การศึกษาแนวทางการจัดตั้งและพัฒนาศูนย์เครื่องมือกลาง ตามนโยบาย Thailand 4.0 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
บทคัดย่อ/Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดตั้งและพัฒนาศูนย์เครื่องมือกลาง ตามนโยบาย Thailand 4.0 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี โดยด าเนินการสำรวจเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ เพื่อการจัดตั้งศูนย์เครื่องมือกลางของมหาวิทยาลัย จำนวน 2 คณะ คือ คณะแพทย์แนนไทยและแพทย์ทางเลือก และคณะสาธาระสุขศาสตร์ และสำรวจพื้นที่จัดตั้งศูนย์เครื่องมือกลางมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
สรุปผลการวิจัย
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์
1.1 เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่ประสงค์จะส่งมอบคืนมหาวิทยาลัย การสำรวจเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่มีการชำรุด เสียหาย และทางคณะต่างๆ ต้องการส่งมอบคืนให้กับทางมหาวิทยาลัย พบว่า ทั้งคณะแพทย์แนนไทยและแพทย์ทางเลือก และคณะสาธาระสุขศาสตร์ ไม่มีเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่จะส่งมอบคืนมหาวิทยาลัย
1. เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่หน่วยงานต้องการในอนาคตการสำรวจเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่หน่วยงานต้องการในอนาคตของคณะแพทย์แนนไทยและแพทย์ทางเลือก มีความต้องการเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 7 ชนิด ราคารวม 17,633,000 บาท
การสำรวจเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่หน่วยงานต้องการในอนาคตของคณะสาธาระสุขศาสตร์ มีความต้องการเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 ชนิด ราคารวม 2,496,360 บาท
2. ผลการสำรวจพื้นที่จัดตั้งศูนย์เครื่องมือกลางมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีตามที่สถาบันวิจัยและพัฒนา ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์เครื่องมือกลาง วิทยาเขตบ้านยางน้อย และได้ดำเนินการสำรวจสถานที่ แล้วนั้น ทางสถาบันวิจัยและพัฒนาพิจารณาแล้วเห็นว่า ศูนย์เครื่องมือกลาง จะต้องใช้ห้อง จำนวน 7 ห้อง ดังนี้
1. ห้องสำนักงาน 2. ห้องเรียน 3. ห้องปฏิบัติการทางชีววิทยา 4. ห้องปฏิบัติการเครื่องมือวิเคราะห์ขั้นสูง 5. ห้องเตรียมสารเคมี 6. ห้องเก็บสารเคมี 7. ห้องปฏิบัติการทางเคมีวิเคราะห์ โดยสถาบันวิจัยและพัฒนาได้จัดวางผังแบบ และ มีบริษัทที่เสนอราคา จำนวน 3 บริษัท ดังนี้ 1. บริษัท ไซแอนติฟิค โปรโมชั่น จำกัด ราคาประเมิน 3,940,000 บาท 2. บริษัท แลบบีกิน จำกัด ราคาประเมิน 4,102,820 บาท 3. บริษัท ไซแอนด์เมดิคอลซัพพลาย จำกัด ราคาประเมิน 4,115,000 บาท