ความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่รับผิดชอบของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีต่อการเข้าสู่ตลาดแรงงานประชาคมอาเซียน
บทคัดย่อ/Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความความพร้อมของผู้นำและผู้บริหารขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดยโสธร อำนาจเจริญ มุกดาหาร และจังหวัดอุบลราชธานี เกี่ยวกับ การเปลี่ยนแปลงจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 2) ศึกษาความคิดเห็นของผู้นำและผู้บริหารองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดยโสธร อำนาจเจริญ มุกดาหาร และจังหวัดอุบลราชธานี เกี่ยวกับ ปัจจัยอิทธิพลที่มีต่อความพร้อม ในการเข้าสู่ตลาดแรงงานประชาคมอาเซียน ดำเนินการวิจัยตาม ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงสำรวจ ตัวอย่าง ได้แก่ ผู้นำและผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในสังกัด จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดยโสธร จังหวัดอำนาจเจริญ และจังหวัดมุกดาหาร จำนวน 350 คน ซึ่ง กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Taro Yamane และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีแบบอิสระ และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัยพบว่า
1. ความความพร้อมของผู้นำและผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการเข้าสู่ประชาคมและวัฒนธรรมอาเซียนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( X= 3.81) โดยมีความพร้อมในด้านต่างๆ อยู่ในระดับและสามารถเรียงลำดับตามความพร้อมได้ดังนี้ ด้านมาตรฐานคุณภาพและแรงจูงใจ ( X = 3.96 ) ด้านการเตรียมความพร้อมด้านภาษาและวัฒนธรรม ( X = 3.90 ) ด้านมาตรฐานวิชาชีพกลางแรงงานไทย ( X = 3.85) และ ด้านการดูแลคุ้มครองสวัสดิการแรงงานไทย ( X = 3.53)
2. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพร้อมในการเข้าสู่ตลาดแรงงานอาเซียนประกอบด้วยปัจจัย 3 ด้าน ซึ่งสามารถเรียงลำดับตามความสำคัญได้ ดังนี้ ความตั้งใจในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ( X = 4.10) ความเชื่อเกี่ยวกับการทำงานในประชาคมอาเซียน ( X = 3.80 ) และความรู้สึกที่มีต่อการทำงานในประชาคมอาเซียน ( X = 3.72 ) ความถี่ของการให้ความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนและการเข้าสู่ตลาดแรงงานประชาคมอาเซียนแก่ประชาชนที่แตกต่างกัน ทำให้ความพร้อมของผู้นำและผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการเข้าสู่ประชาคมและวัฒนธรรมอาเซียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับนัยสำคัญ .05 จังหวัดที่สังกัด และความถี่ในการให้ความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนและการเข้าสู่ตลาดแรงงานประชาคมอาเซียนแก่ประชาชน ที่แตกต่างกัน ทำให้ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพร้อมของผู้นำและผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการเข้าสู่ประชาคมและวัฒนธรรมอาเซียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับนัยสำคัญ .05
จากผลการวิจัยดังกล่าวจึงมีข้อเสนอแนะเพื่อนำไปสู่การสร้างโอกาสแก่แรงงานท้องถิ่นในตลาดแรงงานประชาคมอาเซียน คือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับตลาดแรงงานประชาคมอาเซียนทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ควรให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือและสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ตลาดแรงงานประชาคมอาเซียนในด้านการดูแลคุ้มครองสวัสดิการแรงงานไทยให้มากขึ้น พร้อมให้ความรู้ข้อมูลและข้อเท็จจริงต่างๆ เกี่ยวกับตลาดแรงงานประชาคมอาเซียน เพื่อสร้างความเชื่อที่ถูกต้องเกี่ยวกับการทำงานในประชาคมอาเซียน และเพิ่มเจตคติที่ดีต่อการทำงานในประชาคมอาเซียนให้มากขึ้น ขณะเดียวกันองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนและการเข้าสู่ตลาดแรงงานประชาคมอาเซียนแก่ประชาชน อย่างต่อเนื่อง
The research aimed to study the preparedness or readiness of the leaders and the administrators of the local administrative organizations in the provinces of Yasothon, Amnat Charoen, Mukdahan and Ubon Ratchathani concerning the changes caused by an entry into the ASEAN Community, and to explore the opinions of the leaders and the administrators in the study on the factors that influenced the preparedness or readiness in the entry into the ASEAN Labor Market. The research was conducted by means of the survey method. The samples were 350 leaders and administrators of the local administrative organizations in the provinces of Yasothon, Amnat Charoen, Mukdahan and Ubon Ratchathani. The sample size was determined by Taro Yamane’s table. The research instrument was the questionnaire. Statistics used in data analysis were frequency, percentage, means, standard deviation, t-test, and variance analysis. The research findings were as follows.
1.The readiness and preparedness of the leaders and administrators of the local administrative organizations for the entry into the ASEAN Community and culture was at a high level ( X = 3.81). Their preparedness could be arranged as follows: standard and motivation ( X = 3.96 ), preparation in terms of language and cultures ( X = 3.90 ), professional standard for Thai labor ( X = 3.85 ), and protection and welfare for Thai labor ( X = 3.53).
2 . The factors that influenced the preparation for the entry into the ASEAN Labor were found in three aspects. They could be ordered as follows: determination for the entry into the ASEAN Community ( X = 4.10), belief relating to the working in the Community ( X = 3.80 ), feelings towards the working in the ASEAN Community ( X = 3.72 ), diffent frequency of giving knowledge on the Community and the entry into the labor market. led to the readiness of the leaders and the administrators of the local organizations in this respect was significantly different at .05. Different frequency in providing the public with knowledge on the ASEAN Community and the entry into the labor market led to different factors that influenced the preparation of the leaders and the administrators of the local organizations at a significant difference of .05.
Based on the research findings, the following were the recommendations to create opportunities for the local labor. The agencies concerned with the labor market at the regional and local levels should be cooperative to help and support the local administrative organization in preparation for the entry into the ASEAN Community Labor Market. There should be more welfare and protection for Thai labor. Thai labor should be well prepared and well equipped with information and facts concerning the labor market. In addition, Thai laborers should be made to have a better attitude towards the working in the ASEAN Community. The local administrative organization should constantly provide the public with knowledge by means of training.