ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์แอลฟ่ากลูโคซิเดสและสารต้านอนุมูลอิสระจากตำรับ ยารักษาโรคเบาหวานในจังหวัดอุบลราชธานี
บทคัดย่อ/Abstract
การศึกษาครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับภูมิปัญญาและต ารับยาสมุนไพรที่หมอพื้นบ้านในจังหวัดอุบลราชธานีใช้รักษาโรคเบาหวานและทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์แอลฟ่ากลูโคซิเดสและสารต้านอนุมูลอิสระ ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และการสังเกตแบบมีส่วนร่วมจากหมอพื้นบ้านที่มีประสบการณ์ จำนวน 7 คน จากการศึกษาพบว่า หมอพื้นบ้านทั้งหมดเป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 71-80 ปี มีความช านาญด้านเภสัชกรรมไทย มีประสบการณ์ในการรักษาโรคเบาหวานมากกว่า 20 ปี และมีการตั้งตำรับรักษาตามหลักเภสัชกรรมแผนไทย ประกอบด้วย ตัวยาหลัก สรรพคุณช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ตัวยารองมีสรรพคุณช่วยบำรุงเลือด บำรุงกำลัง ในการศึกษาครั้งนี้สามารถรวบรวมตำรับยาสมุนไพรได้ทั้งหมด 10 ตำรับ เป็นตำรับยาใช้ภายใน 9 ต ารับและใช้ภายนอก 1 ตำรับ จำแนกพืชสมุนไพรได้จำนวน 50 ชนิด 44 สกุล 25 วงศ์ วงศ์ที่พบพืชมากที่สุดคือ Fabaceae จำนวน 7 ชนิด รองลงมา คือ Zingiberaceae และ Menispermaceae วงศ์ละ 5 ชนิดส่วนของพืชที่นำมาใช้มากที่สุด คือ แก่น รองลงมา คือ ใบ ราก และเหง้า การเตรียมยาใช้วิธีการต้มดื่มมากที่สุด นอกจากนี้รสยาหลักของสมุนไพรที่มีสรรพคุณรักษาโรคเบาหวาน คือ รสขม พบสมุนไพรจำนวน21 ชนิด รองลงมา คือ รสฝาดและรสร้อน จำนวน 18 และ 7 ชนิด ตามลำดับ สมุนไพรที่มีการใช้ซ้ำเป็นส่วนประกอบตำรับยามากที่สุด ได้แก่ กำแพงเจ็ดชั้น (Salacia chinensis L.) จำนวน 3 ตำรับ สำหรับผลการศึกษาฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์แอลฟ่ากลูโคซิเดส พบว่า ต ารับยาสูตรที่ 5 จากการสกัดด้วยเอทานอล (IC50 เท่ากับ 7.12±0.59 µg/mL) มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์สูงที่สุด ส่วนสารสกัดด้วยวิธีการต้ม พบว่า สูตรที่ 9 มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ได้สูงที่สุด (IC50 เท่ากับ 21.12±0.54 µg/mL) และผลการทดสอบความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ โดยวิธี DPPH, FRAP และการหาปริมาณสารประกอบฟีนอลลิก พบว่า สารสกัดจากสูตรที่ 4 มีฤทธิ์สูงที่สุด จากการศึกษาในครั้งนี้ สามารถนำไปต่อยอดหรือศึกษาถึงประสิทธิภาพของตำรับยาสมุนไพรในระดับคลินิก เพื่อพัฒนาภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านให้อยู่คู่กับสังคมไทยสืบไป
The aim of this qualitative study was to document information and wisdom of folk healers on treating diabetes in Ubon Ratchathani. Seven experienced folk healers were recruited and the study was done by using semi-structured, in-depth interviews and participatory observation. For demographic data, all folk healers were male, and aged during 71-80 years with expertise in Thai traditional pharmacy. They have experienced in the treatment of diabetes for over 20 years. Their remedies consisted of main actives with the properties to help reduce blood sugar levels. The secondary active drugs had the properties to nourish the blood and reinforce the body energy. Ten traditional prescription were collected and most of herbal remedies were oral drugs, as many as 9 recipes, including 1 wound healing recipes. Among the total, fifty medicinal plant species were collected, which belong to 44 genera of 25 families, and it was categorized into thre families that were mostly found were 7 species of Fabaceae and each of 5 species in Zingiberaceae and Menispermaceae. The stem parts of the herbs were the mos frequently used, followed by leaf root and rhizome. Decoction was the main mode of preparation. Additionally, the result indicated that 21 plant species with bitter taste were commonly used in the remedies for diabetes treatment, astringent taste of 18 species, as well as 7 species of plants giving blood flow increase. Moreover, the herb used in 3 out of 10 remedies was Salacia chinensis. For the study of alpha-glucosidase inhibitors, the formula 5 from ethanol extraction (IC50=17. 12 ± 0. 59 µg/mL) has the highest enzyme inhibition effect. For boiling extracts, it was found that the formula 9 had the highest inhibitory activity (IC50=21. 12 ± 0. 54 µg/mL) and the antioxidant ability test by DPPH, FRAP and compound determination. Phenolic found that the extract from Formula 4 has the highest effect. The result of the present study can be useful for the further research to study the efficacy of these anti-diabetic remedies in clinical trials to develop Thai traditional wisdom to be beneficial for economic and health of Thai community.