาวบ้านกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เกิดการส่งเสริมของหน่วยงานในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความ ยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชนข้าวหอมทุ่ง
The research objectives are to ascertain the appropriate method of developing new product from Hom Toong rice for Hom Toong rice farmer community enterprise in Baan Huadon Khuang-Nai Distric, Ubonratchathani and to develop a prototype product in order to further produce for commercial purpose in the future. The Value Innovation Product Planning: VIPP concept was applied for developing new product which associate with a potential of the community. The research steps were separated in to 2 phases as follow;
1) product planning and 2) product executing. Moreover, Participatory Action Research: PAR is a crucial methodology for this research project.
By the way, the result shows that the new product for Hom Toong rice which was brain stormed by members of Hom Toong rice farmer community enterprise emphasized on a trend of healthy food for consumers. Therefore, a breakfast cereal with honey flavor was decided to be a prototype product. This prototype product was produced by collaboration with local Food OEM in local and was validated market to test the product. The Market validation result showed majority of consumers will decide to buy the product because following reasons; 1) its flavor 2) price which consistence with quality of product 3) convenient to buy and 4) online marketing promotion, respectively. Moreover, the obvious change in the community was new entrepreneur group had been formed in order to create a sustainable of Hom Toong rice farmer community enterprise.