การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกราฟการกระจายแสงกับ ความสูงของ โพรงห้องในแนวดิ่งด้วยระเบียบวิธีตามลำแสงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ของการออกแบบระบบส่องสว่างภายในอาคาร

บทคัดย่อ/Abstract

งานวิจัยเรื่องนี้นำเสนอแนวทางในการปรับปรุงสมรรถนะของการออกแบบระบบส่อง สว่างภายในอาคารโดยพิจารณาผลลัพธ์ของการจำลองค่าความสว่างระหว่างความความสูงของโพรง ในแนวดิ่งกับระยะห่างระหว่างดวงโคมไฟฟ้าจากการจำลองค่าความสว่างด้วยระเบียบวิธีตามลำแสง กรณีศึกษาในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่พื้นที่ของห้องเรียนภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีจากดวง โคมไฟฟ้าที่มีขนาดแตกต่างกัน 2 แบบแบบที่ 1 ขนาด 30×120 เซ็นติเมตรแบบที่ 2 ขนาด 60 ×120 เซ็นติเมตรในการทำวิจัยครั้งนี้แบ่งการทำวิจัยเป็น 3 ช่วงช่วงที่ 1 ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเพื่อตรวจสอบ ความแม่นยำของพารามิเตอร์ต่างๆที่ใช้ในการจำลองค่าความสว่างเช่นระยะความสูงของโพรงค่าการ สะท้อนและค่ามาตรฐานการถ่ายเทข้อมูลของแสงเปรียบเทียบกับการวัดจริงและพบว่าค่าความสว่าง จากการด้วยเครื่องวัดแสงให้ค่าอยู่ระหว่างค่าสูงสุดและต่ำสุดของผลการจำลองดังแสดงในตารางที่4.3 แสดงว่าค่าพารามิเตอร์ต่างๆที่กำหนดขึ้นมีความน่าเชื่อถือสามารถใช้ในการทดลองในลำดับต่อไป ช่วง ที่ 2 เปรียบเทียบความสว่างของดวงโคมไฟฟ้าทั้ง 2 แบบจากค่ามาตรฐานการถ่ายเทข้อมูลของแสงที่ แตกต่างกันและพบว่าดวงโคมไฟฟ้าทั้ง 2 แบบให้ค่าความสว่างค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบความ สม่ำเสมอของแสง ดังแสดงในภาพที่ 4.30 ถึง 4.33 พบว่าดวงโคมไฟฟ้าแบบที่ 2 ให้ความสม่ำเสมอ ของแสงได้ดีกว่าดวงโคมไฟฟ้าแบบที่ 1 ดังนั้นผู้วิจัยจึงเลือกพิจารณาเฉพาะดวงโคมไฟฟ้าในแบบที่ 2 เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงประสิทธิภาพของการออกแบบระบบส่องสว่างภายในอาคาร ใน ลำดับต่อไป ช่วงที่ 3 ได้ข้อสรุปเพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงสมรรถนะด้านระบบส่องสว่างได้แก่ การกำหนดระดับค่าความสว่างให้เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ยกตัวอย่างเช่นในงานวิจัยนี้พบว่าความสว่าง ที่ตัดตั้งเดิมมีค่าสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานความสว่างค่อนข้างมากจึงเสนอปรับลดจำนวนดวงโคมไฟฟ้าลง ให้เหมาะสมกับเกณฑ์มาตรฐานด้านความสว่างการจัดวางตำแหน่งของดวงโคมไฟฟ้าที่เหมาะสมเพื่อ เกิดสภาวะการอยู่สบายยกตัวอย่างในการทำวิจัยนี้ได้ศึกษานี้ได้ทำการหาระยะห่างระหว่างดวงโคม ไฟฟ้าที่ระยะต่างๆโดยพิจารณาขอบเขตให้เป็นไปตามของมุมการกระจายแสงแล้วพบว่าในกรณีนี้ ระยะห่างระหว่างโคมไฟฟ้าทั้งในแนวแกน x และแกน Y ที่เหมาะสมคือ มีเยอะเท่ากับ 3 เมตรการเลือกดวงโคมไฟฟ้าที่ให้ค่ามาตรฐานการถ่ายเทข้อมูลของแสงให้เหมาะสมกับการตัดตั้งในแต่ละพื้นทีพิจารณาได้จากลักษณะการกระจายแสงของดวงโคมไฟฟ้าให้เหมาะสมยกตัวอย่างเช่นในกรณีศึกษานี้การกระจายแสงของดวงโคมไฟฟ้าในพื้นที่ที่ทำวิจัยแบ่งเป็น 2 แบบตามแนวแกน C ที่มุมในแนวแกนC อยู่ระหว่าง 90 องศาถึง 270 องศาดังแสดงในภาพที่ 4.5 จะเห็นว่าดวงโคมไฟฟ้าทั้ง 2 แบบให้ผลลัพธ์ของการกระจายตัวของค่าความสว่างแตกต่างกันเมื่อเปรียบเทียบทั้ง 2 แบบเพราะว่าการกระจายตัวของดวงโคมไฟฟ้าในแบบที่ 2 ให้ความสม่ำเสมอซึ่งเหมาะสมกับการใช้งานในพื้นที่วิจัยนี้

This research presents guidelines for improving the performance of Design of illumination System inside for buildings. By considering the results of the simulation of the brightness between the room gravity height and the distance between the luminaire with ray tracking method. The case study in this research has divided the area of the classroom in Ubon Ratchathani Rajabhat University. From different luminaire, there are 2 Types. Type 1 width × length 30 × 120 cm. Type 2 width x length 60 × 120 cm. In this research, the research is divided into 3 parts. Part 1 Studying preliminary data to check the accuracy of various parameters. Which is used to simulate brightness values such as room gravity height, reflectance and light data transfer standard values in comparison with the actual measurement and found that the brightness from the light meter gives the values between the highest and low values Most of the simulation results shown in Table 4.3 show that the given parameters are reliable and can be used in experimental Part 2. Part 2 compares the brightness of 2 Types of luminaires from the different light transfer standard values and found that both Types of luminaires have a relatively high brightness. When comparing the light uniformity. As shown in the picture 4.30 to 4.33, and it is found that the luminaire Type 2 provide better light uniformity than the luminaire Type 1. Therefore, the researcher chooses only the luminaire Type 2 to be used in experiment Part 3 for further improving the efficiency of design of illumination System in-side for buildings. In Part 3. Finally was concluded to guideline to improve the illumination system performance by design the brightness levels to suit each area. For example in this research, it was found that the originally brightness was much higher than the brightness standard, therefore proposed to reduce the number of electric lamps to be suitable with the brightness standard. By Set the position of the luminaire is suitable for a comfortable living condition. For example, in this research, was conducted to find the suitable distance between the luminaire at different stages. By considering the scope according to the distribution angle and found that in this case, the suitable distance between the luminaire in both the Xaxis and the Y-axis is 3 meters. By choose to use a light data transfer standard values suitable for the setting in each area can be determined by the characteristics of the light distribution of the luminaire. For example in this case study. The light distribution of the luminaire in the research area is divided into 2 Types according to the C axis, the angle in the C axis is between 90 degrees to 270 degrees. As shown in Figure 4.5, it can be seen that 2 Types of luminaires have different results of brightness distribution. When comparing both Types, it is found that the distribution of luminaire in Type 2 provides consistency which suitable for use in this research area.