แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวตามวัฒนธรรมเส้นทางบุญของจังหวัดอุบลราชธานี ตามแนวคิดการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
บทคัดย่อ/Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวต่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวตามวัฒนธรรมเส้นทางบุญของจังหวัดอุบลราชธานี ตามแนวคิดการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (2) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวตามวัฒนธรรมเส้นทางบุญของจังหวัดอุบลราชธานี ตามแนวคิดการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นการวิจัยเชิงปริมาณร่วมกับการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ กลุ่มนักท่องเที่ยวที่ท่องเที่ยววัดที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของวัฒนธรรมเส้นทางบุญจังหวัดอุบลราชธานี ได้แก่ วัดหนองป่าพง วัดหลวง วัดหนองบัว วัดมหาวนาราม วัดทุ่งศรีเมือง วัดศรีอุบลรัตนารามวัดสุปัฏนารามวรวิหาร วัดเลียบวัดใต้ วัดถ้ำคูหาสวรรค์ วัดสิรินธรวรารามภูพร้าว วัดสระประสานสุข ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ จ้านวน 385 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าคะแนนเฉลี่ย (Mean) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ t (T-test) เพื่อทำการเปรียบเทียบความแตกต่างความ คิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม เกี่ยวกับการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยวตามวัฒนธรรมเส้นทางบุญของจังหวัดอุบลราชธานี โดยกำหนดนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 และF (F-test) หรือ เทคนิคการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว เพื่อทำการเปรียบเทียบความแตกต่างความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างมากกว่า 2 กลุ่ม เกี่ยวกับการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยวตามวัฒนธรรมเส้นทางบุญของจังหวัดอุบลราชธานี โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการวิจัย (1) ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวต่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวตามวัฒนธรรม เส้นทางบุญของจังหวัดอุบลราชธานี ตามแนวคิดการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พบว่า โดยภาพรวม นักท่องเที่ยวมีความคิดเห็นต่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวตามวัฒนธรรมเส้นทางบุญของจังหวัด อุบลราชธานี ตามแนวคิดการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.80 (2) แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวตามวัฒนธรรมเส้นทางบุญของจังหวัด อุบลราชธานี ตามแนวคิดการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตามแนวคิด 7 Greens ได้แก่ ด้านหัวใจสีเขียว (Green Heart) ควรมีการประชาสัมพันธ์หรือมีกิจกรรมที่ทำให้นักท่องเที่ยว มีการรับรู้และตระหนัก ถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมมากขึ้น มีการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เช่น การเตรียมความพร้อมก่อนท่องเที่ยว การเคารพกติกาของแหล่งท่องเที่ยว ด้านรูปแบบการเดินทาง สีเขียว (Green Logistics) ควรมีบริการรถน้าเที่ยวสาธารณะไปยังแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ หรือ มีจักรยานบริการนักท่องเที่ยว เพื่อลดมลภาวะจากภาวะเรือนกระจก และมีข้อมูลแสดงเส้นทางและ ระยะทางของสถานที่ท่องเที่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง เพื่อเป็นประโยชน์ต่อนักท่องเที่ยวในการ วางแผนการเดินทาง ด้านแหล่งท่องเที่ยวสีเขียว (Green Attraction) ควรมีการจัดทำ ป้ายประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวรักษาความสะอาดและรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น การทิ้งขยะลงถังขยะ ที่แยกสีตามประเภทขยะ การจัดการขยะจากเศษอาหาร การปลูกพืชสมุนไพรและรักษาความร่มรื่นใน วัด แลและการสอดแทรกค้าสอนเกี่ยวกับการเห็นความสำคัญของสิ่งแวดล้อมในการแสดงธรรมหรือ เทศนา ด้านกิจกรรมสีเขียว (Green Activity) ควรส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวมีกิจกรรม ด้านสิ่งแวดล้อมควบคู่กับการท่องเที่ยว เช่น การจัดกิจกรรมปั่นจักรยานทัวร์วัด การกำหนด แนวปฏิบัติเพื่อเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น การสักการบูชาสิ่งศักดิ์โดยไม่จุดธูป การหลีกเลี่ยง สังฆทานที่ทำจากพลาสติก การรณรงค์การใช้น้าสิ่งของที่เป็นประโยชน์มาทำพวงหรีดแทนพวงหรีด ดอกไม้สด ด้านชุมชนสีเขียว (Green Community) ควรส่งเสริมให้ชุมชน โดยมีความร่วมมือกัน ทั้งบ้าน วัด และโรงเรียน ในการใส่ใจและร่วมกันดูแลและรักษาสิ่งแวดล้อมของสถานที่ท่องเที่ยว ด้านการบริการสีเขียว (Green Service) บริษัทน้าเที่ยวควรมีส่วนร่วมในการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น ลดการใช้ถุงพลาสติก การให้ค้าแนะน้านักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (GREEN PLUS) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทุกฝ่าย ควรให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง
The objectives of this study were (1) to explore tourists’opinions towards guidelines for tourist attraction development on merit-path culture of Ubon Ratchathani according to the concept of eco-friendliness and (2) to examine the guidelines for promoting and developing tourist attractions on merit-path culture of Ubon Ratchathani according to the concept of eco-friendliness. The data were collected quantitatively and qualitatively. The samples were 385 Thai and foreign tourists traveling to the temples which reflect the identity of merit-path culture of Ubon Ratchathani including Wat Nong Papong, Wat Luang, Wat Nong Bua, Wat Maha Wanaram, Wat Tung Srimuang, Wat Sri Ubonratanaram, Wat Supatnaramworawihan, Wat Leab, Wat Tai, Wat Tum Kuhasawan, Wat Sirindhorn wararam Puprao and Wat Saprasarnsuk. The instruments were questionnaires and interview. Statistical analyses were conducted with percentage, mean, standard deviation. Either t-test was used to investigate the hypotheses or One-way ANOVA was used to compare the differences in opinions of 2 samples towards eco-friendliness of tourist attractions in merit-path culture of Ubon Ratchathani significantly at the level 0.05 and F-test.
The findings revealed that (1) tourists had a high level of opinions towards guidelines for tourist attraction development on merit-path culture of Ubon Ratchathani according to the concept of eco-friendliness with the average of 3.80. (2) Guidelines for tourist attraction development on merit-path culture of Ubon Ratchathani according to the 7 Greens concept of eco-friendliness should be as follows:
1) In terms of Green Heart, there should be public relation or activities that make tourists become more aware of the importance of the environment and ecotourism such as pre-travel preparation and obeying the rules of tourist attractions.
2) In terms of Green Logistics, there should be public transport services for tourist attractions or bicycle services to pollution and the greenhouse effect as well as provide information on the routes and distances of nearby attractions to benefit tourists in planning their trip.
3) In terms of Green Attraction, there should be public signs for tourists to keep clean and protect the environment such as waste separation, growing herbs and keeping shady in the temple and inserting teachings about the importance of the environment in preaching or preaching
4) Considering Green Activity, visitors should be encouraged to participate in environmental activities alongside tourism, such as cycling around the temples. More environmentally friendly practices such as worshiping sacred objects without burning incense, avoiding plastic offerings and using useful items to make a wreath instead of a fresh flower wreath.
5) Concerning Green Community, communities should be encouraged to cooperate with houses, temples and schools in taking care of and preserving the environment of tourist attractions.
6) About Green Service, travel agencies should engage in environmentally friendly activities such as reducing the use of plastic bags, advising tourists on ecofriendly tourism.
7) In terms of Green Plus, all stakeholders should take ecotourism seriously.