สุขภาวะและการพัฒนาข้อเสนอเพื่อพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ การเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุในจังหวัดอุบลราชธานี

บทคัดย่อ/Abstract

งานวิจัยเรื่องสุขภาวะและการพัฒนาข้อเสนอเพื่อพัฒนาแผนยุทธศาสตร์การเสริมสร้างสุข ภาวะของผู้สูงอายุในจังหวัดอุบลราชธานี เป็นการวิจัยเพื่อวิเคราะห์แผนยุทธศาสตร์ผู้สูงอายุและ แผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านการเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุในจังหวัด อุบลราชธานี ศึกษาสุขภาวะของผู้สูงอายุในจังหวัดอุบลราชธานี และพัฒนาข้อเสนอในการพัฒนา แผนยุทธศาสตร์ผู้สูงอายุและแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านการเสริมสร้างสุขภาวะ ของผู้สูงอายุในจังหวัดอุบลราชธานี โดยใช้กระบวนการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) การ วิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จากผู้สูงอายุใน 3 อำเภอ คือ เมือง อุบลราชธานี วารินช าราบและเขื่องใน จำนวน 684 คน และเสริมด้วยข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการ วิเคราะห์แผนยุทธศาสตร์ของหน่วยงานในจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 5 หน่วยงาน และวิธีการ สนทนากลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน 120 คน

ผลการวิจัย พบว่า สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์ กำหนดโครงการและจัดสรรงบประมาณในการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุ แต่โครงการและงบประมาณที่จัดสรรนั้น มีจำนวนและสัดส่วนที่น้อยมาก ระหว่างร้อยละ 0.17-6.54 เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินงานในแต่ละปี

สุขภาวะทางกาย ผู้สูงอายุส่วนใหญ่แม้มีโรคประจำตัว แต่สุขภาพยังแข็งแรง สามารถทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองได้ ในด้านเศรษฐกิจ พบว่า ผู้สูงอายุกว่าร้อยละ 50 ทั้งในเมืองและชนบทมีฐานะยากจน รายได้ไม่เพียงพอต่อการด ารงชีพ สุขภาวะทางจิต ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ มีสุขภาพจิตดี มีความสุขตามอัตภาพ แม้ว่าจะยังมีความวิตกกังวลอยู่บ้าง สุขภาวะทางสังคม ผู้สูงอายุส่วนใหญ่อาศัยอยู่กับครอบครัว บุตร-หลาน มีปฏิสัมพันธ์และความสัมพันธ์ที่ดีกับครอบครัวและชุมชน สุขภาวะทางปัญญา ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ มีสุขภาวะทางปัญญาดี ภูมิใจในชีวิตที่ผ่านมา

การพัฒนาแผนยุทธศาสตร์การเสริมสร้างสุขภาวะทางกายของผู้สูงอายุ มีข้อเสนอ 4 มาตรการ คือ 1) การส่งเสริมพฤติกรรมที่เสริมสร้างสุขภาพ 2) การส่งเสริมการเข้าถึงบริการด้าน

สุขภาพอย่างทั่วถึง 3) การจ่ายเงินสวัสดิการด ารงชีพ และ 4) การส่งเสริมการประกอบอาชีพ การเสริมสร้างสุขภาวะทางจิต มีข้อเสนอ คือ มาตรการจัดกิจกรรมเสริมสร้างสุขภาพจิตสำหรับผู้สูงอายุ การเสริมสร้างสุขภาวะทางสังคม มีข้อเสนอ 3 มาตรการ คือ 1) บริการการศึกษาตลอดชีวิต 2) ส่งเสริมการรวมกลุ่มของผู้สูงอายุ และ 3) ส่งเสริมให้ชุมชนหรือท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการ การเสริมสร้างสุขภาวะทางปัญญา มีข้อเสนอ คือ มาตรการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้แสดงศักยภาพของตนเอง