ผลของอาหารเสริมสารสกัดผักแขยง (Limnophila aromatica) ต่อการเจริญเติบโตในกบนา (Rana rugulosa)
บทคัดย่อ/Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของอาหารเสริมสารสกัดผักแขยง (Limnophila aromatica) ต่อการเจริญเติบโตในกบนา (Rana rugulosa) ผักแขยงถูกสกัดด้วยเอธิลแอลกอฮอล์ ร้อยละ 70 การทดสอบสารพฤกษเคมีของสารสกัดหยาบจากผักแขยงพบไกลโคไซด์ สเตอรอยด์ แอลคาลอยด์ ฟลาโวนอยด์ สารประกอบฟีนอลิก ซาโปนิน เทอร์พีนอยด์ คูมาริน และแอนทราควิโนน แต่ไม่พบแทนนิน ตัวอย่างกบนา (น้ำหนักเฉลี่ยเริ่มต้น 16.00±1.00 กรัม) ถูกแบ่งออกเป็น 5 ชุด การทดลอง ๆ ละ 3 ซ้ำ ชุดการทดลองที่ 1 ได้รับอาหารปกติ ชุดการทดลองที่ 2 ถึง 4 กบนาได้รับ อาหารเสริมสารสกัดผักแขยงที่ระดับความเข้มข้นร้อยละ 1, 3 และ 5 ตามลำดับ ชุดการทดลองที่ 5 ได้รับอาหารเสริมยาปฏิชีวนะออกซิเตตระไซคลินที่ระดับความเข้มข้นร้อยละ 0.05 เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่าการเสริมสารสกัดผักแขยงในอาหารมีผลเพิ่มน้ำหนักสุดท้าย น้ำหนักที่ เพิ่มขึ้น อัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวัน อัตราการเจริญเติบโตจำเพาะ และประสิทธิภาพการใช้ อาหารเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุมและชุดควบคุมเชิงบวก (P<0.05) อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อในชุดการทดลองที่ได้รับอาหารเสริมสารสกัดผักแขยงมี ค่าต่ำกว่าชุดควบคุมและชุดควบคุมเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) อัตราการรอดชีวิตใน แต่ละชุดการทดลองไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) จากการศึกษาลักษณะทางจุลกายวิภาค ของลำไส้พบว่า ความสูงของวิลไล ความกว้างของวิลไล ความหนาของชั้นกล้ามเนื้อตามขวางชั้นใน ความหนาของชั้นกล้ามเนื้อตามยาวชั้นนอกใน พื้นที่ผิวของการดูดซึม ความสูงของเซลล์บุผิวลำไส้ ความสูงของนิวเคลียสชั้นบน ความสูงของนิวเคลียสชั้นล่าง จำนวนเซลล์โกเบลต และความสูงของ ไมโครวิลไลมีค่ามากกว่าชุดควบคุม (P<0.05) จากการศึกษาลักษณะทางจุลกายวิภาคของตับพบว่า ชุดการทดลองที่ได้รับอาหารเสริมสารสกัดผักแขยงมีเส้นรอบวงของเซลล์ตับ พื้นที่ของเซลล์ตับเส้นรอบวงของนิวเคลียส เส้นผ่านศูนย์กลาง รัศมีของนิวเคลียส และพื้นที่ของนิวเคลียสของเซลล์ตับ มากกว่าชุดควบคุม (P<0.05) จากการศึกษาค่าทางโลหิตวิทยาพบว่า ระดับของเม็ดเลือดขาวในชุด การทดลองที่ได้รับอาหารเสริมสารสกัดผักแขยงที่ระดับความเข้มข้นร้อยละ 5 มีค่าลดลง (P<0.05) แต่ไม่มีผลต่อจำนวนเม็ดเลือดแดง ฮีโมโกลบิน ฮีมาโตคริต ปริมาตรโดยเฉลี่ยของเม็ดเลือดแดง น้ำหนักของฮีโมโกลบินโดยเฉลี่ยของเม็ดเลือดแดง และความเข้มข้นของฮีโมโกลบินต่อหน่วยปริมาตร ของเม็ดเลือดแดงเมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุมและชุดควบคุมเชิงบวก (P>0.05) จากการศึกษา ค่าชีวเคมีของโลหิตพบว่าระดับคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ LDL-C และอะลานีนอะมิโนทรานส์ เฟอเรสในชุดการทดลองที่ได้รับอาหารเสริมสารสกัดจากผักแขยงมีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ระดับของอัลบูมินในชุดควบคุมเชิงบวกมีสูงกว่าชุดควบคุมและชุดการทดลองที่ได้รับอาหาร เสริมสารสกัดผักแขยง (P<0.05) อย่างไรก็ตามการเสริมสารสกัดผักแขยงและยาปฏิชีวนะ ออกซิเตตระไซคลินในอาหารไม่มีผลต่อระดับแอสพาเทสอะมิโนทรานเฟอเรส แอลคาไลน์ฟอสฟาเทส กรดยูริก HDL-C บิลิรูบิน-ดี และบิลิรูบิน-ทีเมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม (P>0.05) ผลการศึกษา ครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าสารสกัดผักแขยงมีคุณสมบัติเป็นวัตถุเสริมในอาหารในการเลี้ยงกบนา ระดับ ความเข้มข้นที่เหมาะสม คือ ร้อยละ 2.66 เนื่องจากมีผลส่งเสริมการเจริญเติบโต ประสิทธิภาพการใช้ อาหาร รวมทั้งจุลสัณฐานของตับและลำไส้ในกบนา
The objectives of this research were conducted to examine the effect of rice paddy herb (Limnophila aromatica) extract on growth of Common Lowland Frog (Rana rugulosa). The plant samples were extracted with 70% ethanol. Phytochemicals found the plant extract were glycosides, steroids, alkaloids, flavonoids, phenolic ompounds, saponins, terpenoids, coumarins and anthraquinones, but did not contain tannins. Frog were randomly distributed into 5 treatments and each treatment consisted of 3 replications. Treatments 1 – 4, frog were fed with the diets mixed with the plant extract at the concentrations of 0 (control), 1, 3 and 5% for 8 weeks. Treatment 5, frog were fed with the diet incorporated with 0.05% oxytetracycline. The results showed that frog fed the diets mixed with rice paddy herb extract significantly increased final weight, weight gain, average daily gain, specific growth rate and feed conversion efficiency and significantly decreased feed conversion ratio compared to the basal diet and the diet supplemented with 0.05% oxytetracycline (P<0.05). Survival rate did not differ among the treatments (P>0.05). Intestinal histological study indicated that villi height, villi width, inner circulatory smooth muscle, outer longitudinal smooth muscle, absorptive area, enterocytes height, supranucleus height, subnucleus height, goblet cell number and microvilli height of frog fed the tested diets were significantly higher than those of the control (P<0.05). Liver histological study found that hepatocyte circumference, hepatocyte area, hepatocyte nucleus circumference, hepatocyte nucleus diameter, hepatocyte nucleus radius and hepatocyte nucleus area of frog fed the diets contained the plant extract were significantly greater than those of the control diet (P<0.05). Hematological examination indicated that frog fed with the diet supplemented with 5% rice paddy herb extract were significantly decreased in white blood cell compared to the control (P<0.05). However, red blood cell, hemoglobin, hematocrit, mean cell volume (MCV), mean cellular hemoglobin (MCH) and mean cell hemoglobin concentration (MCHC) were not significant (P>0.05). Cholesterol, triglyceride, LDL-C and ALT of the treated frog were significantly lower than those of unsupplemented frog (P<0.05). Albumin of frog treated with the positive control diet were significantly increased when compared to the control and rice paddy herb –supplemented frog (P<0.05). Aspartate aminotransferase, alkaline phosphatase, uric acid, HDL-C, bilirubinD and bilirubin-T were not affected by the diet supplementations (P>0.05). The results of this study exhibited that rice paddy herb extract presents a highly useful feed additive for the culture of frog. The optimal levels were estimated to be 2.66% rice paddy herb extract due to it significantly produced positive effects on growth, feed conversion efficiency and liver and intestine histomorphology of common lowland frog.