การอนุรักษ์สืบทอดวัฒนธรรมท้องถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานี: กรณีศึกษา สำรวจและจัดเก็บใบลานในพระอารามหลวง
บทคัดย่อ/Abstract
โครงการวิจัยเรื่อง การศึกษาวิจัยเรื่อง การอนุรักษ์สืบทอดวัฒนธรรมท้องถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานี: การณีศึกษาสำรวจและจัดเก็บใบลานในพระอารามหลวง ซึ่งมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษา สำรวจ รวบรวม จัดหมวดหมู่ หนังสือใบลาน ในพระอารามหลวงในจังหวัดอุบลราชธานี 2) เพื่อทำนุบำรุงรักษา จัดเก็บห่อหุ้มให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ ปลอดภัย สามารถใช้ได้สะดวก
ผลการศึกษาพบว่า วรรณกรรมใบลานวัดศรีอุบลรัตนศาสดารามวรวิหารมีจำนวน 166 เรื่อง สามารถแยกหมวดหมู่ได้ 6 กลุ่ม ได้แก่ พระธรรมวินัย พุทธประวัติ ชาดก นิทานพื้นบ้าน ปูชนียสถาน เทศนาหลักธรรมคำสอน วัดมหาวนารามวรวิหาร หรือวัดป่าใหญ่พบวรรณกรรมใบลาน จำนวน 213 เรื่อง สามารถแยกหมวดหมู่ได้ 8 กลุ่ม ได้แก่ พระธรรมวินัย พุทธประวัติ สาวกประวัติ ชาดก นิทานพื้นบ้าน เรื่องเล่า บันทึกพงศาวดาร ตำราเกร็ดความรู้ เทศนาหลักธรรมคำสอน วัดสุปัฏนารามวรวิหาร พบวรรณกรรมใบลานจำนวนมากและมีหลายภาษาที่ใช้จารได้แก่ อักษรไทย น้อย อักษรธรรม และอักษรขอม ที่จารด้วยอักษรไทยน้อยพบ 114 เรื่อง แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มได้แก่ พระธรรมวินัย ชาดก ตำราเกร็ดความรู้ เทศนาหลักธรรมคำสอน ที่จารด้วยอักษรธรรมพบ 104 เรื่อง แบ่งออกเป็น 7 กลุ่ม ได้แก่ พระธรรมวินัย สาวกประวัติ ชาดก นิทานพื้นบ้าน ปูชนียสถาน ตำรา เทศนาหลักธรรมคำสอน และที่จารด้วยอักษรขอมพบ 267 เรื่อง แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มได้แก่ พระ ธรรมวินัย ชาดก นิทานพื้นบ้าน เทศนาหลักธรรมคำสอน ได้จัดเก็บอย่างเป็นระบบและอนุรักษ์ เผยแพร่ต่อสาธารณชนผ่านเว็บไซต์
The objectives of the research were to study, survey, collect and categorize the palm leaf written scriptures in the royal monasteries in Ubon Ratchathani province and to maintain and preserve the scriptures in a proper manner to make them easily accessible.
The study found that literature as found in the palm leaf scripture preserved at Wat Si-Ubon Ratanaram consisted of 166 items. They could be categorized into five groups: doctrine and discipline, the Buddha’s story, the Buddha’s previous life stories, folk tales, sacred sanctuary and sermons. The scriptures found in Wat Payai numbered 213, which could be categorized into seven groups as follows: doctrine and discipline, Buddha’s story, stories of the Buddha’s disciples, Buddha’ previous life stories, folk tales, narratives, chronicles, miscellaneous stories and sermons. The scripture of Wat Supattanaram was found in a great number and written in several scripts, that is, Tainoi, Aksorntham, and Khmer. The scripture which was written in Tainoi was categorized into doctrine and discipline, previous life tales, handbooks on knowledge, and sermons. The scripture written in Aksorntham included doctrine and discipline, the story of Buddha’s disciples, folk tales, sacred sanctuary, texts, and sermons. The scripture written in Khmer included doctrine and discipline, tales, previous life stories, folk tales and sermons. Have stored, conserve, and publish to public on website.