การพัฒนาระบบจ่ายน้ำสกัดมูลสุกรแบบแม่นยําด้วยพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งหลังฤดูเก็บเกี่ยว
บทคัดย่อ/Abstract
การพัฒนาระบบจ่ายน้ำสกัดมูลสุกรแบบแม่นยําด้วยพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อแก้ปัญหาภัย แล้งหลังฤดูเก็บเกี่ยว การดําเนินงานวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ โดยระยะแรก คือ การออกแบบและ พัฒนาระบบจ่ายน้ำปุ๋ยมูลสุกรแบบแม่นยําด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ได้รับความร่วมมือจาก ผู้ช่วย ศาสตราจารย์ ดร. โชติพงศ์ กาญจนประโชติ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่ โจ้ มาร่วมออกแบบ พัฒนา และติดตั้งระบบ พร้อมทั้งเป็นวิทยากรให้ความรู้กับนักศึกษาสาขาวิชา เกษตรศาสตร์ มีการทดสอบระบบการจ่ายน้ำปุ๋ยสกัดมูลสุกร โดยออกแบบให้อาศัยแรงโน้มถ่วงของ โลกเพื่อลดต้นทุนในการผลิต และใช้ระบบน้ำแบบหยดในการให้ปุ๋ย โดยมีชุดอุปกรณ์วัดความชื้น จํานวน 2 ชุด ชุดอุปกรณ์ควบคุมวาล์วน้ำ จํานวน 8 ชุด พร้อมแผงโซลาเซลล์ที่ควบคุมระบบการ ทํางาน สามารถตั้งค่าความชื้นที่ต้องการผ่านสัญญาณ wifi ในระบบมือถือ และสามารถตรวจสอบ สถานการณ์ทํางานของเครื่องได้ พร้อมจัดทําคู่มือการใช้งาน เพื่อเผยแพร่ความรู้ให้กับนักศึกษา และ บุคคลทั่วไปที่สนใจ
สําหรับระยะที่สอง คือ ศึกษาผลของการจ่ายน้ำสกัดมูลสุกรแบบแม่นยําด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของผักคะน้าและผักกวางตุ้ง โดยวางแผนการทดลองแบบ 2x4 Factorial in CRD มี 2 ปัจจัย คือ 1) ชนิดผัก ได้แก่ ผักคะน้า และผักกวางตุ้ง 2) อัตราส่วนของน้ำสกัดมูลสุกรต่อน้ำ มี 4 อัตราส่วน คือ 0 (ชุดควบคุม) 1:10 1:20 และ 1:30 ผลการทดลอง พบว่า เมื่อสิ้นสุดการทดลอง ผักกวางตุ้งเจริญเติบโตได้เร็วกว่าผักคะน้า มีจํานวนใบ/ต้นเฉลี่ย ความยาวใบเฉลี่ย เส้นผ่าศูนย์กลางลําต้นเฉลี่ย น้ำหนักลําต้นสดเฉลี่ย และปริมาณคลอโรฟิลล์รวมในใบเฉลี่ยมากที่สุด คือ 10.63 ใบ/ต้น 19.67 เซนติเมตร 25.30 มิลลิเมตร 1,624 กิโลกรัม/ไร่ และ0.14 กรัมต่อลิตร ตามลําดับ และมีค่าแตกต่างกันทางสถิติ ส่วนอัตราส่วนของปุ๋ยน้ำสกัดมูลสุกรที่เหมาะสม แยกออกเป็น 2 กรณี คือ ถ้าต้องการเร่งการเจริญเติบโต ให้ใช้อัตราส่วน 1:20 เนื่องจากมีจํานวนใบ/ต้น (9.38 ใบ/ต้น) และเส้นผ่าศูนย์กลางลําต้นเฉลี่ย (19.64 มิลลิเมตร) มากที่สุด ส่วนความสูงเฉลี่ยของต้น ความกว้าง และ ความยาวใบเฉลี่ย มีแนวโน้มสูงที่สุด คือ 28.65 13.68 และ19.16 เซนติเมตร ตามลําดับ แต่ถ้าต้องการเร่งผลผลิต พบว่า การใช้ปุ๋ยน้ำสกัดมูลสุกรอัตราส่วน 1:30 มีความเหมาะสมที่สุด มีน้ำหนักลําต้นสดเฉลี่ยสูงที่สุด 1,340 กิโลกรัม/ไร่ และมีแนวโน้มให้ปริมาณคลอโรฟิลล์รวมในใบเฉลี่ยมากที่สุด 0.12 กรัม/ลิตร แต่ถ้าพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างชนิดพืช กับการให้ปุ๋ยน้ำสกัดมูลสุกรอัตราส่วนต่าง ๆ กัน พบว่า สําหรับผักคะน้า อัตราส่วนที่เหมาะสม คือ 1:10 มีความสูงเฉลี่ยของต้น น้ำหนักลําต้นสดเฉลี่ย และปริมาณคลอโรฟิลล์รวมในใบเฉลี่ยมากที่สุด ในขณะที่ ผักกวางตุ้งอัตราส่วนที่เหมาะสม คือ 1:30 มีความสูงเฉลี่ยของต้น น้ำหนักลําต้นสดเฉลี่ย และปริมาณคลอโรฟิลล์รวมในใบพืชเฉลี่ยมากที่สุด
Development of Automatic Swine Manure Fermented Fertilizer Water System Using Solar Energy to Solve Drought Problem of After Harvest Season. The research was divided into 2 parts. The first part was the design and development of accurate solar system for the swine manure irrigation. This was assisted by Asst. Prof. Dr. ChoatpongKanjanaphachoat from the faculty of Engineering and Agro-Industry Maejo University assisted with design, development and installed the system. He also gave some lectures to the faculty of Agriculture, Ubon Ratchathani Rajabhat University. The liquid fertilizer delivering system exploited gravitational force. This design was to reduce production cost. Fertilizer was carried with water dripping system. There were 2 sets of moisture meter, 8 valve control units and a solar panel. Controlling can be manipulate through wifi smart phone. The research outcome included working manual to distribute to students and general public.
The second part was to study the effective of the system on 2 vegetable species, Chinese kale and False Pakchoi. The project was laid out with 2x4 Factorial in CRD. The 2 factors were 1) vegetable species 2) Four ratio of swine manure fertilizer to water ie. Control, 1:10, 1:20 and 1:30. It was found that False Pakchoi grew better than Chinese kale with average leaf/tree, leaf length, stem diameter, fresh weight and total leaf chlorophyll of 10.63 leaves, 19.67 cm., 25.30 mm., 1,624 kg/rai and 0.14 g/l, respectively. Thedifference was statistically significant. There were 2 cases of appropriate ratio of the fertilizer. At 1:20 ratio resulted in the better growth with 9.38 leaf/tree and stem diameter of 19.64 mm. If optimum yield is required then 1:30 ratio is most suitable. This ratio gave 1,340 kg/rai, and tended to give the highest average leaf chlorophyll of 0.12 g/l. If relationship between vegetable species and different ratio of the liquid fertilizer was considered then the most optimum ratio for Chinese kale was 1:10. This ratio resulted in the highest average in height, weight and leaf chlorophyll. This was also true with False Pakchoi at the ratio of 1:30.