การศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียก่อโรคผิวหนังอักเสบและฤทธิ์ต้านการอักเสบ ของสารสกัดจากพืชสมุนไพรไทย เพื่อพัฒนาเป็นตำรับครีมสมุนไพรสำหรับรักษา โรคผิวหนังอักเสบ
บทคัดย่อ/Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์การต้านเชื้อแบคทีเรียก่อโรคผิวหนังอักเสบและฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารสกัดสมุนไพรไทย 3 ชนิด ได้แก่ แคหางค่าง (Markhamia stipulata) เขืองใหญ่ (Caryota maxima) และมะเดื่อดิน (Amphineurion marginatum) โดยใช้ตัวทำละลาย 2 ชนิด คือ เอทานอลและเมทานอล ทดสอบความสามารถในการยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดหยาบจากสมุนไพรทั้ง 3 ชนิด ผลการทดลองพบว่า สารสกัดหยาบจากสมุนไพรทั้ง 3 ชนิดที่สกัดด้วยเอทานอลและเมทานอล มีความสามารถในการยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียทดสอบ Staphylococcus aureus ATCC25923 แต่ไม่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas aeruginosa โดยมีค่าความเข้มข้นต่ำสุดของสารสกัดที่สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียได้ (minimum inhibitory concentration, MIC) อยู่ระหว่าง 5 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ถึง >10 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร และผลการทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบ พบว่า สารสกัดหยาบจากแคหางค่างที่สกัดด้วยเอทานอลและเมทานอลไม่มีความสามารถในการยับยั้งการสร้างสารไนตริกออกไซด์ (Nitric oxide, NO) ส่วนสารสกัดหยาบจากเขืองใหญ่และมะเดื่อดินที่สกัดด้วยเอทานอลและเมทานอล มีความสามารถในการยับยั้งการสร้าง NO โดยสารสกัดส่วนใหญ่ไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์เพาะเลี้ยงแมคโครฟาจ (RAW 264.7) ส่วนการวิเคราะห์หาองค์ประกอบทางพฤกษเคมีของสารสกัดด้วยเอทานอลและเมทานอลของพืชทั้ง 2 ชนิด คือ สารสกัดหยาบเขืองใหญ่และมะเดื่อดิน ด้วยเทคนิค Gas chromatography–mass spectrometry (GC-MS) พบว่า มีสารที่เป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่คือ 2-methoxy-4-vinylphenol, quiric acid, β–sitosterol, 3,-acetyllycopsamine, n-hexadecanoic acid, lupeol, 1,4-benzennediol และ lidocaine จากนั้นนำสารสกัดหยาบจากมะเดื่อดินที่สกัดด้วยเมทานอลไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ (Formulation) ครีมสมุนไพร แล้วทดสอบความคงตัว ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย และฤทธิ์ต้านการอักเสบของผลิตภัณฑ์ครีมสมุนไพร ผลการทดสอบความคงตัวของผลิตภัณฑ์ พบว่า ตำรับครีมมะเดื่อดินมีลักษณะสีที่เข้มขึ้นมาก มีค่า pH คงที่ ส่วนค่าความหนืด พบว่า หลังจากวางไว้ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 1 เดือน ครีมสมุนไพรมะเดื่อดินมีค่าความหนืดลดลง แต่หลังการทำ Heating/cooling พบว่า ครีมสมุนไพรมะเดื่อดินมีค่าความหนืดเพิ่มขึ้น และผลการทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย และฤทธิ์ต้านการอักเสบของผลิตภัณฑ์ครีมสมุนไพร พบว่า เมื่อเป็นตำรับครีมแล้วครีมสมุนไพรมะเดื่อดินยังมีฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรีย และต้านการอักเสบอยู่
The ethanolic and methanolic extracts of three Thai medicinal plants namely Markhamia stipulata, Caryota maxima and Amphineurion marginatum were evaluated for antibacterial activity against bacteria causing dermatitis including Staphylococcus aureus ATCC25923 and Pseudomonas aeruginosa). The results showed that the ethanolic and methanolic extract of three Thai medicinal plants showed capable of inhibiting the growth of S. aureus ATCC25923. The analysis of the minimum inhibitory concentrations (MICs) which inhibited the pathogenic bacteria showed that the MICs of ethanolic and methanolic extracts were ranging from 5 mg/ml to >10 mg/ml. Additionally, the anti-inflammatory activity of the extracts was studied using murine macrophage (RAW 264.70) as a model. The results show that the ethanolic and methanolic extracts of Caryota maxima and Amphineurion marginatum showed anti-inflammatory activity by reduced nitric oxide (NO). Also most of the extracts were not toxic to RAW 264.70 cells. The phytochemical analysis of the ethanolic and methanolic extract of Caryota maxima and Amphineurion marginatum was carried out using Gas chromatography–mass spectrometry (GC-MS). The results revealed dominant components were 2-methoxy-4-vinylphenol, quiric acid, β–sitosterol, 3,-cetyllycopsamine, n-hexadecanoic acid, lupeol, 1, 4-benzennediol and lidocaine. The best active of Amphineurion marginatum crude extract was then pre-formulate. The product was prepared from base cream with active extract. Then, antibacterial and anti-inflammatory activities were performed. The result showed that the formulation was able to showed antibacterial and anti-inflammatory activities.